Clip รับชมย้อนหลัง 

การนำเสนอการปฏิบัติที่เป็นเลิศ  (Best Practice) การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตประเภทครู ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 รูปแบบออนไลน์  วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567  

คลิก

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4

ขอเชิญ ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา   ผู้สนใจทั่วไป  เข้าร่วมกิจกรรม  การนำเสนอการปฏิบัติที่เป็นเลิศ  (Best Practice) การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตประเภทครู ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 รูปแบบออนไลน์  



ลงทะเบียน เวลา 08.30 น  

ได้ที่ ลิงก์ 

ลิงก์วิดีโอคอล: https://meet.google.com/jmo-fufn-ory


 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 

ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4


หลักสูตรการสอนเพศวิถีศึกษา 

อบรมฟรี  มีวุฒิบัตร

ปีงบประมาณ พ.ศ.2567

(จบการอบรมฯ รับวุฒิบัตรจาก สพฐ.)


1. ผู้ที่เคยอบรมฯ และได้รับวุฒิบัตร ไม่ต้องลงทะเบียนอบรมฯ ใหม่

2. ระบบลดชั่วโมงการอบรมฯ จาก 22 ชั่วโมง  คงเหลือ 8 ชั่วโมง

3. เกณฑ์การผ่านอบรมฯ คือ ผู้เข้ารับการอบรมฯ ทำแบบทดสอบหลังเรียนผ่านร้อยละ 60  โดยไม่ต้องจัดส่งแผนการสอนเข้าระบบ

4. ผู้เข้ารับการอบรมฯ รับวุฒิบัตรรูปแบบเดียวกันทุกคน  ระบบฯ ไม่แบ่งประเภทผู้บริหารโรงเรียนหรือประเภทครู

คลิก เพื่อลงทะเบียนอบรม

รวมผลงาน BEST Practice เพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต ชนะเลิศเหรียญทอง ประเภท ครู ปีงบประมาณ พ.ศ.2566.pdf

ผลงานรางวัลชนะเลิศเหรียญทองการปฏิบัติที่เป็นเลิศ 

(Best Practice)การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต  ประเภทครู  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566

คลิก

Clip รับชมย้อนหลัง 

การนำเสนอการปฏิบัติที่เป็นเลิศ  (Best Practice) การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตประเภทครู ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รูปแบบออนไลน์  วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566   


วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4

ขอเชิญ ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา   ผู้สนใจทั่วไป  เข้าร่วมกิจกรรม  การนำเสนอการปฏิบัติที่เป็นเลิศ  (Best Practice) การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตประเภทครู ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รูปแบบออนไลน์  



ลงทะเบียน เวลา 09.00 น  

ได้ที่ ลิงก์ meet.google.com/oyk-debp-waf

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 

ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4

เพศวิถีศึกษา (Sexuality education) คือ วิชาการศึกษาที่ว่าด้วยความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเพศที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดการยอมรับ การดูแลปฏิบัติรักษาตนเองในเรื่องสุขอนามัย การรู้และเข้าใจถึงพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญาตามวัย การสร้างสัมพันธ์ระหว่างวัยตลอดจนความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเอดส์ และการดูแลป้องกันลดความเสี่ยงจากพฤติกรรมทางเพศ และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ทั้งนี้เพศวิถีศึกษาเป็นคำนิยามความหมายของคำว่า เพศ ในนัยหนึ่ง ซึ่ง “เพศ” มีความหมายตามลักษณะนัยสำคัญ 3 ความหมาย คือหมายถึงเพศสรีระ (Sex) เพศภาวะ (Gender) และเพศวิถี (Sexuality) ทั้งนี้เพศวิถีศึกษามีความสำคัญต่อการเรียนการสอนของวัยรุ่น คือ ช่วยให้นักเรียนเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของร่างกายตามธรรมชาติของเพศ การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก และความสัมพันธ์ระหว่างเพศ รู้จักการดูแลรักษาอวัยวะเพศและระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ รู้และเข้าใจการมีเพศสัมพันธ์  โรคติดต่อ และปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์ ช่วยให้รู้ เข้าใจ และยอมรับในความแตกต่างของเพศ ตลอดจนเป็นแนวทางในการปูพื้นฐานการวางแผนและสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตผ่านมิติมุมมองของเพศวิถี   

