ประวัติส่วนตัว

ชื่อ - สกุล นางสาวตติยา  อ่วมสอาด

เริ่มบรรจุรับราชการครู ตำแหน่งครูผู้ช่วย  วันที่ 18 พฤษภาคม 2558

ได้รับคำสั่งแต่งตั้งครู คศ.1       วันที่ 18 พฤษภาคม 2560

เข้าสู่ตำแหน่ง      รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วันที่ 19 เมษายน 2564

     วิทยฐานะ ชำนาญการ

บริหารงาน กลุ่มบริหารทั่วไป

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

👩‍🎓ประวัติการศึกษา

🔸ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัฒนพฤกษา  

🔸ระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี

🔸ระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต(ประมง)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

🔸ระดับปริญญาตรี ศิลปศาตรบัณฑิต (ภาษาจีน) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

🔸ระดับปริญญาโท ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัรามคำแห

                                                                      👉 ส่วนที่ 1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงานจะมีภาระด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์นวัตกรรม ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่ายและด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ เป็นไปตาม ก.ค.ศ กำหนด

    เต็มเวลา

     🟩 ไม่เต็มเวลา เนื่องจาก…………………………………………………………………………………………………..

                โดยภาระงานด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ จะมีการปฏิบัติการสอนไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

  โดยมีการปฏิบัติการสอน/การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในสถานศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้

     🟩 ปฏิบัติการสอนประจำวิชาจำนวน 10  ชั่วโมง/สัปดาห์

     🟩ปฏิบัติการสอนร่วมกับครูประจำชั้น/ประจำวิชา จำนวน - ชั่วโมง/สัปดาห์

     🟩สังเกตการสอนและสะท้อนผลการสอนร่วมกับครูในกิจกรรมเปิดชั้นเรียน

           จำนวน  -  ชั่วโมง/สัปดาห์

     เป็นผู้นำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ( PLC) ของโรงเรียน

           จำนวน  10  ชั่วโมง/สัปดาห์

     ปฏิบัติหน้าที่การสอนเพื่อเป็นพี่เลี้ยงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับครู

           จำนวน 7 ชั่วโมง/สัปดาห์

     จัดกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้และอบรมบ่มนิสัยผู้เรียน 

จำนวน  2  ชั่วโมง/สัปดาห์ 

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา (คลิกเพื่อไปที่ด้านต่าง ๆ )

                                     👉ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย  

ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

   ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษา

              ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษาของผู้จัดทำข้อตกลงซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ คือการ การแก้ปัญหา การพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษาและคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นหรือมีพัฒนาการมากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้) 


ประเด็นท้าทายเรื่อง  การพัฒนาห้องเรียนคุณภาพของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี 



1.สภาพปัญหาการบริหารจัดการสถานศึกษาและคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

                นโยบายจุดเน้นของกระทรวงศึกษาสู่การกำหนดนโยบายและจุดเน้น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 “สพฐ. วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ” โดยมีนโยบายใน 4 ประเด็น คือ 1. ด้านความปลอดภัย 2. ด้านโอกาสและการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 3. ด้านคุณภาพ และ 4. ด้านประสิทธิภาพ และกำหนดนโยบายเร่งด่วน (Quick Policy) 10 ข้อ ดังนี้ 1. พระบรมราโชบาย ร.10 สู่การปฏิบัติ  2. ประวัติศาสตร์ หน้าที่ พลเมือง คุณธรรม จริยธรรม 3. การศึกษากับการพัฒนาประชาธิปไตย 4. การจัดการศึกษาปฐมวัย 5. Active Learning 6. พาน้องกลับมาเรียน 7. โรงเรียนคุณภาพ 8 Learning Loss 9. RT NT O-NET และ 10. ความปลอดภัย

 

   การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดลอมในโรงเรียนมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเอื้อให้นักเรียนเกิดการเรียนรูการที่โรงเรียนสามารถจัดสภาพแวดลอมใหเหมาะสมตอการเรียนรู และพัฒนาการ

ของเด็กได้นั้นยอมเป็นการช่วยใหนักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีความรับผิดชอบ และเขาใจถึงสภาพ

ของตนเอง สอดคลองกับ โกวิท มัชฌิมา (2550 :82) กล่าวว่า สภาพแวดลอมมีความสำคัญตอการสงเสริม

คุณภาพ และประสิทธิภาพในกระบวนการจัดการเรียนรูของบุคคลทั้งทางตรงและทางออมในการจัด

สภาพแวดลอมที่ดีในสถานศึกษาช่วยอำนวยความสะดวกใหผู้เรียนได้เรียนรูตามความสามารถ ความสนใจ

ซึ่งจะสงผลโดยตรงตอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน กอใหเกิดประโยชนสูงสุดแกผู้เรียน ใหผู้เรียน

ได้เรียนรู้อย่างมีความสุขจากสภาพแวดลอมที่ดี


               โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี เป็นสถานศึกษาที่มีการจัดการสถานศึกษา โดยใช้แหล่งการ เรียนรู้เป็นฐาน จําเป็นจะต้องใช้แหล่งการเรียนรู้หลายประเภท ยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสามารถเรียนรู้และ พัฒนาตนเองได้ โรงเรียนจึงจำเป็นต้องจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาตามธรรมชาติแลพเต็มศักยภาพแหล่งการเรียนรู้จึงจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาเพราะสิ่งแวดล้อมที่ดีจะเป็นแหล่งที่เสริมสร้างจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ วิชาการและประสบการณ์ เป็น แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นแหล่งปลูกฝังค่านิยมการรักการอ่านและแหล่งการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และ สามารถนำความคิดไปปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดอาชีพใหม่สู่ความเป็นสากล เป็นแหล่งเสริมประสบการณ์ตรง ให้กับผู้เรียนเป็นแหล่งศูนย์รวมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นสถานศึกษาที่เชื่อมโยงชุมชนให้เกิดความสัมพันธ์ กันอย่างใกล้ชิด ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้เรียน โดยยึดวงจรบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ซึ่งประกอบด้วย การวางแผนพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (P) กระบวนการบริหารและจัดการแหล่งการเรียนรู้ (D) การ ตรวจสอบและประเมินผลคุณภาพแหล่งการเรียนรู้ (C) และการปรับปรุงแหล่งการเรียนรู้ (A) เป็นหลักการ สำคัญในการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้และผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่จะสร้างให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้แบบองค์รวมทั้งด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการคิด ให้มีความทันสมัยและยั่งยืน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน


      ดังนั้น ข้าพเจ้าในฐานะผู้บริหารมีความตระหนัก และให้ความสำคัญในการพัฒนาสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อม ห้องเรียนคุณภาพ จากการศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานการจัดสภาพแวดลอมที่เหมาะสม และเอื้อตอการเรียนรู ก็ยอมสงผลใหการพัฒนาการเรียนรูของผู้เรียนเกิดขึ้นได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งมีสวนช่วยในการพัฒนาการศึกษาไทยใหมีความเจริญก้าวหน้าตอไป


2.วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

         2.1 สำรวจการดำเนินงานสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา สำรวจห้องเรียน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566

2.2 สร้างความตระหนัก และกำหนดเป็นจุดเน้นหลัก ห้องเรียนคุณภาพ ชี้แจงแนวทางกับผู้บริหารสถานศึกษา 

และกำหนดเป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนา ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ของผู้บริหารสถานศึกษา

2.3 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องเรียนคุณภาพของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี 

และเป็นแนวทางให้สถานศึกษา และถือปฏิบัติ

2.4 คณะกรรมการดำเนินงานห้องเรียนคุณภาพ ดำเนินการห้องเรียนคุณภาพ

2.5 นิเทศ ติดตามการดำเนินงานห้องเรียนคุณภาพ

2.6 สรุป และรายงานผลการดำเนินงานการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 

ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี


3.ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

    3.1 เชิงปริมาณ

3.1.1    นักเรียน ร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาห้องเรียนให้มีคุณภาพ

3.1.2         ครูและบุคลากรทางการศึกษา ร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ

3.1.3         ห้องเรียน ร้อยละ 100 ในโรงเรียนได้มีการพัฒนาให้เป็นห้องเรียนที่มีคุณภาพ

3.2 เชิงคุณภาพ

3.2.1         นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีห้องเรียนคุณภาพ

3.2.2         ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้มีห้องเรียนที่มีคุณภาพใช้ในการจัดกิจรรมการเรียนการสอน

3.2.3         สถานศึกษามีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีคุณภาพส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมี

            ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล