ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์แฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์  (E-Portfolio)  ของครูธีรชาติ  คลังนุช


ข้อมูลผู้ประเมิน

        จังหวัด นนทบุรี

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง


1.  ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 19ชั่วโมง  10 นาที /สัปดาห์ดังนี้

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา...ส21101 สังคมศึกษาฯมัธยมศึกษาปีที่1.....จำนวน.........15....... ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา...ส22102 ประวัติศาสตร์มัธยมศึกษาปีที่1...จำนวน.....1..... ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา...ตลาดวิชา(การเงินการลงทุน) ....จำนวน ...50....นาที/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา...ชุมนุม ....จำนวน ...50....นาที/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา...ลูกเสือ-เนตรนารี  ....จำนวน ...50....นาที/สัปดาห์

  ฯลฯ

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน...3...ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน...17...ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน...3....ชั่วโมง/ปี

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู


ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน


ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ 

การแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)



ประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ไขปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ เรื่องพิกัดภูมิศาสตร์ โดยใช้กระบวนการ Active Learning ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ได้กำหนดคุณภาพ    ของผู้เรียนที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ไว้ว่าจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระวิชาสังคมศึกษา มีทักษะกระบวนการ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาสังคมศึกษา มีความตระหนักในคุณค่าของวิชาสังคมศึกษา และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

       ในรายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ที่ปฏิบัติการสอนในภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา 2566 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จากการศึกษาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งในระดับชั้นเรียน ระดับรายวิชา ระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับสถานศึกษา และระดับชาติ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า รายวิชา ส21101 สังคมศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาค่อนข้างมาก และการที่ผู้เรียนต้องจดจำเนื้อหาดังกล่าวก่อนที่จะนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้ อาจจะทำได้ไม่ดีพอ

      

จากปัญหาข้างต้น ผู้จัดทำข้อตกลงได้ทำการศึกษาวิธีการแก้ปัญหาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบActive Learning โดยการใช้สถานการณ์จำลอง เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ใน การแก้ไข  คุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนได้ เพื่อให้การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ในรายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  มีคุณภาพตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ  หอวัง  นนทบุรี  เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติหรือคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ รวมถึงสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตลอดจนเพื่อให้เป็นไปตามค่าเป้าหมายในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ได้กำหนดไว้

       ผู้จัดทำข้อตกลง จึงขอเสนอประเด็นท้าทายที่แสดงให้เห็นถึงสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการ เรื่อง พิกัดภูมิศาสตร์ โดยกระบวนการActive Learning  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

จากการที่ผู้จัดทำข้อตกลงได้เสนอประเด็นท้าทาย การจัดการเรียนรู้ เรื่อง พิกัดภูมิศาสตร์ โดยกระบวนการActive Learning  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี โดยวิธีการดำเนินการตามประเด็นท้าทายดังกล่าวให้บรรลุผลตามข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ผู้จัดทำข้อตกลงได้ดำเนินการตามกระบวนการคุณภาพ PDCA 

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ 

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้อง ที่เรียนในรายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101 ได้รับการพัฒนา เรื่อง วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ โดยกระบวนการActive Learning ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในระดับดี ร้อยละ 60 ขึ้นไป  

3.2 เชิงคุณภาพ

3.2.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 1 ห้อง ที่เรียนในรายวิชาสังคมศึกษา  รหัสวิชา ส21101  มีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา  คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตรสูงขึ้น    

                     3.2.2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้อง ที่เรียนในรายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101 ได้รับการพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มของนักเรียนให้ดีขึ้น

                     3.2.3 ได้แนวทางในการพัฒนา เรื่อง พิกัดภูมิศาสตร์ ร่วมกับกระบวนการActive Learning ในการทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ตลอดมีแรงบันดาลใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้



660227 PA1 แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (ธีรชาติ คลังนุช)66.pdf