ศูนย์บริการทางการแพทย์ชั้นเลิศ (Medical hub)

โครงการฯ อยู่ระหว่างการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ คือ

         ระยะที่ 1 (ปัจจุบัน) เป็นการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการทางการแพทย์ ขนาด 650 เตียง  ประกอบด้วย 4 อาคาร 1) อาคารศูนย์บริการการแพทย์  (20 ชั้น) พื้นที่ใช้สอย 125,777 ตร.ม. เป็นอาคารบริการทางการแพทย์ 650 เตียง รองรับการมีศูนย์ความเป็นเลิศเพิ่มขึ้นอีก 7 ศูนย์ รวมทั้งโครงการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของคณะต่าง ๆ ในศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพร่วมกับการผลิตบัณฑิต และการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และสาธารณสุข 2) อาคารสนับสนุนบริการการแพทย์  (8 ชั้น) พื้นที่ใช้สอย 12,362 ตร.ม.เป็นอาคารที่สนับสนุนการบริการทางการแพทย์ เช่น งานจ่ายกลาง งานโภชนาการ เป็นต้น 3) อาคารจอดรถ สูง 12 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 53,710 ตร.ม. เป็นพื้นที่จอดรถ รองรับจำนวนรถที่ใช้บริการประมาณ 1,000 คัน 4) อาคารเรือนพักญาติ สูง 4 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 4,242 ตร.ม. เป็นอาคารพักญาติผู้ป่วย รองรับญาติผู้ป่วยได้ประมาณ 400 ราย/วัน

         ระยะที่ 2 เป็นการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการทางการแพทย์ ขนาด 1,500 เตียง รองรับศูนย์ความเป็นเลิศที่จะมีเพิ่มขึ้นร่วมกับโครงการพัฒนาอื่น ๆ ของคณะในศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมีแผนการดำเนินงานของโครงการตามแผนการพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านการแพทย์และสาธารณสุขระยะที่ 2 ดังตาราง

แผนการดำเนินงานของโครงการตามแผนการพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่นด้านการแพทย์และสาธารณสุขระยะที่ 2


การประชุมคณะกรรมการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการทางการแพทย์ 20 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 125,777 ตร.ม. เพื่อกำกับ ติดตามโครงการ Medical hub ประจำทุกเดือนผ่านการประชุมคณะกรรมการ Medical hub

ได้แก่ การจัดเตรียม ครุภัณฑ์ และการจัดสรรพื้นที่สำหรับโครงการ Medical Hub ครุภัณฑ์ประจำอาคารศูนย์บริการการแพทย์ชั้นเลิศ (Medical Hub)

มีการประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้า ตลอดจนการติดตามปัญหา อุปสรรคและแนวทางการแก้ไขในการดำเนินการก่อสร้างอาคาร ในปี พ.ศ.2566 มีการประชุมทั้งสิ้น 8 ครั้ง

1.ความคืบหน้าของงานก่อสร้าง และแผนงานระยะที่ 2 (ระหว่างก่อสร้าง)

1) อาคารโรงพยาบาล (อาคาร 20 ชั้น)

- งานเสาชั้น 17 แล้วเสร็จ 44 ต้น จากทั้งหมด 79 ต้น

- งานเทคอนกรีตพื้นชั้น 17 แล้วเสร็จ 90%

- งานเทคอนกรีตพื้นชั้น 18 อยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมไม้แบบ/เหล็กเสริมพื้น

- งานสถาปัตยกรรม อยู่ระหว่างดำเนินการก่ออิฐ และฉาบปูน

- งานระบบประกอบอาคารอยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งท่อของงานระบบต่าง ๆ

 

2) อาคารบริการ

- งานสถาปัตยกรรม อยู่ระหว่างดำเนินการก่ออิฐ และฉาบปูน

- งานระบบประกอบอาคารอยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งท่อของงานระบบต่าง ๆ

3) อาคารจอดรถพร้อมที่พัก

- งานเทคอนกรีตพื้นชั้น 7 อยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมไม้แบบ/เหล็กเสริมพื้น

