แผนและการติดตามประเมินผล


กระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์ 

(SPP : Strategic Planning Process)

          การวิเคราะห์องค์กร คณะฯ ได้ดำเนินการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในการระดมสมองวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของคณะ และสภาวการณ์ภายนอกที่อาจมีผลกระทบต่อคณะฯ เมื่อวันที่ 9 - 10 ตุลาคม 2566 โดยระดมสมองวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นข้อมูลป้อนเข้าจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และได้เสนอปัจจัยในแต่ละด้านตามโดยใช้เครื่องมือ SWOT analysis ซึ่งสามารถสรุปเนื้อหา

          ฝ่ายวางแผนและพัฒนาคุณภาพดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2567 เมื่อวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2566 โดยที่ประชุมกรรมการบริหารคณะฯมีมติเห็นชอบให้กำหนดประเด็นปัญหาที่สำคัญ และเร่งด่วน (focus issues) ผ่านเครื่องมือวิเคราะห์ทางธุรกิจ Business Model Canvas กำหนดเป็นแผนปฏิบัติการที่สำคัญ (Flagship Project) ที่ต้องเร่งดำเนินการให้สำเร็จสอดคล้องกับ MD KKU Milestone โดยเริ่มต้นในปี 2567 ซึ่งครอบคลุมพันธกิจหลักทั้งสามด้าน อันได้แก่ พันธกิจด้านการจัดการศึกษา การรักษาพยาบาล การวิจัย และการบริหารทรัพยากรบุคคล

ข้อตกลงปฏิบัติงาน OKRs

การติดตามรายงานความก้าวหน้าภารกิจด้านแผนและพัฒนาคุณภาพของทุกสาขาวิชา เพื่อสนับสนุนกระบวนการถ่ายทอดกำกับ ติดตาม และประเมินผลตัวชี้วัดการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์และ OKRs ของหัวหน้าสาขาวิชา

ฝ่ายวางแผนและพัฒนาคุณภาพ ได้รับมอบหมายให้จัดกระบวนการติดตามรายงานความก้าวหน้าภารกิจด้านการพัฒนาคุณภาพของทุกสาขาวิชา (22 สาขาวิชา)  โดยคณบดีเป็นประธานร่วมกับรองคณบดีทุกท่าน เพื่อร่วมรับฟังและให้ข้อเสนอแนะ การช่วยเหลือสนับสนุนและข้อมูลป้อนกลับ ในที่ประชุมคณะกรรมการผู้บริหารพบหัวหน้าสาขาวิชา ทุกวันอังคาร ตั้งแต่เดือนมีนาคม - ธันวาคม 2566

สิ่งที่หัวหน้าสาขาวิชาต้องนำเสนอ                                                               

1. แผนกลยุทธ์ของสาขาวิชา     

2. ข้อตกลงปฏิบัติงาน OKRs                                                

3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Best Practice                                                                    

 -นำเสนออย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน                                              

-อุปสรรคปัญหาที่จะให้ที่ประชุมและผู้บริหารช่วยเหลือ                                                            

 -ข้อดี ที่เป็น Best practice                                                                     

-หัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  

โครงการพัฒนาหน่วยงาน

ฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ จัดทำระบบสารสนเทศ การบริหารจัดการโครงการพัฒนาหน่วยงาน ของฝ่ายวางแผนและพัฒนาคุณภาพ  คณะแพทยศาสตร์ เป็นการวางระบบและออกแบบการดำเนินการในการบริหารจัดการโครงการพัฒนาหน่วยงานทุกขั้นตอนผ่านทาง Web Application  เพื่อเป็นเครื่องมือให้สาขาวิชา / หน่วยงาน ในคณะแพทยศาสตร์ได้กรอกข้อมูล โครงการ / งบประมาณ ตามแบบฟอร์มในระบบออนไลน์ที่คณะแพทยศาสตร์กำหนดเป็นทางการ

1.  สามารถรวบรวมปัญหาจากการใช้ระบบสารสนเทศในทุกระดับมาประมวลผล

และนำไปเป็นข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบ

2.  หน่วยงานสามารถบันทึกข้อมูลโครงการในรูปแบบเดียวกัน   และมีความ

สะดวกรวดเร็วในการดำเนินการ

3. ลดขั้นการปฏิบัติงาน ลดระยะเวลาในการดำเนินการ

4. ลดการการใช้วัสดุสำนักงาน และทรัพยากรบุคคลในการปฏิบัติงาน

5. มีข้อมูลและสารสนเทศสำหรับการบริหารงานของคณะฯ

ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจอันดีและการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันของทุกฝ่าย  ทุกระดับที่เกี่ยวข้อง  ส่งเสริมให้เกิดความสุขในการทำงานร่วมกันในองค์กร ในการเสนอแบบคำเพื่อบรรจุโครงการเข้าในแผนฯ  การดำเนินการขออนุมัติโครงการ  รวมถึงแบบฟอร์มการติดตามความคืบหน้าของโครงการ ตลอดจนแบบฟอร์มสรุปการดำเนินโครงการ ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานในส่วนของฝ่ายวางแผนและพัฒนา  สามารถดำเนินการบริหารจัดการข้อมูลจากระบบสารสนเทศนี้ สรุปข้อมูลเชิงนโยบายได้อย่างถูกต้อง   ครบถ้วน  และทันเวลา   สำหรับการตัดสินใจของผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ โดยผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้ตลอดเวลาผ่านทาง http://10.101.106.141/project/index.php

  


