๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๕

วันคล้ายวันสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

นิทรรศการออนไลน์ น้อมรำลึกวันคล้ายวันสวรรคตในหลวงรัชกาลที่ ๙

การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคตเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ ได้นำมาซึ่งความวิปโยคอย่างใหญ่หลวงของปวงชนชาวไทย

เพื่อเป็นการแสดงความอาลัยแด่พระองค์ท่าน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ นับตั้งแต่วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นมา

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระอัจฉริยภาพในวิชาความรู้หลายแขนง ทรงเป็นนักคิด นักค้นคว้า นักดนตรี นักกีฬา รวมถึงการเป็นนักอ่าน ทรงถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้พสกนิกรของพระองค์ท่านสม่ำเสมอ ทรงย้ำอย่างชัดเจนถึงความสำคัญของการอ่านที่เป็นรากฐานการพัฒนาความรู้ สติปัญญาให้เจริญงอกงาม เพื่อที่ผู้อ่านจะสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาตนเองและการใช้ชีวิต

พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

(หนังสือมีให้บริการในห้องสมุด คลิกที่ปกหนังสือเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม หากต้องการยืมหนังสือ สามารถใช้บริการ Request to Pickup เพื่อให้เจ้าหน้าที่เตรียมหนังสือไว้ให้ ณ จุดบริการยืม-คืน)

นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ

พระราชนิพนธ์แปล เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยทรงแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง “A Man Called Intrepid” บทประพันธ์ของ William Stevenson เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนายอินทร์ หรือ Intrepid เป็นชื่อรหัสของ เซอร์วิลเลียม สตีเฟนสัน หัวหน้าหน่วยราชการลับอาสาสมัครของอังกฤษ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีหน้าที่ล้วงความลับทางทหารของเยอรมันเพื่อรายงานต่ออังกฤษและสหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมกันต่อต้านการขยายอำนาจของนาซี โดยนายอินทร์และผู้ร่วมงานถือเป็นตัวอย่างของผู้กล้าที่ยอมอุทิศชีวิตเพื่อความถูกต้อง ยุติธรรม เสรีภาพ และสันติภาพ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

แนะนำหนังสือ

(หนังสือมีให้บริการในห้องสมุด คลิกที่ปกหนังสือเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม หากต้องการยืมหนังสือ สามารถใช้บริการ Request to Pickup เพื่อให้เจ้าหน้าที่เตรียมหนังสือไว้ให้ ณ จุดบริการยืม-คืน)

แนะนำ eBooks

(Free eBooks ที่ให้บริการโดยหน่วยงานต่างๆ)

“. . . ความรู้ทั้งในด้านการศึกษาของเยาวชนและผู้ใหญ่และทั้งด้านความรู้ทั่วๆ ไป ขึ้นอยู่กับหนังสือเป็นสำคัญ . . . ”

(พระราชทานแก่คณะกรรมการสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย วันจันทร์ที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๔)

“. . . หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้
หนังสือจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้. . . ”

(พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๔)

“. . . หนังสือนี้ ถ้าดูในทางพัฒนา ในทางความก้าวหน้าของมนุษย์ เพื่อใช้ชีวิตของตน สามารถที่จะมีความมั่นคงนั้น
มีความสำคัญไม่ใช่น้อย เพราะว่าเป็นแหล่งของความรู้ที่จะค้ำจุนเราให้มีชีวิตได้ให้มีความสุขได้
อันนี้ก็พูดถึงหนังสือทั่วไปทุกอย่างทุกชนิด และโดยเฉพาะทางวิชาการ
หนังสือย่อมมีความสำคัญมากกว่า เป็นวิชาการที่จะสอนให้เรามีความรู้และสามารถที่จะปฏิบัติตนดำรงชีวิตได้. . .”

(พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๔)

“. . . หนังสือเป็นเสมือนคลัง ที่รวบรวมเรื่องราว ความรู้ ความคิด วิทยาการทุกด้านทุกอย่าง ซึ่งมนุษย์ได้เรียนรู้
ได้คิดอ่าน และเพียรพยายามบันทึกรักษาไว้ด้วยลายลักษณ์อักษร หนังสือแพร่ไปถึงที่ใด
ความรู้ความคิดก็แพร่ไปถึงที่นั้น หนังสือจึงเป็นสิ่งมีค่าและมีประโยชน์ อันประมาณมิได้
ในแง่ที่เป็นบ่อเกิดแห่งการเรียนรู้ของมนุษย์. . . ”

(พระราชดำรัสในพิธีเปิดงาน “ปีหนังสือระหว่างชาติ ๒๕๑๕” และ
“งานแสดงการพิมพ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๓”
วันศุกร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๕)

“. . . การอ่านเขียนหนังสือได้ จะช่วยให้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่างๆ ได้มากมาย และความรู้ความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในทางสร้างสรรค์ ให้เกิดประโยชน์ตามที่ต้องการได้เป็นอย่างดี. . . ”

(พระราชดำรัสแก่ผู้นำศาสนาอิสลาม (อิหม่าม) ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้แทนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
เขตการศึกษา ๒ ณ ศาลาบุหลัน ทักษิณราชนิเวศน์ วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๐)