ดนตรีกับครูโอ๊ต

การอ่านโน้ตสากลเบื้องต้น

ความรู้เรื่องโน้ตสากล

            โน้ต ก็คือ สัญลักษณ์ที่ใช้บันทึกแทนเสียงดนตรี ซึ่งแสดงถึงความสั้น-ยาว และความสูง-ต่ำของเสียงดนตรี ตัวโน้ตเปรียบเหมือนกับตัวอักษรที่ใช้บันทึกแทนภาษาพูด คนที่เล่นดนตรีเป็นแต่ไม่สามารถอ่านโน้ตได้ก็เหมือนกับคนที่พูด ได้แต่อ่านหนังสือไม่ออก 


            สำหรับเสียงเครื่องดนตรีที่เราดีด,สี,ตี,เป่า ออกมาเป็นเพลงได้นั้น จะประกอบไปด้วย

                     1. ความสั้น-ยาว ของเสียง หรือที่เราเรียกว่า จังหวะ (Time)

                     2. ความสูง-ต่ำ ของเสียง หรือที่เราเรียกว่า ระดับเสียง (Pitch) ถ้าเรามีความเข้าใจใน 2 ข้อ นี้ก็สามารถอ่านโน้ตได้เร็วขึ้น เพราะโน้ตจะบันทึกรวมทั้ง 2 ข้อนี้ไว้ด้วยกัน 


           จังหวะ(Time) 


                     1. ความหมายของคำว่าจังหวะ(Time)


                     2. ตัวโน้ต และตัวหยุด (Note & Rest)

                     3. โน้ตโยงเสียง (Tied Note)


                     4. โน้ตประจุด (Dotted Note)


                     5. โน้ต 3 พยางค์ (Triplets)


                     6. ห้องเพลง (Measure)


                     7. เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature)

                     8. เครื่องหมายกำหนดจังหวะอื่นๆ


                     9. การจัดกลุ่มตัวโน้ต และตัวหยุด


                   10. หลักการปฏิบัติจังหวะตามตัวโน้ต


ความหมายของคำว่าจังหวะ (Time)

               จังหวะ หมายถึง ช่วงเวลาที่ดำเนินอยู่ในขณะที่บรรเลงดนตรี จะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อจบบทเพลงนั้นๆแล้ว จังหวะมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของทำนองเพลงและแนวประสานเสียงต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์กัน การเดินของจังหวะจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ จะเหมือนกับการเดินของนาฬิกา ซึ่งนาฬิกาปกติจะเดินเป็นจังหวะตัวดำเท่ากับ 60 ตัวอย่างเช่น

              หากเราตั้ง metronome(เครื่องเคาะจังหวะ) เป็นจังหวะตัวดำเท่ากับ 120 ก็คือในหนึ่งนาทีจะมีตัวดำทั้งหมด 120 ตัว หรือใน 1 วินาทีของนาฬิกาปกติ จะมีตัวดำทั้งหมด 2 ตัวนั่นเอง


             จังหวะเราจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

                  1 .จังหวะเคาะ (Beat) เป็นหน่วยบอกช่วงเวลาของดนตรี ปฏิบัติโดยการเคาะจังหวะให้ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าจะจบบทเพลง

                  2. จังหวะทำนอง (Rhythm) เป็นช่วงเวลาที่เสียงดังออกมา มีทั้งเสียงสั้นเสียงยาวสลับกันไปด้วยความเงียบ ซึ่งแล้วแต่บทเพลงนั้นๆ ตัวอย่างเช่น เพลงหนูมาลี 



                   ความสั้น-ยาวของเสียง หรือความเงียบในจังหวะทำนอง สามารถบันทึกได้โดยใช้ ตัวโน้ต และตัวหยุด 


ตัวโน้ต และตัวหยุด (Note & Rest)


                  ตัวโน้ต (Note) เป็นสัญลักษณ์ที่บักทึกแทน ความสั้น-ยาว ของเสียง

                  ตัวหยุด (Rest) เป็นสัญลักษณ์ที่บักทึกแทน ความสั้น-ยาวของความเงียบ


ลักษณะของตัวโน้ต และตัวหยุด



การเปรียบเทียบค่าของตัวโน้ต




              จะเห็นได้ว่า โน้ต ตัวขาว มีค่าเท่ากับ ½ ของโน้ต ตัวกลม


              โน้ต ตัวดำ มีค่าเท่ากับ ¼ ของโน้ต ตัวกลม


               โน้ต ตัวเขบ็ต 1 ชั้น มีค่าเท่ากับ 1/8 ของโน้ต ตัวกลม


              โน้ต ตัวเขบ็ต 2 ชั้น มีค่าเท่ากับ 1/16 ของโน้ต ตัวกลม หรือ 1 ตัวกลม = 2 ตัวขาว = 4 ตัวดำ = 8 ตัวเขบ็ต 1 ชั้น = 16 ตัวเขบ็ต 2 ชั้น

ส่วนตัวหยุด ให้เปรียบเทียบค่าเหมือนตัวโน้ตครับ