ขอบข่ายเนื้อหาการจัดการเรียนรู้

เพศวิถีศึกษา 6 มิติ

 

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ยึดแนวทางของ SIECUS(Sexuality Information and Education Council of the US) และผนวกกับแนวปฏิบัติสากลทางวิชาการเรื่องเพศวิถีศึกษาขององค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งประชาชาติ

(UNESCO) เพื่อกำหนดเนื้อหาเพศศึกษาหรือเพศวิถีศึกษา ประกอบด้วยเนื้อหา 6 มิติ  ในแต่ละมิติ  ประกอบด้วยหัวข้อย่อยต่าง ๆ ที่ครูผู้รับผิดชอบจะร่วมกันวิเคราะห์ความจำเป็นของผู้เรียนแต่ละระดับชั้นว่ามีปัญหา ความต้องการหรือโจทย์ที่ต้องเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อย่อยอย่างไร และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการและความจำเป็นของผู้เรียน  ดังนี้

 

1. พัฒนาการของมนุษย์ (Human Development) มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศแต่ละช่วงวัย ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เน้นสำระเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว พัฒนาการทางเพศ การสืบพันธุ์ ภาพลักษณ์ต่อร่างกาย ตัวตนทางเพศ และความพึงพอใจทางเพศ มีหัวข้อย่อย ดังนี้

 1.1 สรีระร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ (Reproductive and Sexual Anatomy and

Physiology)

 1.2 การสืบพันธุ์ (Reproduction)

 1.3 การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว (Puberty)

 1.4 ภาพลักษณ์ต่อร่างกาย (Body Image)

1.5 ตัวตนทางเพศ (Gender Identity)

1.6 รสนิยมทางเพศ (Sexual Orientation)

2. สัมพันธภาพ (Relationships) เป็นเนื้อหาในมิติของครอบครัว เพื่อน การคบเพื่อนต่างเพศ  ความรัก การใช้ชีวิตคู่ การแต่งงาน การเป็นพ่อแม่ มีหัวข้อย่อย ดังนี้

 2.1 ครอบครัว (Families)

 2.2 มิตรภาพ (Friendship)

 2.3 ความรัก (Love)

 2.4 ความสัมพันธ์แบบโรแมนติก และการคบหาดูใจกัน (Romantic Relationship & Dating)

 2.5 การแต่งงานและการตกลงใช้ชีวิตร่วมกัน (Marriage and Lifetime Commitments)

 2.6 การเลี้ยงดูลูก (Raising Children)

 2.7 การอดกลั้น การนับรวม การเคารพ (Tolerance, Inclusion, Respect)

3. ทักษะส่วนบุคคล (Personal Skills) เป็นทักษะที่มีความจำเป็นในกำรดำเนินชีวิต ได้แก่

 3.1 การให้คุณค่า (Values)

 3.2 การตัดสินใจ (Decision-making)

 3.3 การสื่อสาร (Communication)

 3.4 การยืนยันความคิด ความต้องการ ความรู้สึกของตนเอง (Assertiveness)

 3.5 การต่อรอง (Negotiation + ทักษะการปฏิเสธ (Refusal Skills)

 3.6 การหาความช่วยเหลือ (Looking for Help)

 3.7 บรรทัดฐานของสังคมและอิทธิพลเพื่อนที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศ (Norms and PeerInfluence on Sexual Behaviors)

 3.8 การเท่าทันสื่อและเพศวิถี (Media Literacy and Sexuality)

4. พฤติกรรมทางเพศ (Sexual Behavior) มีเนื้อหำเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศที่พัฒนาไปตามช่วงชีวิต การเรียนรู้อารมณ์เพศ  การจัดการอารมณ์เพศ  การช่วยตัวเอง จินตนาการทางเพศ  การแสดงออกทางเพศ  การละเว้นการมีเพศสัมพันธ์  การตอบสนองทางเพศ โดยมีหัวข้อย่อย ดังนี้

