การลำเลียงสารเข้าออกเซลล์ด้วยการแพร่

การแพร่ (Diffusion) เป็นการเคลื่อนที่หรือการกระจายอนุภาคของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารมากไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารน้อย จนกว่าอนุภาคของสารจะมีความเข้มข้นเท่ากันทั้งสองบริเวณ หรือที่เราเรียกว่า "สมดุลการแพร่"

  • การแพร่ในชีวิตประจำวัน

เช่น การแพร่ของด่างทับทิมในน้ำ การแพร่ของกลิ่นอาหาร การแพร่กระจายของน้ำหอม การฉีดพ่น

ยากันยุง การแช่อิ่มผลไม้ การแพร่แก๊สออกซิเจนเข้าสู่หลอดเลือด เป็นต้น

  • ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแพร่

  1. ความเข้มข้นของสาร บริเวณที่มีความเข้มข้นของสารแตกต่างกันมาก การแพร่จะเกิดขึ้นได้เร็ว

  2. ขนาดของอนุภาค สารที่มีขนาดอนุภาคเล็กจะเคลื่อนที่ได้ดี การแพร่จึงเกิดได้เร็ว

  3. อุณหภูมิ บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง อนุภาคของสารจะเคลื่องที่ได้เร็ว การแพร่จึงเกิดขึ้นเร็ว

  4. ความดัน ถ้ามีความดันมากจะช่วยให้การแพร่เกิดขึ้นได้เร็ว

  • การแพร่ในพืช

  1. แก๊สออกซิเจนที่อยู่ในดินจะแพร่เข้าสู่เซลล์ขนรากโดยวิธีการแพร่ แล้วแพร่เข้าสู่เซลล์ข้างเคียง

ทำให้แก๊สออกซิเจนเข้าสู้เซลล์พืชและใช้กระบวนการเทแมบอลิซึม หรือกระบวนการหายใจได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แบะแพร่ออกจากพืชทางปากใบ

  1. แก๊สคาร์บอนไดออกซไซด์แพร่ผ่านทางปากใบของพืชเข้าสู่เซลล์ เพื่อใช้ในกระบวนการ

สังเคราะห์ด้วยแสงหรือสร้างอาหารให้แก่พืชแล้วได้น้ำตาลกลูโคส และแก๊สออกซิเจน เมื่อในเซลล์มีแก๊สออกซิเจนมาก จึงแพร่ออกสู่ภายนอกโดยผ่านทางปากใบ

  1. ธาตุอาหารในดินจะแพร่เข้าสู่เซลล์ขนรากโดยวิธีการแพร่