เลือดเกิดจาก

เลือด เป็นของเหลว ประกอบด้วยเม็ดเลือดล่องลอยอยู่ในน้ำเหลืองหรือพลาสมา เลือดมีสีแดงเพราะมีปริมาณเม็ดเลือดแดงเป็นองค์ประกอบจำนวนมาก เลือดไหลเวียนอยู่ทั่วร่างกายทำหน้าที่ตัวกลางติดต่อระหว่างเซลล์ของร่างกาย ขนส่งออกซิเจนและอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซค์ไปขับออกทางปอด และนำของเสียต่างๆเพื่อขับออกทางไต นอกจากนี้เลือดยังเป็นระบบป้องกันด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายอีกด้วย 

เม็ดเลือดแดง

เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างคลายโดนัท เนื่องจากตรงกลางมีรอยบุ๋มแต่ไม่ทะลุตรงกลาง มีขนาดประมาณ 7 ไมครอน ถูกสร้างที่ไขกระดูก ซึงเป็นแกนกลางของกระดูกต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ภายในเม็ดเลือดแดงสารชื่อ ฮีโมโกลบิล ทำหน้าที่ในการนำออกซิเจนจากปอดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซค์จากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไปขับออกที่ปอด ทำให้ในหลอดเลือดแดงที่เม็ดเลือดแดงมีระดับออกซิเจนปริมาณสูง เลือดจึงมีสีแดงสด ส่วนในหลอดเลือดดำที่เม็ดเลือดแดงมีปริมาณออกซิเจนลดลง และมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซค์สูงกว่า เลือดจึงมีสีแดงคล้ำ 

เม็ดเลือดขาว

เม็ดเลือดขาวมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง จำนวนเม็ดเลือดขาวปกติประมาณ 4,000 – 10,000 เซลล์ต่อ 1 ไมโครลิตร จำนวนเม็ดเลือดขามีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงสัมพันธ์กับภาวะการอักเสบติดเชื้อของร่างกาย ถูกสร้างจากไขกระดูก มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย โดยจะใช้วิธีจับกินเชื้อโรคโดยตรง หรือผลิตาภูมิต้านทานซึ่งเป็นโปรตีนที่มีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม

- ปริมาณเม็ดเลือดขาวต่ำลง โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลด์ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย สาเหตุที่ทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำที่พบบ่อย ได้แก่ ยา สารเคมี รังสี ไวรัส และโรคของไขกระดูก เช่น ไขกระดูกทำงานผิดปกติ หรือไขกระดูกติดเชื้อหรือถูกแทรกซึมจากมะเร็ง เป็นต้น

- ปริมาณเม็ดเลือดขาวสูงขึ้น พบได้บ่อย ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่อภาวะอักเสบหรือติดเชื้อในร่างกาย ปริมาณที่เพิ่มขึ้นมักไม่สูงมาก โดยทั่วไปมักไม่เกิน 30,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร นอกจากนี้ปริมาณที่เพิ่มขึ้นอาจพบได้ในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งพบได้ทั้งเมื่อเม็ดเลือดขาวมีระดับต่ำจนถึงสูงมากผิดปกติ

เม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดมีลักษณะและคุณสมบัติแตกต่างกัน ทำให้ปริมาณที่เพิ่มขึ้น เป็นผลต่อการตอบสนองของร่างกายต่อปัจจัยการกระตุ้นที่แตกต่างกัน


2.1    นิวโตรฟิล (Neutrophil) 

เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีปริมาณมากที่สุด พบได้ประมาณ 40–80 % ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด มีหน้าทีตอบสนองต่อภาวะการอักเสบและติดเชื้อเฉียบพลัยนโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งร่างกายสามารถตอบสนองโดยการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วและจับกินเชื้อโรคโดยตรง นอกจากนี้นิวโทรฟิลด์ยังหลั่งสารตอบสนองต่อการอักเสบหรือติดเชื้อทำให้ร่างกายมีไข้ในภาวะดังกล่าวนั่นเอง 

2.2  ลิมไฟไซท์ (Lymphocyte) 

เป็นเม็ดเลือดขาวขนาดเล็ก ทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานต่อทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย มีปริมาณสูงขึ้นในภาวะติดเชื้อไวรัส และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด 

2.3  โมโนไซท์ (Monocyte) 

เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งมีประสิทธิภาพในการจับกินเชื้อโรคได้สูงกว่านิวโทรฟิลด์ มักมีปริมาณเพิ่มขึ้นตอบสนองต่อภาวะติดเชื้อไวรัส วัณโรค หรือเชื้อรา รวมถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด 

2.4  อิโอซิโนฟิลด์ (eosinophil) 

เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีปริมาณน้อยในกระแสเลือด ทำให้ที่ในการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ ปริมาณสูงขึ้นพบได้ในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือหอบหือด แพ้ยา หรือมีพยาธิในร่างกาย 

2.5  เบโซฟิลด์ (basophil) 

เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีปริมาณน้อยมากในเลือดทำหน้าที่สร้างสารป้องกันมิให้เลือดแข็งตัว และรวมทั้งหลั่งสารที่ช่วยในการขยายของหลอดเลือด 

เกล็ดเลือด (platelet) 

เกล็ดเลือดเป็นส่วนของเม็ดเลือด จึงมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ป้องกันเลือดออกจากหลอดเลือด ช่วยในการหยุดไหลของเลือดหากมีเกิดบาดแผล มีจำนวนประมาณ หนึ่งแสนถึงสี่แสนตัวต่อเลือดหนึ่งไมโครลิตร เกล็ดเลือดถูกสร้างจากเซลล์ในไขกระดูกเช่นกัน หากมีปริมาณลดลง โดยเฉพาะระดับที่ลดลงมากกว่าห้าหมื่น จะทำให้เลือดออกมากและนานกว่าเลือดจะหยุดหากเกิดบาดแผล โดยเฉพาะหากระดับเกล็ดเลือดต่ำกว่าสองหมื่น จะทำให้เลือดออกเองโดยไม่ต้องมีบาดแผลหรือการกระทบกระแทกใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล หรือเลือดออกในอวัยวะสำคัญ ได้แก่ ทางเดินอาหาร หรือสมองได้

-  เกล็ดเลือดต่ำ สามารถเกิดได้จาก ยา สารเคมี รังสี ภูมิต้านทานตนเองทำลายเกล็ดเลือด ไวรัส และม้ามที่โตผิดปกติ นอกจากนี้ยังพบได้ในโรคของไขกระดูกทำให้ผิดเกล็ดเลือดได้ลดลง เช่น ไขกระดูกทำงานผิดปกติหรือไขกระดูกฝ่อ โรคมะเร็งแทรกซึมในไขกระดูก เป็นต้น

-  ภาวะเกล็ดเลือดสูง พบได้ในภาวะที่มีปัจจัยการกระตุ้นการสร้างเกล็ดเลือดให้มากขึ้น ได้แก่ การอักเสบหรือติดเชื้อเรื้อรัง การมีมะเร็งในร่างกาย การเสียเลือดหรือเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน หากภาวะเกล็ดเลือดสูงเองโดยไม่มีปัจจัยใดมากระตุ้น มักเกิดจากโรคของไขกระดูกที่ทำให้มีการเกล็ดเลือดสูงขึ้นเองโดยอัตโนมัติ


ผู้จัดทำ  เด็กหญิง ภิญญาพัชญ์  ดีมาก

ศึกษาอยู่โรงเรียน เมืองเลย

ชั้นประถมศึกษาปีที่6/6