ออกแบบเครื่องประดับในลักษณะของไทยประยุกต์เพื่อตีความหมายใหม่

Designing jewelry in a Thai style to create new meanings

ผู้นำเสนอ  นางสาวพิมพ์ลภัส บุญแกม

รหัสประจำตัว 62320012 

สาขาการออกแบบเครื่องประดับ ปีการศึกษา 2565

บทคัดย่อ

          ศิลปะประเภทลายไทย มีอยู่หลายประเภท จากการสืบค้นข้อมูลที่มาของชื่อลายประจำยาม ปรากฏว่าไม่พบข้อมูลคำอธิบายความหมาย มีเพียงแต่ระบุเป็นลายไทยประเภทหนึ่ง มีโครงสร้าง มีลักษณะเป็นลายดอกเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มี 4 กลีบ ตรงกลางเป็นรูปวงกลมผู้วิจัยจึงเกิดความสนใจที่จะศึกษาทำการวิเคราะห์ความหมายของลายประจำยาม และนำข้อมูลของลายประจำยามมาตีความใหม่เพื่อสื่อความหมายใหม่ นำมาออกแบบเครื่องประดับในลักษณะของไทยประยุกต์ โดยอาศัยฐานข้อมูลทางประวัตศาสตร์และประวัติศาสตร์ศิลปะมาใช้โดยที่มีการสืบค้นจากรูปแบบและพัฒนาการเพื่อนำมาเป็นแนวทางใน การตีความหมายโดยได้รับแรงบันดาลใจ สร้างสรรค์จาก รูปแบบลายประจำยาม และผลิตเป็นชิ้นงานเครื่องประดับเพื่อกลุ่มคนวัยทำงานที่ชื่นชอบลายไทยโดยผ่านการตีความหมายใหม่

          การดำเนินงานวิจัยที่เกี่ยวกับการศึกษาถึงข้อมูลความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในกลุ่ม ผู้หญิงที่มีความชื่นชอบเอกลักษณ์ศิลปะไทยในรูปแบบประยุกต์นี้มีช่วงอายุ 20 - 35 ช่วงวัยเรียนถึงวัยทำงาน มีบุคลิกภาพ มีความมั่นใจในตัวเอง ชื่นชอบการแต่งตัว มีบุคลิกสไตล์ที่ชัดเจน มีความชอบในผลงานศิลปะความเป็นไทยโดยได้มีการนำข้อมูลที่ได้จากกลุ่ม ตัวอย่างนำไปสู้กระบวนการในการออกแบบ

          โดยผู้วิจัยตีความรูปแบบลายประจำยามผสานแนวคิดเรื่อง “การปกป้อง” โดยทำการ ประกอบลายใหม่ แทนที่ด้านเหลี่ยมทั้ง 4 ด้าน 4 ทิศ แทนความหมายด้วยเพชร แทนการปกป้องทั้ง 4 ทิศ ด้วยเพชรคือความหมายของวชิระ มีการปรับรูปทรงตัวชิ้นงานให้อารมณ์ถึงความเป็นโล่ไทย การป้องกันคุ้มครองเภทภัย เป็นเครื่องประดับทั้งหมด 3 ชิ้น ได้แก่ แหวน สร้อยข้อมือ จี้