ระบบสุริยะ

คำอธิบาย

  • ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ศูนย์กลางของระบบสุริยะ ดาวเคราะห์
  • ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหางและเศษฝุ่น ต่างโคจรดวงอาทิตย์
  • ชิ้นงานแสดงเวลาที่ดาวเคราะห์ทั้ง8 และดาวเคราะห์แคระพลูโตใช้ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะห์นได้ว่าดาวดวงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่เร็วกว่าดาว ดวงที่อยู่ไกล
  • สังเกตจำนวนเส้นขีดในวงโคจร สำหรับดาวพุธและดาวศุกร์จำนวนขีดคือ จำนวนวัน โลกและดาวอังคาร จำนวนขีด คือ สัปดาห์ ตั้งแต่ดาวพฤหัสบดีออกไปจำนวนขีดคือ ปี
  • หมายเหตุ ลำดับตำแหน่งของดวงดาวเป็นไปตามจริงอัตราส่วน ขนาดของดวงดาว ลักษณะวงโคจรและระยะทาง ไม่เป็นไปตามจริง

วิธีเล่น

1 เคลื่อนดาวเคราะห์ที่สนใจไปรอบๆดวงอาทิตย์ ตามวงโคจรในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา

2 สังเกตจำนวนขีดที่วงโคจรของดาวเคราะห์แต่ละดวง

จัดเรียงข้อมูลโดย

นายเพาซัน ดีแม

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษายะลา

อุปราคา

คำอธิบาย

o เมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกเคลื่อนที่มาอยู่ในแนวเดียวกัน

เป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่าอุปราคาหรือคลาส

o เมื่อดวงจันทร์มาอยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเงาขึ้นบนโลก เรียกว่า สุริยุปราคา ผู้คนบนโลกจะเห็น ดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บดบัง

o เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนเข้าไปอยู่เงาของโลก ทำให้ดวงจันทร์มืดมัวลง เรียกว่า จันทรุปราคา

วิธีการเล่น

1 กดที่ปุ่มสีเขียวเพื่อเปิดไฟแทนดวงอาทิตย์

2 จับที่แท่งสีแดงใกล้ๆ ดวงจันทร์แล้วเคลื่อนดวงจันทร์มาอยู่ระหว่าง ดวงอาทิตย์และโลกสังเกตเงาที่เกิดขึ้นบนผิวโลก

3 เคลื่อนดวงจันทร์ไปอยู่หลังโลกสังเกตความสว่างที่เปลี่ยนไปของดวงจันทร์

จัดเรียงข้อมูลโดย

นายเพาซัน ดีแม

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษายะลา

ทรงกลมท้องฟ้า


คำอธิบาย

o ทรงกลมท้องฟ้า คือทรงกลมสมมติ ที่มีวัตถุท้องฟ้าต่างๆ แปะอยู่ที่ผิวทรงกลม โดยดาวฤกษ์จะเป็นดาวที่นิ่งอยู่กับที่ มนุษย์ยังได้จินตนาการเป็นรูปต่างๆ เรียกว่า กลุ่มดาวดวงอาทิตย์จะเคลื่อนปรากฏไปตามเส้นสุริยะวิถี ดาวเคราะห์ก็จะเคลื่อนอยู่ใกล้ๆ เส้นนี้ ทุกๆ วันที่โลกเราหมุนรอบตัวเอง เราจึงเห็นทรงกลมท้องฟ้าเคลื่อนรอบเรา วัตถุต่างๆ บนท้องฟ้าจึงปรากฏขึ้นและตกแต่ล่ะพื้นที่บนโลกผู้คนจะสังเกตเห็นท้องฟ้าปรากฏแตกต่างกันไป ซึ่งชิ้นงานนี้ได้ปรับทรงกลมท้องฟ้าไว้สำหรับจัดแสดงที่นี่แล้ว

วิธีเล่น

1 หมุนปุ่มเพื่อปรับตำแหน่งดวงอาทิตย์ไห้ตรงกับวันที่จริง

2 หมุนทรงกลมท้องฟ้าไห้ท้องฟ้าเคลื่อนจากตะวันออกไปตะวันตก

3 สังเกตการ ขึ้น – ตก ของดวงอาทิตย์ และดวงดาว

จัดเรียงข้อมูลโดย

นายเพาซัน ดีแม

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษายะลา