ที่มาของโครงการ

         โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” เป็นโครงการที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริ
ให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาริเริ่มดำเนินการนำร่องในประเทศไทย โดยได้ทอดพระเนตรตัวอย่างโครงการนี้ คราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ. 2552 คณะกรรมการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จึงได้ติดต่อกับมูลนิธิ Haus der kleinen Forscher โดยการประสานงานของ Mr. Thomas Tillmann เพื่อขออนุญาตนำกิจกรรมนี้มาทดลองทำในประเทศไทย บัดนี้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
        โดยที่มาของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มาจากการประเมินผลนานาของโครงการ PISA พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อีกทั้งยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ งานวิจัยยืนยันว่า
เราควรสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เพราะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำมากที่สุด
ซึ่งโครงการได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
          จนถึง ณ ปัจจุบัน โครงการได้พัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมสร้างความตระหนักและความรู้ ทักษะเชื่อมโยงกับสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ESD : (Education for Sustainable Development) เพื่อตอบสนองแนวทาง 17 ข้อของ UN sustainable development goals (SDGs)

วัตถุประสงค์ของโครงการ

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ระดับประถมศึกษา สพป.สกลนคร เขต 3
ร้อยใจภักดิ์ รักกรมสมเด็จพระเทพฯ

สัมมนาวิชาการครบรอบ 10 ปี "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยกับการศึกษาเพื่อความยั่งยืน"

แนะนำโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย

ผลงานระดับปฐมวัย

การเข้าร่วมโครงการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3

              ในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3  ได้ดำเนินการตามนโยบายสํานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดําเนินงานมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 ถึงปัจจุบัน โดยในปัจจุบันมีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ที่จัดการศึกษาระดับประถมศึกษาเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 40 โรงเรียน โดยมีผู้ขับเคลื่อนโครงการของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วยผู้นําเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network ;LN) วิทยากรท้องถิ่น (Local Trainer ; LT) ซึ่งได้รับการอบรมจากวิทยากรหลัก (Core Trainer ; CT) เพื่ออบรมขยายผลให้กับครูในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ  และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จึงได้จัดทำโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เพื่อดำเนินการในระดับระดับชั้นประถมศึกษาได้ดำเนินการขยายผลมาเพื่อพัฒนาครูผู้สอนในระดับปฐประถมศึกษาให้สามารถจัดกิจกรรมในชั้นเรียนและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน