การประกอบอาชีพหลังจบการศึกษา

คหกรรมศาสตรบัณฑิต (อาหารและโภชนาการ) - FN

ประกอบอาชีพด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการอาหาร, เชฟ, นักโภชนาการและ ผู้ให้บริการด้านอาหารและสุขภาพ, นักออกแบบและตกแต่งและพัฒนาตำรับอาหาร

คหกรรมศาสตรบัณฑิต (ธุรกิจอาหาร) - FB

อาจารย์สอนด้านอาหาร ผู้ประกอบการด้านอาหาร chef หรือ cook ในโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร เรือเดินสมุทรหรือสายการบินทั้งในและต่างประเทศ ผู้จัดการด้านธุรกิจอาหาร เจ้าของกิจการด้านธุรกิจอาหาร นักออกแบบอาหาร สามารถศึกษาต่อในปริญญาขั้นสูงในมหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ


คหกรรมศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีเสื้อผ้าและแพตเทิร์น) - PGT

นักแพตเทิร์นแฟชั่นเครื่องแต่งกาย, ธุรกิจขนาดย่อม, ผู้จัดการฝ่ายควบคุมการผลิตอาชีพอิสระทั้งภาครัฐและเอกชน, ธุรกิจแพตเทิร์นออนไลน์หัวหน้าหน่วยงานแพตเทิร์นด้วยคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีบัณฑิต (การออกแบบแฟชั่น) - FSD

นักออกแบบแฟชั่น, นักบริหารจัดการสินค้าแฟชั่น, นักออกแบบเครื่องแต่งกาย, ฝ่ายจัดซื้อและจำหน่ายสินค้าแฟชั่น, ผู้อำนวยการฝ่ายแฟชั่นและนักเขียนบทความแฟชั่น

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) - FST

นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร, ผู้ควบคุมการแปรรูปอาหาร, ผู้ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพอาหาร ความปลอดภัย มาตรฐานและระบบประกันคุณภาพ, วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีการอาหาร

วิทยาศาสตรบัณฑิต (การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร) - PD

เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์ การผลิตอาหาร การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร ฝ่ายควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพ ในโรงงานอุตสาหกรรม นักวิชาการ นักวิจัย และผู้ช่วยวิจัยในหน่วยงานต่าง ๆ เช่นสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา สํานักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ สํานักโภชนาการ สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สถาบันวิจัยเกี่ยวกับอาหาร ผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารหรือผู้นําเข้าวัตถุดิบที่เกี่ยวกับการแปรรูปอาหารหรือธุรกิจส่งออกอาหารและอาหารแปรรูป

ศึกษาศาสตรบัณฑิต (คหกรรมศาสตรศึกษา) - He.ed

ครู, อาจารย์ด้านคหกรรมศาสตร์ในสถานศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน, กรมพัฒนาชุมชน, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน, ประกอบอาชีพอิสระ