การอบรมเชิงปฏิบัติการ Anaerobic Bacteria

ศูนย์วิจัยและบริการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อระบาดใหม่

ร่วมกับ ภาควิชาจุลชีววิทยา

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ

เรื่อง แอนแอโรบิคแบคทีเรีย (Anaerobic Bacteria)

วันที่ 23-24 กรกฎาคม 2561

ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

1. กำหนดการประชุม

2. กรอกใบสมัครที่นี

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง

แอนแอโรบิคแบคทีเรีย (Anaerobic Bacteria)

1. หลักการและเหตุผล

เชื้อแอนแอโรบิคแบคทีเรีย เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เจริญเติบโตในภาวะที่ไม่มีออกซิเจน เชื้อประเภทนี้มีทั้งประเภทที่ก่อประโยชน์และประเภทที่ก่อโทษ ในด้านการแพทย์ เชื้อแอนแอโรบิคแบคทีเรียเป็นเชื้อก่อโรคที่พบได้บ่อยในมนุษย์ และสามารถก่อให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อย่างไรก็ดี การเพาะเลี้ยงเชื้อแอนแอโรบิคแบคทีเรียมักจะถูกมองข้ามหรือถูกละเลย เนื่องจากเชื้อประเภทนี้เป็นเชื้อที่เพาะเลี้ยงได้ลำบากและมีปัญหาในทางปฏิบัติ เนื่องจากการเพาะเลี้ยงจำเป็นต้องมีการเก็บตัวอย่างและการนำส่งที่ถูกต้องเหมาะสมซึ่งมีความแตกต่างจากเชื้อแบคทีเรียประเภทอื่น การเพาะเลี้ยงต้องอาศัยเครื่องเพาะเลี้ยงที่สามารถให้สภาวะที่ปราศจากออกซิเจนอย่างแท้จริง และใช้อาหารเลี้ยงเชื้อที่จำเพาะ การเพาะเลี้ยงเชื้อใช้เวลานานและต้องอาศัยความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ของผู้เพาะเลี้ยงเป็นอย่างมาก เพื่อให้การเพาะเลี้ยงและการพิสูจน์เชื้อดังกล่าวได้ผลอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ การทดสอบความไวต่อยาปฏิชีวนะของเชื้อแอนแอโรบิคแบคทีเรียมักไม่ค่อยมีการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ทำให้ในปัจจุบันข้อมูลความไวต่อยาปฏิชีวนะของเชื้อประเภทนี้มีอยู่อย่างจำกัดและไม่ทันสมัยเท่าที่ควร รวมถึงอัตราการดื้อต่อยาปฏิชีวินะของเชื้อในกลุ่มนี้เริ่มมีเพิ่มมากขึ้น

ศูนย์บริการและวิจัยโรคติดเชื้อระบาดใหม่ และภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของเชื้อแอนแอโรบิคแบคทีเรีย รวมถึงบทบาทของบุคคลากรต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการเก็บ การส่ง การเพาะเลี้ยง การพิสูจน์ และการทดสอบความไวต่อยาของเชื้อแอนแอโรบิคแบคทีเรียจากตัวอย่างให้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ด้วยเหตุนี้ ทางศูนย์วิจัย ฯ และภาควิชาจุลชีววิทยา ร่วมกับ บริษัท กิบไทย จำกัด จึงได้จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านเชื้อแอนแอโรบิคแบคทีเรียครั้งนี้ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้กับทางคณาจารย์ นักเทคนิคการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ ตลอดจนถึงนักศึกษาที่สนใจ ได้ทราบถึงความสำคัญ และปัญหาของเชื้อแอนแอโรบิคแบคทีเรีย ตลอดจนได้เรียนรู้และเข้าในในกระบวนการการเก็บ การส่ง การเพาะเลี้ยง การพิสูจน์และการทดสอบความไวต่อยาของเชื้อแอนแอโรบิคแบคทีเรียจากตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง เพื่อนำไปประยุกต์และต่อยอดใช้ให้เกิดประโยชน์ต่องานในสาขาที่เกี่ยวข้องต่อไป

2. วัตถุประสงค์

2.1. เพื่อให้ผู้ร่วมอบรม ฯ ได้รับรู้และตระหนักถึงความสำคัญและปัญหาของการติดเชื้อและการรักษาเชื้อแอนแอโรบิคแบคทีเรีย

2.2. เพื่อให้ผู้ร่วมอบรม ฯ ได้เรียนรู้ความรู้พื้นฐานการเก็บ การส่ง การเพาะเลี้ยง การพิสูจน์และการทดสอบความไวต่อยาของเชื้อแอนแอโรบิคแบคทีเรียจากตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง

2.3. เพื่อให้ผู้ร่วมอบรม ฯ ได้มีโอกาสพบปะและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นตลอดจนประสบการณ์ซึ่งกันและกันอย่างกว้างขวาง

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ศูนย์บริการและวิจัยโรคติดเชื้อระบาดใหม่ และ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหา วิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับบริษัท กิบไทย จำกัด

4. สถานที่ประชุม

ภาคบรรยาย ห้องประชุม 5314 ชั้น 3 อาคารเวชวิชาคาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาคปฏิบัติการ ห้องปฏิบัติการวิจัยศูนย์วิจัยและบริการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อระบาดใหม่ ชั้น 7 อาคารเวชวิชาคาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

5. ผู้เข้าร่วมอบรม

คณาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยรับผู้ฟังภาคบรรยายจำนวน 50 คน ภาคปฏิบัติการจำนวน 10 คน

6. วิทยากร :

รศ. พญ. ศิริลักษณ์ อนันต์ณัฐศิริ ภาควิชาอายุรศาตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อ. นพ. เฉลิม เอื้อบุนยะนันท์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศ. ดร. วีระพงศ์ ลุลิตานนท์ ภาควิชาจุลชีววิทยา และศูนย์วิจัยและบริการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อระบาดใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

รศ, ดร, อรุณลักษณ์ ลุลิตานนท์ กลุ่มวิชาจุลชีววิทยาคลีนิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

ผศ. ดร. อัญชลี ตัตตะวะศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยา และศูนย์วิจัยและบริการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อระบาดใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อ. ทพ. ดร. สุทิน จินาพรธรรม ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและกระดูกขากรรไกร คณะทันตแพทย ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้าร่วมอบรม มีความรู้ความเข้าใจในความสำคัญและปัญหาของเชื้อแอนแอโรบิคแบคทีเรีย และมีความรู้พื้นฐานการเก็บ การส่ง การเพาะเลี้ยง การพิสูจน์และการทดสอบความไวต่อยาของเชื้อแอนแอโรบิคแบคทีเรียจากตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในงานการเรียนการสอน งานวิจัย หรืองานบริการในสาขาวิชาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น