นายมานัด  โพธิ์แก้ว

ภูมิปัญญา : ด้านเกษตรกรรม

ชื่อ  นายมานัด  นามสกุล  โพธิ์แก้ว 

วันเดือนปีเกิด 5 มกราคม 2500 ที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่ 30 หมู่ที่ 3

ตำบลตะพง อำเภอเมือระยอง จังหวัดระยอง รหัสไปรษณีย์ 21000

พิกัดบ้าน 12.67127089043568, 101.385286330688 

เบอร์โทรศัพท์  099-3206772

Facebook  กลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม 

จุดเด่นของภูมิปัญญา

เป็นเกษตรกรที่มีแนวคิดริเริ่มใหม่เกี่ยวกับการ ปลูกพืช ผัก สวนครัว และต้นไม้แบบผสมผสานและนำทฤษฎีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ในสวนครัวที่ตนเองได้ปลูก นำเศษอาหารและเศษของเปลือกผลไม้ต่างๆ เพื่อนำมาทำปุ๋ยชีวภาพใช้ ฉีดเพื่อบำรุงต้นไม้ และป้องกันแมลงที่จะมากัดกินใบของพืช ผักสวนครัวที่ปลูกนำมูลสุกรจากฟาร์มที่เลี้ยงอยู่ในหมู่บ้าน มาผลิตเป็นแก๊สหุงต้มเพื่อใช้ในครัวเรือน โดยต่อท่อจากบ่อหมักมูลสุกร

ที่มาของภูมิปัญญา

       พื้นที่ของตำบลตะพง ชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรและการทำสวนผลไม้  ส่วนการเลี้ยงสัตว์หรือการทำฟาร์มส่วนใหญ่จะเลี้ยงสุกร ซึ่งมูลของสุกรจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็น แต่ปัญหาที่ว่านี้กลับไม่เกิดขึ้นกับชาวบ้านที่ ต.ตะพง อ.เมืองระยอง จ.ระยอง ชุมชนเล็กๆของชาวบ้าน 800 กว่าครัวเรือนในหมู่  3 บ้านยายดาที่ได้ชื่อว่าเป็นตำบลที่มีเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงหมูมากที่สุดของตำบลตะพง โดยเฉลี่ย 10 ครัวเรือน จะมีเกษตรกรเลี้ยงหมูตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ประมาณ 4-5 ครัวเรือน ทั้งๆที่การเลี้ยงหมูมากมายขนาดนี้แต่ทำไมที่นี่ถึงไม่มีปัญหาระหว่างคนเลี้ยงหมูกับชุมชน

         เมื่อปี 2548 โดยมีโต้โผใหญ่คือเกษตรอำเภอซึ่งดูแลพื้นที่ตำบลตะพงและองค์การบริหารส่วนตำบลตะพง เข้ามาจัดโครงการพัฒนาแก๊สชีวภาพจากขี้หมูในหมู่ 3 บ้านยายดา ตำบลตะพง สำหรับระบบจัดเก็บและระบบท่อจ่ายไปยังครัวเรือนต่างๆ นั้น กระทรวงพลังงานเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณการก่อสร้าง 70% ส่วนอีก 30% เกษตรกรเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

นายมานัด โพธิ์แก้ว อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 บ้านยายดา ตำบลตะพง ไขข้อข้องใจว่า ก่อนนี้ชุมชนบ้านยายดาก็มีปัญหาไม่ต่างจากชุมชนอื่นที่ชุมชนกับฟาร์มต้องอยู่ร่วมกัน แต่ปัญหามีไว้แก้ ในเมื่อการเลี้ยงหมูคืออาชีพที่เลี้ยงปากท้องลูกบ้าน และบางฟาร์มก็สร้างมาก่อนที่บ้านเรือนของเพื่อนบ้านจะขยับเข้ามาใกล้เสียด้วยซ้ำ นี่จึงกลายเป็นโจทย์ให้ทุกคนต้องมาขบคิดว่า ต้องทำอย่างไรให้ทั้งสองส่วนอยู่ร่วมกันได้ เป็นที่มาของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้วยนายมานัด โพธิ์แก้ว ชวนเกษตรกรเลี้ยงหมูทำแก๊สชีวภาพ(หุงต้ม) หรือไบโอแก๊ส เพื่อแบ่งปันให้ชาวชุมชนใช้ในครัวเรือน

