การศึกษาพฤติกรรม แรงจูงใจและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย

ที่เดินทางมาเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี

ผู้นำเสนอ นางสาวสิรีภา จันทรเกษม

รหัสประจำตัว 59320225

สาขาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ปีการศึกษา 2562

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นที่จะศึกษา

1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี

2) เพื่อศึกษาพฤติกรรม แรงจูงใจ และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี

3) เพื่อศึกษาปัจจัยทางประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อพฤติกรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี

4) เพื่อศึกษาปัจจัยทางประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อระดับแรงจูงใจการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี

5) เพื่อศึกษาปัจจัยทางประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี ใช้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี จำนวน 400 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Sampling) โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติ T-test และสถิติ One-way ANOVA (F-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการศึกษาปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 400 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 229 คน คิดเป็นร้อยละ 57.2 อายุ 20 - 30 ปี จำนวน 158 คน คิดเป็นร้อยละ 39.5 มีอาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 162 คน คิดเป็นร้อยละ 40.5 รายได้ต่อเดือน 10,000 – 15,000 บาท จำนวน 122 คน คิดเป็นร้อยละ 30.5 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 226 คน คิดเป็นร้อยละ 56.5 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง จำนวน 174 คน คิดเป็นร้อยละ 43.5 ทางด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี ส่วนใหญ่ไม่เคยมา จำนวน 213 คน คิดเป็นร้อยละ 53.2 เดินทางมาท่องเที่ยวในรูปแบบกลุ่มเพื่อน จำนวน 226 คน คิดเป็นร้อยละ 56.5 รู้จักหรือทราบข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวจากอินเทอร์เน็ต จำนวน 277 คน คิดเป็นร้อยละ 57.7 ทำกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยวมากที่สุด คือ เล่นน้ำตก จำนวน 217 คน คิดเป็นร้อยละ 36.7 เดินทางมาท่องเที่ยวโดยรถส่วนตัว จำนวน 355 คน คิดเป็นร้อยละ 88.8

ผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ด้านเพศ อายุ รายได้ต่อเดือน และระดับการศึกษาที่ต่างกัน ส่งผลต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ด้านอายุ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนที่ต่างกัน ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