การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับแท้

ของนักท่องเที่ยวชายในจังหวัดจันทบุรี

ผู้นำเสนอ นางสาวศุทธินี อธิยะ

รหัสประจำตัว 59320223

สาขาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ปีการศึกษา 2562

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับแท้ของนักท่องเที่ยวชายในจังหวัดจันทบุรี เพื่อนำมาปรับใช้ในการพัฒนาสินค้าเครื่องประดับแท้สำหรับผู้ชาย และกลยุทธ์ในด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี ที่เดินทางมา ท่องเที่ยว ผู้ประกอบการสามารถนำไปพัฒนาสินค้าเครื่องประดับแท้สำหรับผู้ชาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำผลการศึกษามาประยุกต์ใช้กับผู้ประกอบการ ในการพัฒนาสินค้าและการให้บริการ เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวให้มาเลือกซื้อเครื่องประดับให้มากขึ้น และเพื่อกระตุ้นยอดขายสินค้าเครื่องประดับแท้สำหรับผู้ชายได้ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาย ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 400 คน โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ตารางแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ One-way ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการวิจัยของนักท่องเที่ยวชายในจังหวัดจันทบุรี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 26-35 ปี จำนวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 36.3 สถานภาพสมรส จำนวน 189 คนคิดเป็นร้อยละ 47.3 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 262 คน คิดเป็นร้อยละ 65.5 มีอาชีพพนักงานเอกชน จำนวน 312 คน คิดเป็นร้อยละ 78 มีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท จำนวน 312 คน คิดเป็นร้อยละ 78

พฤติกรรมในการเลือกซื้อเครื่องประดับของนักท่องเที่ยวชายในจังหวัดจันทบุรี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ซื้อเครื่องประดับแท้ เพื่อการลงทุน เก็งกําไร จำนวน 259 คน คิดเป็นร้อยละ 64.8 ซื้อเครื่องประดับประเภทสร้อยคอ จำนวน 265 คน คิดเป็นร้อยละ 66.3 ซื้อเครื่อง ประดับโลหะมีค่าที่มีส่วนประกอบเป็นทองคำ จำนวน 320 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ซื้ออัญมณีโกเมนจำนวน 147 คน คิดเป็นร้อยละ 36.8 ซื้อจากร้านขายเครื่องประดับบริเวณตลาดพลอย จำนวน 146 คน คิดเป็นร้อยละ 36.5 ปัจจัยในการเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการรับประกันจากร้านค้า มีค่าเฉลี่ย 4.53 ด้านราคา พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการติดราคาสินค้าชัดเจน มีค่าเฉลี่ย 4.84 ด้านช่องทางการจัดจําหน่ายพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมาก คือ มีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน มีค่าเฉลี่ย 4.74 ด้านการส่งเสริมทางการตลาด พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ อยู่เสมอ มีค่าเฉลี่ย 4.39 ด้านการให้บริการของบุคลากร พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ พนักงานขายมีบุคลิกและอัธยาศัยดี มีค่าเฉลี่ย 4.77 ด้านการการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การให้บริการรวดเร็ว มีค่าเฉลี่ย 4.50