โครงการจัดตั้งหน่วยงาน

ตามที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ออกประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 1144/2565) เรื่อง จัดตั้งศูนย์บริการทางการแพทย์ชั้นเลิศ คณะแพทยศาสตร์ และประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 1145/2565) เรื่อง การแบ่งหน่วยงานและหน่วยงานย่อยภายในคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ ได้ดำเนินการจัดโครงสร้างให้สอดคล้องตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การจัดตั้ง การรวม การยุบเลิก การแบ่งส่วนงาน และหน่วยงานกับหน่วยงานย่อยของส่วนงานในมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ.2560 ตามการปรับเปลี่ยนไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยแบ่งหน่วยงานและหน่วยงานย่อย ภายในคณะแพทยศาสตร์ เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพคุ้มค่า และสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างมีคุณภาพ และ เพื่อให้การจัดโครงสร้างระดับหน่วยงานย่อย ของหน่วยงานต่าง ๆ ในคณะแพทยศาสตร์ มีความเหมาะสมรองรับการปฏิบัติงานจริง สามารถเชื่อมโยงและประสานงานร่วมกันเพื่อให้การดำเนินงานของคณะแพทยศาสตร์บรรลุตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและคณะแพทยศาสตร์ ดังนั้น คณะแพทยศาสตร์จึงขอเสนอรายละเอียดเพื่อขออนุมัติการแบ่งหน่วยงานย่อยเพิ่มเติม อีก 3 หน่วยงานย่อย (งานรังสีการแพทย์ ,งานเวชกรรมฟื้นฟู และงานวิสัญญีพยาบาล ) โดยได้รับอนุมัติแล้วตามประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 1838/2566) เรื่อง การแบ่งหน่วยงานและหน่วยงานย่อยภายในคณะแพทยศาสตร์ (ฉบับที่ 2)

         และคณะแพทยศาสตร์ ได้ส่งรายละเอียดเพื่อขออนุมัติแบ่งหน่วยงานย่อยเพิ่มเติม อีกจำนวน  2 หน่วยงานย่อย ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนของกองยุทธศาสตร์และกองกฎหมายมหาวิทยาลัยขอนแก่น พิจารณาและดำเนินการจัดทำประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น เนื่องจากการขออนุมัติจัดตั้งหน่วยงานย่อย  จะต้องผ่านการพิจารณา โดยคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น และจัดทำประกาศโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นเท่านั้น

         ในส่วนของการจัดตั้งหน่วยภายในคณะแพทยศาสตร์นั้น จะผ่านการพิจารณาโดยคณะกรรมการบริหารคณะแพทยศาสตร์ และสิ้นสุดกระบวนการภายในคณะฯ   ภายหลังประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 1145/2565 ออกมานั้น คณะฯ มีการขออนุมัติแบ่งหน่วย ปรับเปลี่ยน/ย้ายหน่วย เพื่อให้เหมาะสมและเป็นไปตามโครงสร้างใหม่แล้ว  จำนวน  18  หน่วย 


กระบวนการบริหารความเสี่ยง (Risk management process)

ด้วยนโยบายของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่บริหารงานโดยบริหารความเสี่ยงกำหนดให้ทุกส่วนงานดำเนินการบริหารความเสี่ยง และรายงานผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยงเป็นประจำทุกปีตามประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 2243/2564 เรื่อง นโยบายบริหารความเสี่ยงและจัดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยคณะแพทยศาสตร์ จึงได้มอบหมายให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน คณะแพทยศาสตร์  โดยมีหน้าที่ พิจารณาถึงความเสี่ยงและการควบคุมภายในด้านต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและความกังวลของสังคมที่มีต่อคณะแพทยศาสตร์อย่างรอบคอบ และคณะกรรมการได้ดำเนินการจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567”  วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารทุกระดับได้ร่วมกันระดมความคิดเห็น (Brainstorm) เพื่อจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของคณะแพทยศาสตร์ และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงแต่ละด้าน โดยจำแนกรายพันธกิจหลัก และกระบวนการสนับสนุน ครอบคลุมประเภทความเสี่ยงใน 4 ด้าน ได้แก่ (1) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk)  (2) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk)  (4) ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk)  (4) ความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล (Compliance Risk)  ฝ่ายวางแผนและพัฒนาคุณภาพ ได้ดำเนินการจัด เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566 ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ให้ความรู้ นำโดยมี 1. ดร.กฤษณา สุขบุญญสถิตย์ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัทดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และดำรงตำแหน่งผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ

2. รศ.ดร.วันชนะ สืบไวย ผู้ช่วยฝ่ายศูนย์ความเป็นเลิศและศูนย์กลางบริการสุขภาพ และดำรงตำแหน่งผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ

3. รศ.นพ.ภาธร ภิรมย์ไชย สาขาวิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา และดำรงตำแหน่งผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ

ดังนี้

              1. ด้านรักษาพยาบาล จำแนกความเสี่ยงออกเป็นด้าน (1.1)New medical service (1.2)Staff recruitment (1.3)Security cyber

2.ด้านวิจัย จำแนกความเสี่ยงออกเป็นด้าน (2.1)Research income

3.ด้านการศึกษา (3.1)Undergraduate (3.2)Postgrad clinic (3.3)Postgrad preclinic

4.ด้านทรัพยากรบุคคล (4.1)Human Resource Management

5.ด้านการเงิน (5.1)Financial Management

ภายหลังจากโครงการสัมมนาเสร็จสิ้น ฝ่ายวางแผนได้ดำเนินการสนับสนุนในการจัดทำ และติดตามแผนความเสี่ยงภายในคณะ