อาหารต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย

อาหารที่เข้ามาในประเทศไทยมีดังนี้

1.แกงมัสมั่น” สันนิษฐานว่า มาจากคำว่า “มุสลิมาน” ซึ่งเป็นพหูพจน์ของคำว่า มุสลิม นั่นเอง ถือเป็นอาหารพิเศษ ที่ทำเฉพาะในงานบุญของชาวมุสลิม ลักษณะจะปรุงด้วยเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่น ไก่ โค แพะ แกะ ฯลฯ ที่ต้องทอดเครื่องปรุงก่อน แล้วจึงเคี่ยวในน้ำแกงที่ “เข้ากะทิ” และ เครื่องเทศ อาจใส่ ลูกมะด่ำ (อัลมอนด์) ลูกเกต หรือ ถั่ว  

2.หมูสะเต๊ะ มีจุดกำเนิดมาจากเกาะชวาหรือเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย แต่ก็ยังได้รับความนิยมในประเทศอื่นๆ ด้วย เช่นมาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งสะเต๊ะของอินโดนีเซียอาจได้รับอิทธิพลจากคาบับที่เป็นอาหารพื้นเมืองของอินเดีย ต้นตำรับเป็นเนื้อแพะหั่นเป็นชิ้นหมักแล้วเสียบเหล็กแหลมย่างไฟ เมื่อแพร่หลายมาถึงมลายู-ชวาจึงกลายเป็นสะเต๊ะอย่างที่เห็นในปัจจุบัน 

3.ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง เป็นขนมโปรตุเกสที่เผยแพร่ในประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยท้าวทองกีบม้า จนเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ทำจากไข่แดงเป็นหลัก ปัจจุบัน มักถูกนำมาเป็นของหวานในงานมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น



4.พิซซา ได้รับการบันทึกครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 10 ในบันทึกเอกสารภาษาละติน ณ เมืองกาเอตา (Gaeta) ทางตอนใต้ของอิตาลีในแคว้นลัตซีโอ บนพรมแดนติดกับกัมปาเนีย พิซซาสมัยใหม่ได้ถูกคิดค้นขึ้นในเนเปิลส์ และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา พิซซาได้กลายเป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมที่สุดในโลกและเป็นรายการอาหารจานด่วนที่หาทาน 

5.ก๋วยเตี๋ยว เป็นหนึ่งในอาหารประเภทเส้นของจีนที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าโดยมากจะลวกให้สุกในน้ำเดือด สะเด็ดน้ำ แล้วนำมาใส่เครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ นิยมรับประทานทั้งแบบน้ำและแบบแห้ง นิยมใช้ตะเกียบเป็นเครื่องมือช่วยรับประทาน 

6.ราเมงมีจุดเริ่มต้นในยุคที่วัฒธรรมจีนหลั่งไหลเข้ามาในญี่ปุ่นช่วงการปฏิรูปเมจิ ง่าย ๆ คือราเมงเกิดขึ้นในประเทศจีน แต่ถูกนำมาปรุงแต่งด้วยเครื่องปรุงของญี่ปุ่นอย่างโซยุและเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น จึงทำให้ราเมงกลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในฐานะอาหารประจำชาติญี่ปุ่นหลังจากที่ญี่ปุ่นเปิดการค้าเสรีอย่างเป็นทางการนั่นเอง 

7.เกี๊ยวในจีนสมัยโบราณเรียกว่า เจียวอื่อร์(娇儿) เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาลีที่มีมาช้านาน มีประวัติมากว่า 1,800 ปี เป็นอาหารสิริมงคลที่ชาวจีนชอบรับประทานตั้งแต่กษัตริย์ไปจนถึงชาวบ้านทั่วไป เพราะชาวจีนถือว่าเกี๊ยวเป็นอาหารสิริมงคลที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและต่ออายุได้ 

8.แฮมเบอร์เกอร์ เริ่มมาจากวัฒนธรรมการกินของชาวมองโกเลีย ที่มีการนำเนื้อบดมาทำกิน จนเกิดการแผ่หลายในเมือง เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ Steak Tartare มีลักษณะเป็นเนื้อดิบปั้น และชาวมอสโกก็ได้ดัดแปลงสูตร โดยการผสมหัวหอมและไข่ดิบลงไป 

9.ย้อนไปในปีค.ศ.1680 ชาวเบลเยียมดำรงชีวิตโดยการจับปลามาทอดกินกันเป็นอาหาร จนกระทั่งฤดูหนาว ทำให้ผืนน้ำกลายเป็นน้ำแข็ง หาปลาได้ยาก ปลาจึงขาดแขลนสำหรับคนจำนวนมาก ทำให้เขาต้องนำมันฝรั่งมาทอดกินแทนปลา จึงเกิดเป็นมันฝรั่งแท่งทอดขึ้นมา 

10.สเต๊กมีต้นกำเนิดมาจากคำว่า steik ของสแกนดิเนเวียในช่วงกลางศตวรรษที่ 15 stickna ในภาษาถิ่นของภาษาอังกฤษยุคกลาง ควบคู่ไปกับคำว่า steikja ในภาษานอร์สโบราณ การอ้างอิงครั้งแรกของ Oxford English Dictionary ได้นิยามความหมายไว้ว่า "เนื้อชิ้นหนาสำหรับย่างหรือย่างหรือทอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งชิ้นส่วนที่ตัดจากส่วนหลังของสัตว์"