ซุ้มลีลาวดี

      ซุ้มลีลาวดี อีกชื่อหนึ่งของต้นลีลาวดีคือลั่นทม ตั้งอยู่ที่ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ซุ้มต้นลีลาวดีแห่งนี้จะขึ้นเรียงรายเป็นทิวแถวสองข้างทางเดิน และแผ่ขยายกิ่งก้านสาขาโน้มเอียงเอียงเข้าหากันจนกลายเป็นอุโมงค์ต้นลีลาวดีที่มีความสวยงามเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของจังหวัดน่านที่เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยว และเป็นจุดเดินเล่นพักผ่อนหย่อนใจและมุมถ่ายภาพยอดฮิตอีกด้วย 

แม่กำปอง

       หมู่บ้านแม่กำปองเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมามาอย่างยาวนาน แต่ก่อนชาวบ้านที่นี่จะประกอบอาชีพทำสวนเมี่ยงเป็นอาชีพหลัก และในสมัยก่อนนั้นในหมู่บ้านจะมีดอกไม้ชนิดหนึ่ง มีสีเหลืองแดงขึ้นอยู่ตามลำห้วย เรียกว่าดอกกำปอง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านแม่กำปองมาจนถึงทุกวันนี้ 

วัดพระธาตุเขาน้อย

       ตามประวัติ พระธาตุเขาน้อย สร้างในสมัยของเจ้าปู่แข็ง เจ้าผู้ครองนครน่าน เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 20 องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ เป็นศิลปะพม่าผสมล้านนา จนกระทั่งมีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ในปี พ.ศ.2449-2454 โดยช่างชาวพม่า 

ศาลพระหลักเมืองน่าน

        เสาหลักเมืองน่าน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า เสามิ่ง หรือ เสามิ่งเมือง สร้างขึ้นมาโดย สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถะวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 57 ทรงโปรดให้ฝังเสาพระหลักเมืองน่านต้นปัจจุบันนี้ เมื่อวันที่ 15 เมษายน ปี พ.ศ.2331 ณ สถานที่ที่ทรงเสี่ยงทาย หรือก็คือที่ข้างวัดร้างเก่า 

วัดภูมินทร์

       วัดภูมินทร์ เดิมมีชื่อว่า “วัดพรหมมินทร์” ตั้งตามชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่านได้โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2139 หลังจากที่เจ้าเจตบุตรขึ้นครองนครน่านได้ 6 ปีนี้ ต่อมาชื่อวัดถูกเรียกกันจนเพี้ยนไป จนกลายเป็น “วัดภูมินทร์” ตามที่รู้จักกันในปัจจุบัน 

ปราสาทพนมรุ้ง

ปราสาทเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ สร้างขึ้นเนื่องในวัฒนธรรมเขมรโบราณ มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 – 18 หรือเมื่อประมาณ 800 – 1,100 ปีมาแล้ว มีแผนผังมุ่งสู่จุดศูนย์กลางและใช้วัสดุก่อสร้างหลายชนิด ได้แก่ อิฐ ศิลาทราย ศิลาแลง ไม้ และกระเบื้องดินเผา อาคารส่วนใหญ่ของปราสาทพนมรุ้งล้วนสร้างด้วยหินทราย