 4.1 ชีวิตทางเพศตลอดช่วงชีวิต (Sexuality Throughout Life)

 4.2 การช่วยตัวเอง (Masturbation)

 4.3 พฤติกรรมทางเพศที่แสดงออกต่อกัน (Shared Sexual Behavior)

 4.4 การละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual Abstinence)

 4.5 การตอบสนองทางเพศของมนุษย์ (Human Sexual Response)

 4.6 จินตนาการ (Fantasy) จินตนาการทางเพศเป็นเรื่องปกติ

 4.7 การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Sexual Dysfunction)

5. สุขภาพทางเพศ (Sexual Health) เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยทางเพศที่เหมาะสมตามวัย มีสาระเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์จากความสัมพันธ์ทางเพศ   การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย   วิธีการคุมกำเนิด  การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์  การล่วงละเมิดทางเพศ  ความรุนแรงทางเพศ และอนามัยเจริญพันธ์ ดังนี้

5.1 อนามัยเจริญพันธุ์ (Reproductive Health)

 5.2 การคุมกำเนิด (Contraception) + การป้องกันการตั้งครรภ์ (Pregnancy Prevention)

 5.3 การตั้งครรภ์ และการฝากครรภ์ (Pregnancy and Prenatal Care)

 5.4 การทำแท้ง (Abortion)

 5.5 การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) + ความเข้าใจ, การตระหนักรู้, และการลดโอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อ STIs and HIV (Understanding, Recognizing and Reducing the Risk ofSTIs, including HIV)

 5.6 เชื้อเอชไอวีและเอดส์ (HIV and AIDS) + การตีตราเรื่องเอชไอวี/เอดส์, การดูแล, การรักษาและการสนับสนุน (HIV and AIDS Stigma, Care, Treatment and Support)

 5.7 การล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual Abuse, assault, violence, harassment)

 5.8 การยินยอมพร้อมใจ, พื้นที่ส่วนตัว และสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย (Consent, Privacy andBodily Integrity)

 5.9 การใช้ICTs อย่างปลอดภัย (Safe use of Information and CommunicationTechnologies (ICTs))

6. สังคมและวัฒนธรรม (Society and Culture) เป็นเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้และการแสดงออกในเรื่องเพศของบุคคลที่ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม และบรรยากาศทางสังคม วัฒนธรรม  บทบาททางเพศในบริบทของสังคม วัฒนธรรม กฎหมาย สิทธิส่วนบุคคล ศิลปะ และสื่อต่าง ๆ ดังนี้

 6.1 เพศวิถีและสังคม (Sexuality and Society)

 6.2 บทบาททางเพศ (Gender Roles)

6.2.1 การประกอบสร้างของสังคมในเรื่องเพศสภาพและบรรทัดฐานชายหญิง (The SocialConstruction of Gender and Gender Norms)

6.2.2 ความเท่าเทียมทางเพศ การเหมารวมและอคติทางเพศ (Gender Equality,

Stereotypes and Bias)

6.2.3 ความรุนแรงทางเพศสภาพ (Gender-based Violence)

 6.3 เพศวิถีและกฎหมาย (Sexuality and Law)

 6.4 เพศวิถีและศาสนา (Sexuality and Religion)

 6.5 ความหลากหลาย (Diversity)

 6.6 เพศวิถีและศิลปะ (Sexuality and the Arts)

 6.7 เพศวิถีและสื่อ (Sexuality and the Media)

 6.8 เพศวิถีและสิทธิมนุษยชน (Sexuality and Human Rights)


ความสำคัญของเพศวิถีศึกษา

ความสำคัญของเพศวิถีศึกษาที่มีต่อนักเรียน

1.ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศ ทั้งในส่วนของอัตลักษณ์ทางเพศ ความพึงพอใจทางเพศ พฤติกรรมทางเพศ พัฒนาการทางเพศในแต่ละช่วงวัย การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล สุขภาวะทางเพศ และมิติทางสังคมวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบต่อเรื่องเพศ  

