สถานที่ท่องเที่ยว

ประวัติของอ่างเก็บน้ำแม่มอก ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงมอก ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร จากปากทางแยกที่อำเภอเถิน เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในโครงการพระราชดำริ มีเนื้อที่ 10,000 ไร่ กว้าง 2 กิโลเมตร สันเขื่อนยาว 1.9 กิโลเมตร บรรยากาศเป็นธรรมชาติร่มรื่นเขียวชอุ่มด้วยต้นไม้ตลอดทาง อ่างเก็บน้ำแม่มอกเป็นเขื่อนทำนบดินส่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคแก่อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัยและอำเภอเถิน บริเวณอ่างเก็บน้ำฯ มีบ้านพักรับรองไว้บริการนักท่องเที่ยว

ผู้สนใจติดต่อ โครงการชลประทานลำปาง โทร. 0 5422 7211-2 หรือ สำนักงานจังหวัดลำปาง โทร. 054265014 โทรสาร.0 5426 5070

ข้อมูลเพิ่มเติม:การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานลำปาง โทร. 054-222-214

https://www.facebook.com/lampang.tourism/

อ่างเก็บน้ำแม่มอก - YouTube.MP4

โครงการอ่างเก็บน้ำแม่มอก

หมู่ที่ 7 ตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

ที่ตั้งพิกัด 17.3201,99.4518

สภาพทั่วไป

โครงการ อ่างเก็บน้ำแม่มอกมีบริเวณหัวงานตั้งอยู่ในเขต อำเภอเถินจังหวัดลำปาง แต่ พื้นที่นาท้ายอ่างเก็บน้ำแม่มอก ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย

สภาพภูมิศาสตร์

อำเภอทุ่ง เสลี่ยม อยู่ทางทิศตะวันตกช่วงตอนบนของตัวจังหวัดสุโขทัย ที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอทุ่งเสลี่ยมอยู่ที่พิกัด 47 QNV 598148 ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งเสลี่ยม อยู่ห่างจากจังหวัดสุโขทัย 68 กิโลเมตร มีพื้นที่ 543 ตารางกิโลเมตรแยกเป็นพื้นที่ทางการเกษตรประมาณ 352 ตารางกิโลเมตร

อานาเขตทิศเหนือติดต่อกับ อำเภอศรีสัชนาลัยทิศใต้ติดต่อกับอำเภอศรีสำโรง อำเภอบ้านด่านลานหอย ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอสวรรคโลก ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

สภาพภูมิอากาศ

สภาพภูมิ อากาศโดยทั่วไป ฤดูหนาวค่อนข้างหนาว ฤดูฝนมีฝนตกชุก ความแตกต่างของอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 13.6-37.2 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1,075.60 มิลลิเมตร จำนวนวันที่ฝนตกเฉลี่ย ทั้งปีประมาณ 61.60 วันอัตราการระเหยเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 1,212.00 มิลลิเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าโปร่ง มีภูเขาอยู่บ้างทางทิศตะวันตก พื้นที่สองฝั่งของลุ่มน้ำแม่มอกเป็นพื้นที่นา

สภาพการใช้ที่ดิน

อำเภอทุ่ง เสลี่ยมมีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 339,375 ไร่สามารถจำแนกออกเป็นที่นา ได้ประมาณ 42,000 ไร่ พืชไร่ประมาณ 170,400 ไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้นประมาณ 6,430 ไร่ พืชผักประมาณ 846 ไร่ ไม้ดอกไม้ประดับ 30 ไร่ รวมเป็นพื้นที่ใช้ทำการเกษตร 219,706 ไร่

การประกอบอาชีพ

ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตอำเภอประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร เช่น ปลูกข้าว ข้าวโพด ถั่ว ฝ้าย ฯลฯ ประมาณ ;80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด

การคมนาคม

การคมนาคม ติดต่อระหว่างอำเภอทุ่งเสลี่ยมกับจังหวัดสุโขทัย สามารถไปมาสะดวกโดยอาศัยทางรถยนต์ สภาพถนนทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนการติดต่อระหว่างอำเภอกับตำบล หรือหมู่บ้านโดยทางรถยนต์เป็นถนนดินปนลูกรัง รวมระยะทางประมาณ 250 กิโลเมตร โดยมีบางแห่ง สามารถใช้ได้บางฤดู เช่น ในฤดูร้อน และฤดูหนาว ทางหลวงจังหวัดมี 1 สาย คือสายสวรรคโลก-ทุ่งเสลี่ยม-เถิน ความยาวตลอดเส้นทาง 91 กิโลเมตร ส่วนระยะทางระหว่างสวรรคโลก-ทุ่งเสลี่ยม 31 กิโลเมตร

ที่ตั้งลักษณะลำน้ำ

อ่างเก็บ น้ำแม่มอกตั้งอยู่ประมาณเส้นรุ้งที่ 17?-18'51 เหนือเส้นแวงที่99?-25'36 ตะวันออกตั้งอยู่ห่างจากบ้านแม่พุไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 15 กิโลเมตร การเดินทางไปยังจดที่ตั้งอ่างเก็บน้ำแม่มอกสามารถเดินทางโดยรถยนต์จากเส้น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1048 ระหว่างเถิน-ทุ่งเสลี่ยม-สวรรคโลก ซึ่งเป็นถนนราดยาง ลำน้ำแม่มอกเป็นลำน้ำขนาดใหญ่มีน้ำไหลตลอดป ีมีต้นน้ำเกิดจากดอยขุนแม่มอก และดอยแม่มอกในเขตด้านเหนือสุดของอำเภอเถิน ประกอบด้วยลำห้วยต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น ห้วยแม่ริมบริเวณต้นน้ำยังคงสภาพป่าลำน้ำ กว้างประมาณ35 เมตร ลึกประมาณ 2.5 เมตร ลักษณะลำน้ำค่อนข้างคดเคี้ยว การไหลของน้ำเป็นแบบ Trellis pattern และ Dendritic pattern พื้นที่รับน้ำลงอ่างฯ ได้ประมาณ 728 ตารางกิโลเมตร ความยาวลำน้ำจากต้นน้ำถึงจุดที่กำหนดและสร้างทำนบดินประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนลาดเทลำน้ำบริเวณที่ตั้งหัวงานประมาณ 1 : 900 ป่าไม้ที่อยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำเป็นป่าเบ็ญจพรรณ ซึ่งมีไม้สักขึ้นปนอยู่บ้าง

โครงการอ่างเก็บน้ำแม่มอก

ที่ตั้ง บ้านท่าเกวียน หมูที่ 7 ตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

จากแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ลำดับชุด L.7017 ระวาง 4843-1

พิกัด 47 QNV 453142 Latitude 17-18'-51' N. Longtitude 99.-25'-36' E.

พื้นที่รับน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำแม่มอก 728.00 ตร.เมตร ฝนเฉลี่ยต่อปี 1,075.60 มิลลิเมตร

จำนวนวันที่ฝนตกเฉลี่ยทั้งปี 61.60 วัน อัตราการระเหยเฉลี่ยต่อปี 1,212.00 มล.

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเฉลี่ย 118,000,000 ลบ.ม./ปี

ปริมาณน้ำนองสูงสุดในรอบ 100 ปี ประมาณ 1,490,000 ลบ.ม./ปี

ความจุอ่างที่ระดับ Dead Storage 15,900,000 ลบ.ม.

ความจุอ่างที่ระดับน้ำเก็บกัก 96,000,000 ลบ.ม. ความจุอ่างที่ระดับน้ำนองสูงสุด 42,000,000 ลบ.ม.

ความจุ Flood Surcharge 96,000,000 ลบ.ม. ระดับท้องน้ำประมาณ +107.40 ม.(รทก.)

ระดับ Dead Storage +120.00 ม.(รทก.) ระดับเก็บกัก +128.00 ม.(รทก.)

ระดับน้ำนองสูงสุด +130.50 ม.(รทก.) พื้นที่ผิวอ่างที่ระดับ Dead Storage 2,938 ไร่

พื้นที่ผิวอ่างที่ระดับน้ำเก็บกัก 10,025 ไร่ พื้นที่ผิวอ่างที่ระดับน้ำนองสูงสุด 11,750 ไร่

ทำนบดินเดิม ประเภท HOMOGENEOUS ระดับสันทำนบ +132.25 ม.(รทก.)

ความก้างสันทำนบ 8.00 ม. ความยาวสันทำนบ 1,925 ม. ส่วนสูงที่สุด 25.10 ม.

ลาดทำนบดิน ด้านเหนือน้ำ 1 : 3 ลาดทำนบดิน ด้านท้ายน้ำ 1 : 2.5

ส่วนกว้างที่สุดของฐานทำนบดินประมาณ 160 ม. Rip-Rap ด้านหน้า หนา 0.50 ม.

Bedding ด้านหน้า หนา 0.30 ม.

ทางระบายน้ำล้น (Spillway)

ชนิด Labyrinlh สันฝายยาว 45.00 ม. ระดับสัน Spillway +128.00 ม.(รทก.) ระดับน้ำนองสูงสุด+130.00 ม.(รทก.)

ระบายน้ำได้สูงสุดประมาณ (100ปี) 800 ลบ.ม./วินาที

ท่อส่งน้ำ River Outlet ประเภท Steel Liner Reinforced Concrete Conduit ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อ 1- 1.50 ม.

กำหนดให้ใช้ค่ามลภาระของโครงการนี้ 0.00023 ลบ.ม./วินาที/ไร่ ปริมาณน้ำไหลผ่านท่อรวม 13.80 ลบนาที.ม./วิ

ระดับธรณี River Outle +120.00 ม.(รทก.)

ระบบส่งน้ำ ส่งน้ำแบบ Gravity Flow ส่งน้ำออกจาก River Outle ไปตามลำน้ำเดิม

Canal Outle ฝั่งซ้าย ชนิด Steel Liner Reinforced Concrete Conduit ขนาด1- ? 0.60 ม ปริมาณไหลผ่านท่อรวม 1.708 ลบ.ม./วินาที

ระดับธรณีท่อ +120.00 ม.(รทก.)

Canal Outle ฝั่งขวา ชนิด Steel Liner Reinforced Concrete Conduit ขนาด 1- ? 0.60 ม

ปริมาณไหลผ่านท่อรวม 1.708 ลบ.ม./วินาที ระดับธรณีท่อ +120.00 ม.(รทก.)

พื้นที่รับประโยชน์ (Benefited Area) ในฤดูฝนเกณฑ์เฉลี่ย 42,500 ไร่ ในฤดูแล้ง 20,000 ไร่

ส่งน้ำให้การประปา อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ในฤดูแล้งระหว่าง เดือนธันวาคม-เมษายน 8,000 ลบ.ม./วัน ส่งน้ำให้การประปา อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัยตลอดทั้งปีวันละ 2,640 ลบ.ม./วัน

การดำเนินด้านส่งน้ำและบำรุงรักษา

ใน ปัจจุบันโครงการอ่างเก็บน้ำแม่มอกอยู่ในความรับผิดชอบของโครงการชลประทาน สุโขทัย เพื่อดำเนินการด้านการส่งน้ำและบำรุงรักษา โดยมอบให้ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการ และที่ทำการของฝ่ายดังกล่าวอยู่ที่บริเวณหัวงานของอ่างเก็บน้ำแม่มอกสามารถ ติดต่อประสานงานได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-5560-1054