การเผยแพร่ความรู้ทางด้านอัญมณีผ่านทางโปสเตอร์ชนิดพลอย

สาหรับผู้ประกอบการในตลาดพลอย จังหวัดจันทบุรี

PUBLISHING KNOWLEDGE ON GEMSTONES POSTERS FOR

ENTREPRENEURS IN THE GEM MARKET CHANTHABURI

ผู้นำเสนอ นางสาวจิตวรรณ พาดี

รหัสประจำตัว 58320015

สาขาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ปีการศึกษา 2561

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำโปสเตอร์ชนิดพลอย และเผยแพร่ความรู้ให้แก่ ผู้ประกอบการ เพื่อสรางความได้เปรียบทางการแข่งขันและพัฒนาขีดความสามารถทางการค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เกี่ยวกับการค้าพลอยจังหวัดจันทบุรี โดยจะสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและนักศึกษา จำนวน 24 ราย และแจกแบบสอบถามความพึงพอใจต่อผู้ประกอบการ จำนวน 40 คน ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลที่ควรมีในโปสเตอร์ชนิดพลอย ประกอบด้วย ชื่อชนิดพลอยที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ค่าความแข็ง แหล่งกำเนิด การปรับปรุงคุณภาพ ค่าความถ่วงจาเพาะ (SG) ค่าดัชนีหักเหของแสง (RI) ส่วนด้านรูปแบบ ออกแบบให้ดูง่าย และเห็นข้อมูลได้ชัดเจน ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ประกอบการด้านอัญมณีและเครื่องประดับมีความพึงพอใจต่อการเผยแพร่ความรู้ด้านอัญมณีผ่านสื่อโปสเตอร์ชนิดพลอย เป็นเพศหญิงจำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 70 มีอายุระหว่าง 21-30 ปี จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 42.5 ระดับการศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 65 มีประสบการณ์ในการทำงานด้านอัญมณีและเครื่องประดับ 1-10 ปี จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 72.5 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-30,000 บาท จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 45 ส่วนความพึงพอใจของผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับที่มีต่อโปสเตอร์พบว่า ด้านเนื้อหามีความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.22 ด้านตัวอักษร มีความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย 3.98 ด้าน ภาพประกอบ มีความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.35 ด้านภาพรวมมีความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.31 และจากการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อโปสเตอร์ชนิดพลอย พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษาประสบการณ์ในการทางานด้านอัญมณี และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อโปสเตอร์ชนิดพลอยด้านเนื้อหา ด้านตัวอักษร ด้านภาพประกอบ และด้านภาพรวม

อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