อาหารต่างประเทศ

เเฮมเบอร์เกอร์(Hamburger)

1.ถึงแม้แฮมเบอร์เกอร์ (Hamberger) จะเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะอาหารจังก์ฟู้ด(อาหารขยะ)ยอดนิยมของชาวอเมริกัน แต่จริง ๆ แล้วต้นกำเนิดของแฮมเบอร์เกอร์นั้นเริ่มมาจากประเทศเยอรมนีต่างหาก โดยเรื่องราวเริ่มต้นที่เมืองฮัมบูร์ก ในทศวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นช่วงการเริ่มแสวงหาโลกใหม่ทำให้มีการติดต่อค้าขายกันมากในช่วงนั้น ชาวรัสเซียก็ได้นำเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เข้ามาขายที่เมืองฮัมบูร์ก หลังจากนั้นพวกเนื้อต่าง ๆ ก็เริ่มเป็นที่แพร่หลายในประเทศเยอรมนี จนมาถึงช่วงทศวรรษที่ 18 ชาวยุโรปรวมทั้งชาวเยอรมันเริ่มอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังอเมริกา และจุดเริ่มกำเนิดของแฮมเบอร์เกอร์ก็เริ่มขึ้นที่อเมริกาหลังจากที่เนื้อวัวและเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เข้ามาเป็นที่แพร่หลายในอเมริกาแล้ว ตามร้านอาหารต่าง ๆ ก็ได้นำมาดัดแปลงเป็นแฮมเบอร์เกอร์ชนิดต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นแฮมเบอร์เกอร์แซนด์วิชโดยการนำเอาขนมปังเบอร์เกอร์ 2 ชิ้นมาประกบกันสอดไส้ด้วยเนื้อหมูหรือวัว หรือที่เรียกว่า แฮมเบอร์เกอร์สเต็ก นอกจากนั้นยังมีแฮมเบอร์เกอร์ชีส และอีกมามาย และคนที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้แฮมเบอร์เกอร์เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบันนี้ก็คือ เรย์ คร็อก (Ray Kroc) บิดาแห่งแมคโดนัลด์นั่นเอง 

พิซซ่า(Pizza)

2.ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พิซซ่าน่าจะมีกำเนิดมากว่าร้อยล้านปีที่แล้ว เนื่องจากปี ค.ศ. 97 ภูเขาไฟวิสุเวียสเกิดระเบิดขึ้น ทลายเมืองปอมเปอีแห่งอาณาจักรโรมันทั้งเมือง จากนั้นเมื่อปี ค.ศ. 640 แกตาโน ฟิโอเรลลี่ ได้ค้นพบเตาฟืนโบราณจำนวนมากในซากปรักหักพังของเมืองปอมเปอีที่ถูกลาวาถล่ม หนึ่งในจำนวนเตาทั้งหมดนั้นพบว่ามีเถ้าถ่านขนมปังติดอยู่ในเตาถึง 7 กิโลกรัม ซึ่งเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าทหารโรมันในช่วงก่อนที่ภูเขาไฟจะระเบิดนั้น พวกเขาน่าจะกินขนมปังที่อบด้วยเตาฟืนกันถ้วนหน้าต่อมาในปี ค.ศ. 1700 ชาวเมืองนาโปลีก็ได้นำมาประยุกต์ใส่มะเขือเทศ ใบโหระพา ชีสมอสซาเรลล่า ใบออริกาโน่ เนื้อปลาแอนโชวี และกระเทียม ลงในแผ่นแป้ง แล้วนำไปอบด้วยเตาฟืนโบราณด้วยความร้อน 340 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าเป็นพิซซ่าสูตรเฉพาะของเมืองนาโปลีเลยก็ว่าได้ และก็เป็นจุดเริ่มต้นของมารีนาราพิซซ่า รวมทั้งร้านพิซซ่าร้านแรกในนาโปลีที่มีชื่อว่า พิซเซอเรีย ซึ่งเปิดขายในปี ค.ศ. 1830 เป็นต้นมา 

ซูชิ(Sushi)

3.ต้นกำเนิดของ “ซูชิ” มาจากความต้องการที่จะถนอมอาหารของคนญี่ปุ่น เริ่มจากรูปแบบของการเก็บรักษาปลาที่นำเข้ามาในญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 8 จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการห่อปลาที่ควักไส้ออกหมดในข้าวหมัก ทำให้สามารถเก็บปลาไว้ได้นานหลายเดือน และภายหลังก็ได้มีการพัฒนารูปแบบมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นซูชิที่มีลักษณะและรูปแบบที่หลากหลายตามวัฒนธรรมและรูปแบบการทำอาหารของแต่ละภูมิภาคในประเทศญี่ปุ่น 