- งานสถาปัตยกรรม อยู่ระหว่างดำเนินการก่ออิฐ และฉาบปูน

- งานระบบประกอบอาคารอยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งท่อของงานระบบต่าง ๆ

4) อาคารเรือนพักญาติ

- อยู่ระหว่างดำเนินการมุงหลังคา

- งานสถาปัตยกรรม อยู่ระหว่างดำเนินการก่ออิฐ และฉาบปูน

- งานระบบประกอบอาคารอยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งท่อของงานระบบต่าง ๆ

5) แผนงานสะสม ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 เท่ากับ 57.81%

6) ผลงานสะสม ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 เท่ากับ 32.21% ช้ากว่าแผนอยู่ –25.61%  (คิดเป็นจำนวนวันช้า 235 วัน)

7) ปัญหาการดำเนินการก่อสร้างที่ล่าช้า มีดังนี้

- แรงงานช่างฝีมือของงานระบบ และงานสถาปัตยกรรมยังไม่เพียงพอ

- การอนุมัติวัสดุต่าง ๆ ของงานสถาปัตยกรรมที่อยู่ระหว่างดำเนินการอนุมัติจากผู้ออกแบบ

- งาน finishing ยังเริ่มงานได้ไม่เต็มที่ หลังจากขั้นตอนการอนุมัติวัสดุแล้วเสร็จ จะทำการสั่งของ

  และการ ผลิตบางรายการจะต้องใช้เวลา 45-60 วัน

- ช่วงปลายปีจะมีการนำ Equipment ของงานระบบเข้ามาติดตั้ง จะทำให้ผลงานเพิ่มขึ้น

2. แผนการเปิดให้บริการอาคารโรงพยาบาล (อาคาร 20 ชั้น)

1) แผนการเปิดให้บริการ แผนการเปิดให้บริการเป็นการทำแผนให้สอดคล้องกับงานก่อสร้าง ซึ่งสรุปดังนี้

                     - เดือน กรกฎาคม 2569 จะเปิด OPD ชั้น 1-3 ไม่รวม OR 

                     - เดือน มีนาคม 2570 จะเปิดส่วนที่เหลือ

                     - ที่ปรึกษาบริหารโครงการคาดการณ์ว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2569 อาคารโรงพยาบาลจะแล้วเสร็จ และจะเริ่มงานตกแต่งภายในชั้น 1-3    

                 - อาคารบริการยังใช้ตามแผนเดิม

         2) การขอใช้อาคารบางส่วน

                     2.1) การขอใช้อาคารจอดรถยนต์ และอาคารเรือนพักญาติ ก่อนงานก่อสร้างทั้งหมดจะแล้วเสร็จตามสัญญา จะต้องคำนึงถึงเรื่องการรับประกันผลงาน ซึ่งจะต้องแยกรับประกันเป็นอาคาร ที่ประชุมมอบหมายให้ที่ปรึกษาบริหารโครงการหารือกับผู้รับจ้างเกี่ยวกับการรับประกันผลงาน

2.2) ที่ปรึกษาบริหารโครงการต้องเร่งดำเนินการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะต้อง

หารือหรือตกลงกับผู้รับจ้าง 

         3) แผนการปรับปรุงห้องผ่าตัดชั้น 4

                     3.1) ที่ปรึกษาบริหารโครงการได้แจ้งให้ผู้ออกแบบห้องผ่าตัดทบทวนรายละเอียดของบัญชีประมาณราคาค่าก่อสร้าง (BOQ) เพื่อให้ครอบคลุมในส่วนของการเชื่อมต่อระบบของโครงการ และในส่วนค่าใช้จ่ายพิเศษ 

3.2) ในวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ผู้ออกแบบจะจัดส่งรายละเอียดของบัญชีประมาณราคาค่า

ก่อสร้าง (BOQ) 

3.3) คณะแพทยศาสตร์ทำหนังสือแจ้งรายละเอียดของบัญชีประมาณราคาค่าก่อสร้าง (BOQ) และแบบ

ก่อสร้างห้องผ่าตัดไปที่พัสดุของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อพัสดุฯ ดำเนินการจัดส่งข้อมูลให้สำนักงบประมาณเห็บชอบในงบประมาณที่เพิ่มขึ้น

