ความต้องการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

ผู้นำเสนอ นางสาววรางคณา​ สุระเสียง​

รหัสประจำตัว 59320221

สาขาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ปีการศึกษา 2562

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นที่ศึกษาความต้องการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยวัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

2) เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี และ

3) เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ส่งผลต่อความต้องการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 400 คน โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และสถิติ One-way ANOVA (F-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 231 คน คิดเป็นร้อยละ 58 มีเกรดเฉลี่ยสะสมระหว่าง 3.00-3.50 ปี จำนวน 166 คน คิดเป็นร้อยละ 41 แผนการเรียน คณิต-ภาษา จำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 23 ส่วนใหญ่อาชีพ ของบิดามารดาคือ เกษตรกร จำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 24 มีรายได้รวมต่อเดือนของครอบครัว 15,001-20,000 บาท จำนวน 148 คน คิดเป็นร้อยละ 37 และส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 134 คน คิดเป็นร้อยละ 34 ส่วนด้านความต้องการศึกษาต่อระดับ อุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี พบว่า ด้านภูมิหลัง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ความพึงพอใจของผู้ปกครอง มีผลต่อการเลือกเรียนมหาวิทยาลัย มีค่าเฉลี่ย 4.13 อยู่ใน ระดับมาก ด้านความสามารถส่วนบุคคล ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ความถนัดทางวิชาการของท่าน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัย ค่าเฉลี่ย 4.51 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวกับความต้องการในการเลือกมหาวิทยาลัย ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การที่ผู้ปกครองอยากให้เรียน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัย ค่าเฉลี่ย 4.90 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านคุณภาพและสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยมีค่าเฉลี่ย 4.81 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านค่าเล่าเรียนแหล่งเงินทุนและตลาดแรงงานข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ความต้องการของตลาดแรงงาน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัย ค่าเฉลี่ย 4.59