         โดยได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรในพื้นที่ทั้งหมด 5 ฟาร์ม จัดทำบ่อแก๊สชีวภาพที่ฟาร์มของตนเอง เพื่อนำขี้หมูและน้ำเสียในกระบวนการเลี้ยงหมูเข้าสู่ระบบ ทำให้เกิดการหมักภายในจนได้เป็นก๊าซชีวภาพที่สามารถนำไปปั่นเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ในฟาร์มของตนเอง และที่สำคัญยังได้แก๊สหุงต้มในครัวเรือน ทดแทนการใช้ก๊าซ LPG นอกจากประโยชน์ด้านพลังงานแล้ว ในด้านสิ่งแวดล้อมยังช่วยลดปัญหากลิ่นเหม็นและก๊าซพิษจากฟาร์มหมู ที่เคยส่งกลิ่นรบกวนผู้อยู่อาศัยบริเวณข้างเคียง ช่วยลดปัญหาการเกิดโรค เพราะไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหะนำโรค และการแพร่เชื้อโรค นอกจากนี้ ยังลดปัญหาเรื่องคุณภาพแหล่งน้ำธรรมชาติ เนื่องจากตัดต้นเหตุที่ทำให้แหล่งน้ำสาธารณะเน่าเสีย ทั้งลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม สร้างรายได้ ลดรายจ่าย สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างฟาร์มสุกรกับชุมชน และยังสามารถขยายผลไปยังชุมชนอื่นได้อีกด้วย

รายละเอียดภูมิปัญญา 

สวนป้าบุญชื่น ซึ่งเป็นการประกอบอาชีพเกษตรกรสวนผลไม้ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและโฮเตย์ของครอบครัวโพธิ์แก้ว มีจำนวนทั้งสิ้น  50 ไร่ และได้ปรับเปลี่ยนมาทำระบบอินทรีย์เมื่อปี 2540  ปัจจุบันมีการผลิตทุเรียน 15 ไร่ มังคุด 10 ไร่ ลองกอง 5 ไร่ เงาะ 17 ไร่ สละหวาน 3 ไร่  และในพื้นที่การทำเกษตรผสมผสานแบบทฤษฏีใหม่ การปลูกผักสวนครัวรั้งกิน ตามสโลแกนที่ว่า “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” ดังกล่าว ยังมีการปลูกไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร เช่น ผักกรูด  พริกไทย พืชผักสวนครัวและไม้ป่าประเภทต่างๆ เช่น  กฤษณา ดอกดาหลา ฯลฯ และได้ศึกษาปฏิบัติตามหลักการของเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ และได้รับการรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ จากสำนักวิจัยของเกษตรแม่โจ้ ปี 2548       ได้มีการ ปรับปรุงการผลิตให้มีความปลอดภัย มีคุณภาพและนำไปสู่การแปรรูป  โดยมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ โดยควบคุมการผลิตทุกขั้นตอนอย่างละเอียดเพื่อไม่ให้สูญเสียความเป็นอินทรีย์ ดังนี้ 

1)  การจัดการสุขลักษณะสวน  แหล่งผลิตพืชอินทรีย์แห่งนี้  มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม เป็นดินร่วนปนทราย แหล่งน้ำคือ ฝ่ายทดน้ำจากเขายายดา โดยพื้นที่แบ่งออกจะปักป้ายแสดงพื้นที่การผลิตพืชอินทรีย์อย่างชัดเจน

2)  การทำสวนผลไม้แบบท่องเที่ยวเชิงเกษตร เมื่อถึงเทศกาลของการเดินทางสู่เส้นทางผลไม้ ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของทุกปี

3)  การทำเกษตรชีวิตภาพ และ ปลูกผักสวนครัวแบบผสมผสาน

4) การจัดการปัจจัยการผลิต  มีการจัดการกับปัจจัยการผลิตเพื่อลดการสูญเสียให้น้อยที่สุด  เช่น  เมื่อต้องตัดแต่งกิ่งเงาะ มังคุด หลังการเก็บเกี่ยว กิ่งที่มีขนาดพอเหมาะจะนำมาเผาถ่าน เกิดเป็นถ่านเชื้อเพลิงใช้ในครัวเรือน และได้น้ำส้มควันไม้สำหรับป้องกันกำจัดโรคและแมลง  เปลือกมังคุดนำไปหมักเพื่อเป็นยาป้องกันเชื้อราในพืช

5) มีการเลี้ยงหมูหลุมไว้ภายในฟาร์มเพื่อลดปริมาณการนำเข้ามูลสัตว์จากภายนอก  นำมาผลิตปุ๋ยหมักและเพื่อกำจัดผลผลิตที่เสียหายจากการเข้าทำลายของแมลง และเพื่อหมุนเวียนเป็นปุ๋ยกลับมาใช้ภายในแปลงต่อไป

6) การจัดการกระบวนการผลิต  การจัดการทางกายภาพ ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งแสงส่องได้ทั่วถึงโดยเฉพาะในด้านที่รับแสงตะวันออก- ตะวันตก ควรตัดแต่งกิ่งบางกิ่งออก กรณีที่ต้นมีอายุมากไม่สะดวกต่อการดูแล – เก็บเกี่ยวก็สามารถตัดส่วนยอด ออกได้และควรทยอยตัดแต่งทรงเพื่อเตรียมต้นให้มีกิ่งแขนงแตกออกจากกิ่งแก่ภายในทรงพุ่มบ้าง  การให้ปุ๋ยทางดิน ทุกๆ 45-60 วัน โดยใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ประมาณ 500 กิโลกรัมต่อไร่หรือ โดยรอบทรงพุ่ม และพ่นหรือราดทับด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพเพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ให้แก่ดินทุกๆ 15-30 วัน (โดยปรับระดับความเข้มข้นตามความเหมาะสม) ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุเร็วขึ้นและช่วยเพิ่มแร่ธาตุอาหารพืช

การพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาให้เป็นนวัตกรรม  คุณค่า  (มูลค่า)  และความภาคภูมิใจ

การเพาะปลูกแบบผสมผสานตามรอยของเศรษฐกิจพอเพียงตามแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ของพ่อหลวง รัชกาลที่ 9

นอกจากนี้ ยังมีการปลูกพืชผักสมุนไพรทั่วทั้งแปลงโดยผลิตผลอื่นๆ ภายในแปลง เช่น มะกรูด มะเฟือง มะนาว มะพร้าว ฯลฯ ได้ทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน ได้แก่ ยาสระผม สบู่ ครีม น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ถ่าน น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า เพื่อใช้เองในครัวเรือน และจำหน่าย ณ ตลาดประจำหมู่บ้าน ตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยโรงพยาบาลระยอง และตลาดสีเขียวของอำเภอแกลง จังหวัดระยอง   ส่วนผลผลิตที่ไม่ได้ขนาดหรือเสียหายจากการตกหล่นจะนำมาแปรรูปเป็นไวน์ผลไม้หรือนำไปผลิตเป็นปุ๋ยกลับมาใช้ในสวนต่อไป   

ด้านผลิตภัณฑ์แปรรูปในครัวเรือน ได้แก่ แชมพู สบู่ครีมบำรุงผิว จะส่งตรวจเพื่อขอรับรองมาตรฐานอาหารและ ยา จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง เพื่อสร้างความมั่นใจในความสะอาดปลอดภัยและมาตรฐานของ ผลิตภัณฑ์ สินค้าทุกชนิดได้รับรองมาตรฐานอาหารและยา 

แหล่งอ้างอิง : ผู้จัดเก็บข้อมูล

ชื่อ  นางทัชชกร  นามสกุล สุริยะไกร  วันที่เก็บข้อมูล 15  มกราคม  2564

สถานศึกษา  กศน.ตำบลตะพง และ กศน.อำเภอเมืองระยอง  อำเภอระยอง จังหวัดระยอง 

โทร  061 – 5716026  LINE ID  yulin_1973  E-mail  thatchakorn.yulin@gmail.com