2.นักเรียนได้รู้จักตนเองมากขึ้น  เนื่องจากมีโอกาสได้ศึกษา  การได้สำรวจ  วิเคราะห์  ในระหว่างเรียนจะทำให้เกิดความเข้าใจตนเอง  การบ่มเพาะค่านิยมและทัศนคติด้านบวกต่อเรื่องสุขภาวะทางเพศอนามัยเจริญการพันธ์จะพัฒนาไปสู่การเคารพตนเอง  เคารพสิทธิมนุษยชน  และความเท่าเทียมทางเพศ

3.เพศวิถีศึกษาช่วยให้เยาวชนสามารถควบคุมพฤติกรรมของตน  ในทางกลับกันช่วยให้นักเรียนรู้จักปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเคารพ  ยอมรับ  อดทน  และเอาใจใส่  โดยไม่เลือกเพศชาติพันธุ์  เชื้อชาติ หรือวิถีทางเพศ ทำให้มีแนวทางในการเลือก ดำเนินชีวิตทางเพศอย่างเหมาะสม  เป็นสุข และปลอดภัย  

4.นักเรียนเกิดความตระหนักถึงความจำเป็นในการเข้าใจตนเองและผู้อื่น เกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษา

5.ทำให้นักเรียนมีทักษะชีวิต ที่ส่งเสริมให้เกิดการคิดเชิงวิพากษ์ การสื่อสาร การเจรจาต่อรอง การตัดสินใจ การกล้า แสดงออก ก่อให้เกิดผลดีต่อผู้เรียนทำให้มีแนวทางในการปฎิบัติ  เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับเพื่อนนักเรียนที่มีสถานะทางเพศเดียวกัน ตลอดจนการอยู่ร่วมกับบุคคลในครอบครัว บุคคลในสังคมที่มีเพศเดียวกันและต่างเพศกันได้อย่างเหมาะสม

ความสำคัญของเพศวิถีศึกษา

ความสำคัญของเพศวิถีศึกษาที่มีต่อผู้ปกครอง

1.ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศ พฤติกรรมทางเพศ พัฒนาการทางเพศของบุตรหลาน หรือ บุคคลที่อยู่ในความดูแล

2. มีแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องเพศวิถี การแสดงออก การวางตัว พฤติกรรมตาม บทบาท และสถานะที่ เหมาะสมกับบุตรหลาน และบุคคลในครอบครัว

3. ก่อให้เกิดเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ปกครองกับบุตรหลาน และบุคคลในครอบครัว ซึ่งจะส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันในครอบครัวอย่างมีความสุข


ความสำคัญของเพศวิถีศึกษา

ความสำคัญของเพศวิถีศึกษาที่มีต่อครูและผู้เกี่ยวข้องกับนักเรียน

1.ทำให้ครูมีความรู้ความเข้าใจผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น มีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างกัน นำไปสู่การมีบรรยากาศการเรียนการสอน และการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข

2.ครูและผู้เกี่ยวข้องมีข้อมูลความรู้พื้นฐานที่ใช้ในการพิจารณากำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์และพัฒนาการทางเพศของนักเรียนที่อยู่ในความดูแล

3.ทำให้ครูเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเคารพในสิทธิมนุษยชน และยอมรับในความแตกต่างของผู้อื่นมากยิ่งขึ้น

3.ครูผู้ทำหน้าที่แนะแนวมีความรู้ความเข้าใจ สามารถให้คำปรึกษา แนะนำ ตลอดจนหาทางช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาแก่นักเรียนที่มีเพศวิถีที่แตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม

ความสำคัญของเพศวิถีศึกษา

ความสำคัญของเพศวิถีศึกษาที่มีต่อชุมชนและสังคม

1.การจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษา ช่วยส่งเสริมให้คนในชุมชนและสังคมเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ ของสมาชิกในชุมชนและสังคมที่มีความแตกต่างกัน

2.ก่อให้เกิดการยอมรับ และเคารพในสิทธิส่วนบุคคล ของสมาชิกในสังคมที่มีอัตลักษณ์ทางเพศและเพศวิถีที่แตกต่างกัน