4)  แผนการตกแต่งภายใน อาคารโรงพยาบาล ผู้ออกแบบงานตกแต่งภายในได้ส่งงานงวดที่ 1 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 จากทั้งหมด 4 งวด

1) ในงวดงานที่ 1 ประกอบไปด้วย 

- Inception Report

- Design Criteria

- Preliminary Design

- Conceptual Design

2) ปัจจุบันผู้ออกแบบได้มีการจัดประชุมกับผู้ใช้อาคาร เพื่อขอข้อมูล และนำไปออกแบบ

3)มีการจัดประชุมรายงานความก้าวหน้าของการออกแบบทุกเดือน

ในด้านการเตรียมการด้านครุภัณฑ์ ได้วางแผนประมาณการครุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ในโครงการฯ โดยได้จัดทำแผนสำหรับการจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับการรักษาพยาบาล ตลอดจนส่วนที่เป็นการสนับสนุนการให้บริการ ทั้งนี้ ได้จัดทำแผนการจัดซื้อครุภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 3 ปีงบประมาณ (พ.ศ. 2570 - 2572) เพื่อให้สอดคล้องตามแผนระยะเวลาการเปิดให้บริการ โดยแบ่งการจัดซื้อครุภัณฑ์เป็นประเภท ดังนี้ 1. ครุภัณฑ์การแพทย์พื้นฐาน ได้แก่ การจัดซื้อครุภัณฑ์การแพทย์ประจำโรงพยาบาลที่มีการใช้งานร่วมกันในส่วนกลาง เช่น เตียงผู้ป่วย เครื่องช่วยหายใจ เครื่องวัดความดัน  และ 2. ครุภัณฑ์การแพทย์เฉพาะด้าน ได้แก่ การจัดซื้อครุภัณฑ์การแพทย์ประจำศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านการแพทย์ด้านต่าง ๆ ที่มีความจำเพาะในการใช้งานในลักษณะพิเศษ เช่น เครื่องนำวิถีผ่าตัดสมอง ชุดเครื่องถ่างสมองแบบ Leyla Retractor

กระบวนการจัดทำงบประมาณ
(Budgetary management process) 

กระบวนการจัดทำงบประมาณเงินรายได้คณะแพทยศาสตร์ต้องตั้งงบประมาณตามนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มหาวิทยาลัยขอนแก่น  คณะแพทยศาสตร์ตั้งงบตามวัตถุประสงค์เพื่อตั้งกรอบในการจัดทำ และการจัดสรรงบประมาณของคณะแพทยศาสตร์เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการใช้งบประมาณทั้งในระดับคณะและหน่วยงานต่าง ๆ  รวมถึงใช้เป็นแนวทางการกำกับ ดูแลการบริหารงบประมาณให้มีความสอดคล้องและตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายของสภามหาวิทยาลัย และยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นการบริหารผลงานเชิงยุทธศาสตร์ และการบูรณาการแผนงานโครงการ ให้เกิดความสอดคล้อง เชื่อมโยง และสนับสนุนซึ่งกันและกัน คณะแพทยศาสตร์ตั้งงบประมาณเงินรายได้ ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

นโยบายการจัดทำงบประมาณเงินรายได้

1.      มีความสอดคล้องกับนโยบายของสภามหาวิทยาลัย  แผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัย ระยะ 4 ปี รวมถึงแผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2567  ที่สภามหาวิทยาลัยได้ให้ความเห็น

2.      งบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สำคัญของมหาวิทยาลัยโดยมุ่งเน้นโครงการ Flagship Projects การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการบริหารจัดการองค์กร การพัฒนาหลักสูตรตามกระบวนทัศน์ใหม่  การพัฒนานวัตกรรมเชิงพาณิชย์ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์  การปรับปรุงสภาพแวดล้อม การสร้างมหาวิทยาลัยสีเขียว

3.      งบประมาณพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย และส่วนงานโดยมุ่งเน้นหลักประหยัด ประสิทธิผล และประสิทธิภาพ ส่งเสริมความเป็นเลิศเฉพาะด้าน ของส่วนงานเพื่อมุ่งสู่ความเป็นผู้นำด้านวิชาการในระดับสากล

4.      งบประมาณเพื่อการลงทุน มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานส่วนที่การใช้งานร่วมกันและแผนงานที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยในอนาคต ซึ่งรวมถึงระบบโครงสร้าง อาคารและครุภัณฑ์ โดยต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองความคุ้มค่าของการลงทุนมีการประเมินและติดตามผลการใช้งานอย่างต่อเหนื่อง

5.      งบประมาณด้านการวิจัย มุ่งเน้นงานที่มีความโดดเด่น และมีผลผลิตคุณภาพสูงมาก

 ภาครายรับ 

ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่นพ.ศ.2558 มาตรา 15 รายได้ของมหาวิทยาลัยมีดังต่อไปนี้

1) เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี  2) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุดหนุนหรืออุทิศให้แก่มหาวิทยาลัย 3) เงินกองทุนที่รัฐบาลหรือมหาวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นและรายได้หรือผลประโยชน์จากกองทุนดังกล่าว 4) ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน เบี้ยปรับ และค่าบริการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย 5) รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้มาจากการลงทุนหรือการร่วมลงทุนจากทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย 6) รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้มาจากการใช้ที่ราชพัสดุ หรือจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุที่มหาวิทยาลัยปกครอง ดูแล ใช้ หรือจัดหาประโยชน์ 7) รายได้หรือผลประโยชน์อื่น นั้น

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การงบประมาณ การเงิน การพัสดุ ทรัพย์สิน และการตรวจสอบ พ.ศ.2559 หมวด 2 ประเภทที่มาของรายได้และการใช้จ่ายข้อ12ประเภทที่มาของรายได้มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

1)  เงินอุดหนุนทั่วไป หรือเงินอื่นใดที่รัฐบาลจัดสรรให้

2)  เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่มหาวิทยาลัย

3)  เงินกองทุนที่รัฐบาลหรือมหาวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นและรายได้หรือผลประโยชน์จากกองทุนดังกล่าว

4)  ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน เบี้ยปรับ และค่าบริการต่าง ๆของมหาวิทยาลัย

5)  รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้มาจากการลงทุนหรือการร่วมลงทุนจากทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย

6)  รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้มาจากการใช้ที่ราชพัสดุหรือจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุที่มหาวิทยาลัยปกครอง ดูแล ใช้ หรือจัดหาประโยชน์

7)  เงินอุดหนุนจากหน่วยงานภายนอก

8)  เงินและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการบริการวิชาการ การวิจัย และนำทรัพย์สินทางปัญญาไปหาประโยชน์

9)  รายได้หรือผลประโยชน์อย่างอื่น

 ภาครายจ่าย 

งบประมาณรายจ่าย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำแนกตามงบรายจ่าย   

ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การงบประมาณ การเงิน การพัสดุ ทรัพย์สิน และการตรวจสอบ พ.ศ.2559 หมวด 3 การงบประมาณ ข้อ 15 (4) ให้งบประมาณรายจ่าย มีประเภทค่าใช้จ่ายดังนี้

1) ค่าใช้จ่ายบุคลากร หมายถึง รายจ่ายเพื่อบริหารงานบุคคล รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินเพิ่มอื่นที่จ่ายควบกับเงินเดือน

                2) ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน  หมายถึง รายจ่ายเพื่อการบริหารงานประจำ ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใด ลักษณะรายจ่ายดังกล่าว

                3) ค่าใช้จ่ายลงทุน หมายถึง รายจ่ายเพื่อการลงทุน ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดิน ค่าก่อสร้างอาคารและระบบ ค่าปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง อุปกรณ์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบกายภาพ รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใด ในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว

                4) เงินอุดหนุนดำเนินงาน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของรายการ และรายจ่ายโครงการต่างๆ เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ภายในปีงบประมาณ

                5)  ค่าใช้จ่ายอื่น หมายถึง รายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะค่าใช้จ่ายตามประเภทรายจ่าย 4.1-4.4 จึงได้มีการจัดสรรงบประมาณตามประเภทรายจ่าย ภายใต้ข้อบังคับการเงินฯ ข้างต้น