พฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ ในเขตราษฎร์บูรณะ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

BEHAVIOR OF BUYING GEMS AND JEWELRY IN RAT BURANA DISTRICT IN BANGKOK

ผู้นำเสนอ  นางสาวกมลเนตร์  ปรีชา

รหัสประจำตัว 61320044

สาขาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ปีการศึกษา 2565

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 

1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ในเขตราษฎร์บูรณะ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ในการเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ 

2) เพื่อศึกษาปัจจัยทาง การตลาดในการเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นประชากรในเขตราษฎร์บูรณะ จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามด้านประชากรศาสตร์ และส่วนประสมทางการตลาด สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ T-Test และ One-Way Anova

          ผลการวิจัยพบว่า 

1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 59.8 มีอายุ 21 – 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 46.3 ระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 69 นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 87 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 38.3 และมีอาชีพพนักงานบริษัท คิดเป็นร้อยละ 40.8 

2) ส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ เครื่องประดับไม่ก่อให้เกิดการแพ้/ระคายเคือง มีค่าเฉลี่ย 4.53 อยู่ในระดับมาก ด้านราคาข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ มีค่าเฉลี่ย 4.48 อยู่ในระดับมาก ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ มีการจัดวางสินค้าเป็นหมวดหมู่ตามรูปแบบและประเภทสินค้า ทำให้สะดวกแก่การเลือกซื้อสินค้า มีค่าเฉลี่ย 4.51 อยู่ในระดับมาก ด้านส่งเสริมการขายข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ พนักงานมีความรู้ความชำนาญเป็นอย่างดี มีค่าเฉลี่ย 4.49 อยู่ในระดับมาก ด้านการให้บริการ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ กระบวนการให้บริการสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง มีค่าเฉลี่ย 4.55 อยู่ในระดับมาก

          ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 

1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ด้านเพศที่ต่างกัน ส่งผลต่อส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 

2) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ด้านรายได้ต่อเดือนที่ต่างกัน ส่งผลต่อส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05