ป๊อปคอร์น(Popcorn)

4.กำเนิดของป๊อปคอร์นเกิดขึ้นครั้งแรกในดินแดนของชาวอินเดียนแดง แถบทวีปอเมริกา ตั้งแต่ 5,600 ปี ก่อนที่โคลัมบัสจะค้นพบโลกใหม่เสียอีก ซึ่งนับว่าเป็นอาหารกินเล่นที่มีมายาวนานมากอย่างไม่น่าเชื่อเลยล่ะ นอกจากนี้นักโบราณคดีก็ยังพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า มีซากข้าวโพดอยู่ในพื้นที่เมืองโบราณ เช่น เมืองอินคาทางอเมริกาใต้ เมืองมายาในอเมริกากลาง และเมืองอัซเตกในเม็กซิโก เป็นจำนวนมาก ตอกย้ำว่าชาวอินเดียนแดงเป็นต้นกำเนิดของข้าวโพดคั่วอย่างแท้จริงในสมัยนั้นชาวอินเดียนแดงจะนำเมล็ดข้าวโพดมาคั่วให้พองขาวแล้วกิน หรือบางส่วนก็นำไปร้อยกับต้นหญ้า นำไปทำเป็นเครื่องประดับมอบให้กับหัวหน้าเผ่า เหล่านักรบ และใช้ประดับเทวรูป ซึ่งปัจจุบันนี้บางเมืองของเม็กซิโกก็ยังคงใช้ข้าวโพดคั่วร้อยสายสร้อย ประดับบูชาเทวรูปอยู่ดังเดิมส่วนวิธีการคั่วข้าวโพดสมัยก่อนนั้นไม่ได้สะดวกสบายเหมือนปัจจุบัน โดยชาวอินเดียนแดงจะใช้หม้อดินที่ปั้นขึ้นสำหรับคั่วข้าวโพด โดยเฉพาะ ไปฝังในทรายร้อน ๆ จากนั้นก็ใส่เมล็ดข้าวโพดลงไป แล้วปิดหม้อด้วยภาชนะบางอย่าง หรือใช้หม้อดิน จากนั้นก็รอจนข้าวโพดแตกออกเป็นสีขาวปุย ๆ จึงนำมากินกันอย่างเอร็ดอร่อยและด้วยความอร่อยของข้าวโพดคั่ว จึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในแถบอเมริกา จนในปี ค.ศ. 1890 จึงเริ่มเป็นที่รู้จัก และถูกนำไปเป็นอาหารในเชิงการค้ามากขึ้น โดยมีผู้คิดค้นเครื่องคั่วข้าวโพดขนาดใหญ่ ทำงานด้วยระบบน้ำมันเบนซิน และมักจะนำไปคั่วขายในงานเทศกาล และงานแห่ต่าง ๆและความนิยมของข้าวโพดก็ประจวบเหมาะกับธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่กำลังบูมในสมัยต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 พอดิบพอดี ประชาชนนิยมเพลิดเพลินกับการดูหนัง พร้อม ๆ กับอร่อยกับข้าวโพดคั่วไปด้วย กลายเป็นความบันเทิงที่แสนเก๋ในสมัยนั้นเลยทีเดียว จนกระทั่งประมาณปี ค.ศ. 1925 ได้มีการผลิตเครื่องคั่วข้าวโพดแบบไฟฟ้าสำเร็จเป็นครั้งแรก ทำให้ธุรกิจข้าวโพดคั่วแพร่กระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น 

โดนัท(Donut)

 5.จากนักโบราณคดีที่มีความเชื่อว่า ขนมโดนัท หรือที่ชาวดัตช์เรียกขานว่า ออยล์เค้ก (Oil Cake) นั้นกำเนิดมาบนโลกนี้ยาวนานกว่า 400 ปีมาแล้วนะจ๊ะ เพราะพวกเขาได้ขุดพบซากชิ้นส่วนฟอสซิลที่มีลักษณะคล้ายขนมโดนัทจากกองขยะของชาวอเมริกาพื้นเมืองในยุคก่อนประวัติศาสตร์โน่น จึงสันนิษฐานว่า โดนัทนั้นเริ่มมีขึ้นครั้งแรกที่เมืองแมนฮัตตัน หรือนิวอัมสเตอร์ดัม ซึ่งเป็นเมืองอพยพของชาวดัตช์ที่มาตั้งรกรากในอเมริกา หรือในปัจจุบันก็คือ มหานครนิวยอร์กนั่นเองซึ่งคนแรกที่ให้กำเนิดโดนัทขึ้นมาก็คือ เอลิซาเบธ เกรกอรี่ (หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุไว้เมื่อประมาณปี 1847) แม่ของแฮนสัน เกรกอรี่ กัปตันเรือนิวอิงแลนด์ที่จัดการทำขนมปังทอดไว้สำหรับเป็นเสบียงอาหารให้ลูกชายยามออกเดินเรือ ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีเธอก็ใช้ส่วนประกอบของเครื่องเทศเท่าที่มีในเรือ เช่น ลูกจันทน์เทศ อบเชย และเปลือกมะนาว มาผสมกับแป้งเค้ก แล้วก็ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ เสร็จแล้วก็นำไปทอดจนเหลืองน่ากิน และนำถั่วเฮเซลนัทมาวางตรงกลางขนม และเรียกขนมนี้ว่า โดนัท นับตั้งแต่นั้นมา และสาเหตุที่เจ้าโดนัทต้องมีรูก็เป็นเพราะว่า แฮนสันนั้นไม่ค่อยถูกใจขนมโดนัทที่อมน้ำมันมากเกินไป เขาก็เลยใช้ขวดพริกไทยบนเรือเจาะรูตรงกลางของขนมเพื่อเอาน้ำมันออกไป และทุกครั้งที่มีงานปาร์ตี้ แฮนสันก็จะนำขนมโดนัทออกมาเลี้ยงแขกเหรื่อที่มาร่วมงาน เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้โดนัทเริ่มเป็นที่รู้จักนับแต่นั้นเป็นต้นมาหลังจากโดนัทเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย นายอดอล์ฟ เลวิตต์ ผู้ลี้ภัยจากสมัยของพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย ก็เลยคิดค้นประดิษฐ์เครื่องผลิตโดนัทขึ้นมาในปี ค.ศ.1940 ซึ่งยิ่งช่วยขยายความนิยมให้โดนัทอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก จนขึ้นแท่นเป็นขนมสุดฮิตในอเมริกา แถมยังเก๋าพอที่จะมีวันพิเศษเป็นของตัวเอง ซึ่งก็คือ วันโดนัทแห่งชาติ หรือวันศุกร์แรกของเดือนมิถุนายนในทุก ๆ ปีอีกด้วย 

เฟรนช์ฟรายส์(French fries)

6.สมัยก่อนมันฝรั่งไม่ได้ปลูกกันง่าย ๆ ด้วยสภาพพื้นดินและสภาพอากาศต่าง ๆ แต่มันฝรั่งจะปลูกได้ดีในแถบทวีปยุโรป และประเทศโคลอมเบียมากกว่า แต่เมื่อเวลาผ่านไป การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ก็ทำให้ประเทศสเปนและประเทศอิตาลี รวมทั้งประเทศอื่น ๆ สามารถปลูกมันฝรั่งได้เช่นกัน แต่ผลผลิตยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก เนื่องจากมีผลเล็ก และรสชาติออกขมหน่อย ๆ ซึ่งจากข้อมูลทั้งหมดนี้ก็ยังไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่า มันฝรั่งทอดโรยเกลือรสชาติอร่อยนั้นมีต้นกำเนิดจริง ๆ มาจากไหนจนกระทั่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถบอกได้ว่า จริง ๆ แล้วชาวเบลเยียมต่างหากที่เป็นคนคิดทำมันฝรั่งทอดเป็นชาติแรก โดยสมัยก่อนชาวเบลเยียมจะกินปลาทอดเป็นอาหารจานหลัก ไม่ว่าจะกินอะไรจะต้องมีปลาทอดเป็นเครื่องเคียงเสมอ แต่ในวันหนึ่งเกิดมีหิมะปกคลุมหนา เปลี่ยนแม่น้ำเป็นผืนน้ำแข็งไปจนหมด ชาวเบลเยียมเลยขาดแคลนปลา และในที่สุดก็เลยดัดแปลงนำมันฝรั่งมาฝานเป็นแท่ง ๆ แล้วก็นำมาทอดกินแทนเนื้อปลาซะเลย และคำว่าเฟรนช์ (French) ก็คาดเดาว่าจะมาจากกริยา to french ที่แปลว่า ฝานเป็นแท่งยาว ๆ ส่วนชื่อเต็มของเมนูนี้ก็น่าจะผันมาจาก frenched and fried potato ต่อมาก็เหลือแค่ frenched and fries potato และเหลือแค่ french fries อย่างในปัจจุบันนี้เท่านั้นปัจุบันนี้ก็ยังมีการถกเถียงเรื่องประวัติความเป็นมาของเฟรนฟรายแบบลับ ๆ กันอยู่ตลอด โดยทางฝรั่งเศสก็บอกว่าเฟรนช์ฟรายส์เป็นของตนเอง เบลเยียมก็ยืนยันหัวชนฝาว่าชาติตนต่างหากที่ให้กำเนิดเมนูกินเล่นชนิดนี้ขึ้นมา ซึ่งไม่ว่าใครจะเป็นต้นตำรับตัวจริงก็ตาม เฟรนช์ฟรายส์ก็กระจายไปฮอตฮิตในประเทศต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ก่อนจะไปสั่งเฟรนช์ฟรายส์มากิน ก็ต้องรู้กันก่อนว่าที่ประเทศอังกฤษ เฟรนช์ฟรายส์จะเรียกว่า Potato Chips หรือ Chips ส่วนเบลเยียมจะเรียก Belgian Fries และสุดท้ายฝรั่งเศสก็ถือโอกาสเรียกว่า French Fries 

สเต็ก(steak)

7.สเต็กป็น "อาหารฝรั่งเศส" เพราะฝรั่งเศสเป็นชาติแรกที่มีที่ตำรับตำราทำอาหารออกมาให้ผู้คนได้รู้กันและคนแรกที่เขียนตำราทำอาหารฝรั่งเศสคือ นายออกุส เอสคอฟฟีเยร์ (Auguste Escoffier) เขาเป็นพ่อครัวชาวฝรั่งเศส หรือเชฟที่มีชื่อเสียงมาก ถึงกับได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งการครัว" หรือ คิง ออฟ เชฟ และ เชฟ ออฟ คิง (King of Chef & Chef of King)

ที่เขาได้ชื่อเพราะเป็นคนทำอาหารถวายพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 สมัยสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี และแถมยังทำอาหารเลี้ยงเชลยศึกและมีรสชาติที่ดีมาก จนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากพระองค์ และยกย่องให้เขาเป็น "Emperor of the Culinary Art" ซึ่งก็หมายถึงว่า

เป็นผู้มีความรู้ในศิลปะการทำอาหารชั้นยอดเยี่ยม แล้วนายเอสคอฟฟิเยร์ก็เป็นผู้เขียนตำราอาหารฝรั่งเศส ซึ่งเป็นตำรับของอาหารฝรั่งที่นิยมอยู่ในปัจจุบันเป็นจำนวนมาก  

ฮอทด็อก(Hotdog)

8.ในความเป็นจริงแล้วไส้กรอก หรือไส้ของฮอทดอกนั้น เป็นอาหารว่างที่มีกำเนิดมานานมากแล้ว ตั้งแต่สมัยอณาจักรบาบิโลเนีย (Babylonia Kingdoms) หรือเมื่อกว่า 3,500 ปีมาแล้วด้วยซ้ำ โดยอ้างว่า ต้นกำเนิดนั้นมาจากชาวโรมันที่นำเครื่องเทศมายัดใส่ในไส้ของสัตว์ (คล้าย ๆ วิธีการทำไส้กรอกอีสานบ้านเรานี่ล่ะ) แล้วชาวโรมันเขาก็เรียกสิ่งนี้ว่า "Salsus" ซึ่งก็เชื่อกันว่า คำนี้เป็นรากศัพท์ของคำว่า "Sausage" ที่แปลว่าไส้กรอกนั่นเองในเวลาต่อมาก็มีการพัฒนาไส้กรอกไปในหลายรูปแบบ และมีรสชาติแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น แต่ไส้กรอกที่ถือว่าขึ้นชื่อที่สุดนั้นเป็นไส้กรอกจากเมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมัน ซึ่งจะมีลักษณะเป็นไส้กรอกรมควันเนื้อแน่นหอมกรุ่น รูปร่างโค้งเว้าน้อย ๆ ที่พอมองดูแล้วดันไปคล้ายกับสุนัขพันธุ์ดัชชุน จนบางคนเผลอเรียกเจ้าไส้กรอกชนิดนี้ว่า ไส้กรอกดัชชุน และความอร่อยของไส้กรอกแฟรงก์ก็กระจายไปทั่วยุโรป รวมทั้งฮอตฮิตไปถึงทวีปอเมริกาดด้วย จนอยู่มาวันหนึ่งเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1901 ในสนามเบสบอลแห่งหนึ่งในมหานครนิวยอร์ก ประเทศอังกฤษที่กำลังมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด นายทาร์ด ดอร์แกน (Tad Dorgan) นักวาดการ์ตูนกีฬาที่ได้นั่งชมการแข่งขันอยู่ด้วย ก็ได้ยินเสียงชายคนหนึ่งเดินเร่ขายของว่างหน้าตาน่ากินอย่างขยันขันแข็ง แต่สิ่งที่ทำให้เขาต้องสะดุดไม่ใช่หน้าตาของอาหารว่างที่เขานำมาขาย แต่กลับเป็นประโยคคำพูดในขณะที่เดินเร่ขาย ซึ่งมีความหมายประมาณว่า "รีบซื้อไส้กรอกดัชชุนร้อน ๆ กันเร็ว" หลังจากได้ยินดังนั้น เขาก็รีบวาดรูปชายคนที่ขายอาหารว่างพร้อมกับถาดใส่ฮอทดอก แต่เขาก็ไม่แน่ใจว่า จะสะกดคำว่าดัชชุนอย่างไร เขาเลยถือวิสาสะตั้งชื่อขนมปังประกบไส้กรอกยาว ๆ ใหม่ว่า ฮอทดอก หรือหมาร้อน ๆ นั่นเองหลังจากนั้นเป็นต้นมาขนมปังประกบไส้กรอกแท่งยาว ๆ ที่เรียกกันว่า ฮอทดอกนั้นก็กระจายความอร่อยไปยังประเทศต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งประเทศไทยของเราด้วย 

ราเมงเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะอาหารเส้นของประเทศญี่ปุ่น แต่จริง ๆ แล้วต้นกำเนิดของราเมงมาจากประเทศจีน โดยมีสมมติฐานว่า "ราเมง" อาจจะเป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า "ลาเมียน" (La Mian) ในภาษาจีนที่หมายถึง เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ใช้มือนวด หรืออีกคำหนึ่ง "เลาเมียน" (Laomian) ซึ่งก็คือ ก๋วยเตี๋ยวโบราณในภาษาจีนนั่นเอง อีกทั้งในประวัติศาสตร์ก็มีบันทึกด้วยว่า คนญี่ปุ่นเริ่มรู้จักบะหมี่น้ำในคริสต์ศตวรรษที่ 17 (ยุคเมจิ) จากการที่โทคุกาวะ มิทซึคุนิ ไดเมียวสมัยเอโดะ ได้รับประทานเป็นคนแรก ซึ่งในสมัยนั้น ราเมงจะถูกเรียกว่า "ชินะโซบะ” ที่แปลว่าโซบะจีน แต่ถึงอย่างนั้นราเม็งก็ยังไม่เป็นที่รู้จักในแดนอาทิตย์อุทัยเท่าไรนักจนกระทั่งราว ๆ ปี ค.ศ. 1900 ชาวจีนที่ค้าขายอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ก็หัวใสทำราเมงขายคู่กับเกี๊ยวซ่า จัดเป็นชุดขายให้คนที่ใช้แรงงานได้กินอย่างอิ่มหนำสำราญ โดยในยุคนั้นก็มีการตะโกนโฆษณาเรียกลูกค้ากันด้วย ซึ่งนั่นก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนญี่ปุ่นรู้จักราเมงกันอย่างแพร่หลายนับแต่นั้นเป็นต้นมาโดยปัจจุบันนี้ราเมงก็ถือว่าเป็นอาหารเส้นดาวเด่นในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อปี ค.ศ. 1958  โมโมฟุคุ อันโด ผู้ก่อตั้งนิชชินฟู้ดส์ได้คิดค้นดัดแปลงทำราเมงเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ต่อยอดความนิยมของราเมงให้ไปไกลทั่วทุกพื้นที่ในญี่ปุ่น รวมมาถึงพื้นที่อื่น ๆ ในโลก เช่น ประเทศไทยของเราก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ติดใจในรสชาติบะหมี่ญี่ปุ่น หรือราเมงอยู่เหมือนกัน