สำหรับหมวกจากสาน วิถีชุมชนในจังหวัดตราดซึ่งเป็นวิถีชีวิตของบรรพบุรุษมาตั้งแต่สมัยโบราณการทำอุปกรณ์ไว้ใช้เองใน
การทำสวน ทำไร่ ทำนาโดยการทำจากสารได้ถูกสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นและบางพื้นที่ได้เลือนหายไปแล้ว แต่ก็ยังมียังมีผู้คนที่
ทำเป็นหลงเหลืออยู่แต่ก็น้อยมาก ซึ่งทำให้หลายๆพื้นที่จึงต้องอนุรักษ์เรื่องราวแบบนี้เอาไว้ อย่างเช่นชุมชนบ้านตรอกตะแคง
ที่ได้นำเรื่องราวเหล่านี้มารักษาแล้วมันสืบทอดให้กับคนรุ่นหลังหลังได้ทราบว่าพื้นเพเดิมวิถีเดิมที่บรรพบุรุษได้สร้างกันมาเป็นแบบนี้ การทำหมวกจากสานงอบของชุมชนบ้านตรอกตะแคง เป็นวิถีดั้งเดิมทำจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในชุมชนใช้ความรู้จากภูมิปัญญาและประสบการณ์จากการศึกษาดูงานมาร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาฝีมือเลยเกิดเรื่องราวคำว่า เระ เกิดขึ้นกับการเริ่มลงมือทำลองผิดลองถูกผลงานออกมาสวยบ้างไม่สวยบ้างส่งบ้าง ฝึกฝนทำกันมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นความถนัดกลายเป็นที่มาของการเริ่มต้น
ถ้าเอ่ยถึงเระเป็นที่รู้กันว่านั่นก็คือ งอบ นั้นเอง ใบแรกพี่เกิดจากพี่ ศิริน วงษ์สนั่นสังข์ คณะกรรมการ OTOP
บ้านตรอกตะแคงได้บอกว่าการเริ่มทำสิ่งที่ง่ายที่สุดก็คือ หมวกทรงกระทะ ซึ่งเป็นทรงพื้นฐานทั่วไปทำง่ายกว่า
ทรงอื่นๆ และทรงแหลมหรือว่าทรงเวียดนาม ทรงนี้เป็นทรงที่ทำยาก ส่วนทรงคล้ายทรงสมเด็จหรือว่าทรงสมเด็จนี้ เป็นทรงที่มีคนนิยมสั่งมากที่สุด


"เระ" มีไว้เพื่อบังบังแดด บังฝนบังแดด นอกจากนี้เระยังมีความทนต่อฝนและแดด ไม่มีการรั่วซึมเมื่อสวมใส่ ผู้สวมจะไม่เปียกเลยเพราะว่าใช้การแซมของเหล่านี้จะไม่ให้มีรูเลย แซมทุกอันทุกช่องไม่มีกันรั่วประโยชน์หลัก นอกจากสามารถคุมกันแดดกันได้แล้วยังใช้ได้นานหลายปีมีความคงทนทนแดดทนฝนเพราะเคลือบด้วยน้ำมันยาง จะมีอายุการใช้งานคนมากเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไปซึ่งทางกลุ่มก็จะพัฒนารูปแบบดัดแปลงให้มีความสวยงามและความแตกต่างโดยยึดหลักภูมิปัญญาของพื้นที่ที่ถูกสืบทอดมาให้เกิดประโยชน์

ขอบคุณเนื้อหาบทความจาก youtube รายการ รู้เรื่องเมืองตราดผู้เรียบเรียง/ภาพ โดย นางสาวพจณิชา อภิบาลศรี ครู กศน.ตำบลแสนตุ้ง