รูปแบบการจัดอบรม : On-site

ระยะเวลาอบรม  12 - 16 มิถุนายน 2566

CMTE : 25 คะแนน

ค่าลงทะเบียน :  คนละ 4,500 บาท (รับจำนวน 50 คน)

กลุ่มเป้าหมาย : อาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักศึกษา 

วิทยากรหลัก

1. รศ.ดร.โชติชนะ วิไลลักขณา 

2. ผศ.ดร.อรุณนี สังกา 

3. ศ.ดร.อรุณลักษณ์ ลุลิตานนท์ 

4. รศ.ดร.อรุณวดี ชนะวงศ์ 

5. รศ.ดร.ราตรี ทวิชากรตระกูล 

6. ผศ.ดร.พัชราภรณ์ ทิพยรัตน์  

7. รศ.ดร.ไมตรี ปะการะสังข์  

8. ผศ.ดร.อัญชลี เตชะเสน 

9. ทนพญ.ลำไย วงละคร 

10.ทนพ.ประจวบ ชัยมณี


ผู้ช่วยวิทยากร

1. ทนพญ. ชุติปภา สุขเกษม 

2. ทนพญ.คนึงนิจ ศรีศักดิ์ 

3. ทนพ.วัชรินทร์ วงศ์ตาชม 

4. ทนพญ.ศจีพร ขรรค์แก้ว 

5. ทนพญ.แววตา คู่วัจนกุล 

6. ทนพญ. พิมใจ อนันตา 

7. ทนพญ. กนกอร จูตะวิริยะสกุล 

8. ทนพ. วรวลัญช์ เลิศธรรม 

9. ทนพญ, ภัสราวดี เหมวรานนท์


       หลักการและเหตุผล

    การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อแบคทีเรียจากสิ่งส่งตรวจในห้องปฏิบัติการจากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในกระบวนการวางแผนการรักษาที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยมีหลายระดับตามขนาดของสถานพยาบาลและความสามารถของบุคลากร ซี่งการตรวจวินิจฉัยอาจเริ่มตั้งแต่วินิจฉัยด้วยวิธีดั้งเดิมซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีด้านการวินิจฉัยไปจนถึงการใช้เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติในการวินิจฉัย อย่างไรก็ตามความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตั้งแต่การเริ่มทำการวินิจฉัย ก็จะช่วยให้โรงพยาบาลที่มีวิธีการที่แตกต่างกันออกไปสามารถทำการวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ด้วยเหตุผลดังกล่าวคณะเทคนิคการแพทย์ โดยกล่มวิชาจุลชีววิทยาคลินิก จึงได้จัดโครงการ “การตรวจวินิจฉัยแบคทีเรียในห้องปฏิบัติการ    : จากพื้นฐานสู่เครื่องวิเคราะห์และการตรวจหาสารพันธุกรรมในการวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่สำคัญและพบบ่อย” เพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในห้องปฏิ่บัติการทั้งที่ต้องวินิจฉัยด้วยวิธีดั้งเดิมหรือการใช้เครื่องวิเคราะห์ ในการฝึกอบรมผู้เข้าร่วมจะได้วินิจฉัยเชื้อแบคทเรียซึ่งประกอบด้วย Gram positive cocci, Gram negative cocci, Gram positive bacilli, Gram negative bacilli (Enterobacteriaceae, Non-glucose fermentative bacteria (NFB), Virbironaceae, Aeromonaceae) และกลุ่มอื่นๆ ที่มีความสำคัญทางการแพทย์ นอกจากนี้ผู้เข้าฝึกอบรมยังจะได้ฝึกปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่มีความสำคัญและพบได้บ่อยโดยใช้เทคนิคการตรวจหาสารพันธุกรรม ได้แก่ การตรวจวินิจฉัยเชื้อวัณโรค เชื้อเมลิออยโดสีส เชื้อคอตีบ เชื้อไข้หวัดใหญ่ และเชื้อไวรัสโรตา เป็นต้น การฝึกอบรมครั้งนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มศักยภาพของผู้ที่เตรียมพร้อมจะเปิดบริการการตรวจด้วยการเพาะเชื้อและการตรวจหาสารพันธุกรรมแล้วจะเป็นเวทีให้ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการตรวจวินิจฉัยแบคทีเรียเป็นงานประจำอยู่แล้วได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยวิทยาการใหม่ๆ และเพิ่มศักยภาพในการตรวจวินิจฉัยด้วย