ศาสนสถาน “วัดธรรมาภิมุข”

การสร้างวัดแต่โบราณกาลเมื่อประชาชนมีจิตศรัทธาในพุทธศาสนา มักจะสร้างวัดขึ้นแล้วนิมนต์พระสงฆ์ไปพำนักอยู่อาศัยเพื่อบำเพ็ญกุศลประกอบสาสนกิจตามประเพณีสืบต่อกันมา ครั้นประชาขนมีจำนวนมากขึ้น การสร้างวัดก็มีจำนวนมากตามไปด้วย จึงมีกฎหมายเกี่ยวกับคณะสงฆ์ตราขึ้นเป็นฉบับแรก คือพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆไว้ การสร้างวัดนั้นต้องได้รับพระบรมราชานุญาตก่อน วัดได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างเช่นนี้ เรียกว่า ที่สำนักสงฆ์ เป็นวัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วเรียกว่า อาราม ถ้าเป็นวัดหลวงเรียกว่า พระอารามหลวง ถ้าเป็นวัดราษฎร์เรียกว่า อารามราษฎร์ ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พุทธศักราช ๒๔๘๔ ตราขึ้นเป็นฉบับที่สองใช้แทนฉบับแรก กฎหมายฉบับที่สองนี้ให้มีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ขั้นตอน วิธีการสร้างวัด และตั้งวัดไว้โดยให้คณะกรรมการอำเภอออกใบอนุญาตให้สร้างวัดแต่การสร้างวัดกรมการศาสนาจะเป็นผู้ออกหนังสืออนุญาต ส่วนการตั้งวัดยังคงให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ออกประกาศเช่นเดิม วัดธรรมาภิมุข ก็เช่นกันเป็นวัดในสังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ ณ บ้านทุ่งพีด ตำบลวังตะเคียน อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด จากเดิมเป็นพื้นที่ป่าทุ่งโล่ง เป็นพื้นที่ป่าไฟไหม้ทุกปีและเป็นห่างที่ไกลน้ำไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูก

จึงทำให้ไม่มีบ้านเรือนและผู้คนอาศัยอยู่ไม่มากเหมือนในปัจจุบันนี้ ในปีพ.ศ.๒๕๓๒ พระครูภาวนาปัจจันตเขต(เสรี) ได้เดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่เพื่อมาธุดงค์ปักกลด ณ บ้านทุ่งพีด ตำบลวังตะเคียน อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด และมีญาติโยมที่มีจิตศรัทธามอบพื้นที่ให้กับพระครูภาวนาปัจจันตเขต(เสรี)ต่อมาพระครูภาวนาปัจจันตเขต(เสรี)จึงได้เดินกลับไปจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาหลักสูตรพระอภิธรรมบัณฑิตต่อและได้มอบที่ดินนี้ให้กับสำนักพระวิปัสสนาจารย์แห่งประเทศไทย เพื่อใช้ในทางศาสนาต่อไปในปีพ.ศ.๒๕๓๓ สำนักพระวิปัสสนาจารย์แห่งประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงความสามารถของพระครูภาวนาปัจจันตเขต(เสรี)จึงแต่งตั้งพระครูภาวนาปัจจันตเขต(เสรี)เป็นผู้ดูแลที่ดินที่มอบให้กับสำนักพระวิปัสสนาจารย์แห่ประเทศไทยและให้กลับมา หมู่บ้านทุ่งพีด ตำบลวังตะเคียน อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด เพื่อสร้างศาสนสถานให้ ศาสนิกชนใช้ประกอบการบูชาในทางศาสนาและเป็นสถานที่บูชาสำหรับศาสนิกชนผู้มาเยือนและเป็นที่อยู่อาศัยของนักบวชเมื่อพระครูภาวนาปัจจันตเขต(เสรี) พร้อมพระบวชใหม่จำนวน ๕ รูป กลับมา ณ หมู่บ้านทุ่งพีด ตำบล วังตะเคียน อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ในปีพ.ศ.๒๕๓๓ ได้เดินทางกลับมาเพื่อจำพรรษาแต่เดิมเป็นเพียงที่พักสงฆ์และได้ดำเนินการขออนุญาต เพื่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์ มีชื่อว่า “สำนักวิปัสสนาธรรมมาภิมุข”บนพื้นที่ ๑๕ ไร่ และในปีพ.ศ.๒๕๓๘

ได้เลื่อนฐานะจากสำนักสงฆ์ เป็นวัดและมีชื่อว่า “วัดธรรมาภิมุข” มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ไว้สำหรับให้พระสงฆ์ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ประกอบด้วย เจดีย์ อุโบสถ ศาลา เป็นต้น บริเวณโดยรอบวัดธรรมาภิมุขมีพื้นที่กว้าง เหมาะสำหรับใช้ในกิจพิธีต่างๆ ดังนี้ ๑.เขตพุทธวาส เช่น พระเจดีย์ พระอุโบสถ ศาลากลางน้ำ ลานธรรม ๒. เขตสังฆาวาส เช่น กุฏิ ศาลาการเปรียญ ๓.เขตธรณีสงฆ์ พื้นที่สำหรับเอื้อประโยชน์ใช้สอยในเชิงสาธารณะประโยชน์ในลักษณะต่างๆของวัด เช่น สวนสมุนไพร แหล่งเรียนรู้ เป็นต้น ในปัจจุบันปีพ.ศ.๒๕๖๔ พระครูภาวนาปัจจันตเขต(เสรี)เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมาภิมุข ใช้เวลา ๓๑ ปี ที่ได้มุ่งมั่นพัฒนาให้เป็นวัดธรรมาภิมุขและด้วยแรงศรัทธาของญาติโยมผู้มีจิตใจช่วยกันบำรุง วัดธรรมาภิมุขเพื่อให้เกิดความสวยงานและท่านมีความตระหนักดีว่า วัดเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดวิชาความรู้ ศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ เป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน ใช้เป็นสถานศึกษาซึ่งคนในชุมชนส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนธรรมในวัด และพระก็มีหน้าที่เผยแผ่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้ปฏิบัติตนเป็นคนดีและมีศีลธรรมเป็นสาวกของพระศาสดาช่วยแนะนำสั่งสอนด้านศีลธรรม และนำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาปฎิบัติในชีวิตประจำวันเพื่อทำให้ชีวิตพ้นทุกข์ ดังนั้นและยังจะมุ่งมั่นพัฒนาศาสนาสถานแบบนี้ต่อไป

ผู้ให้ข้อมูล พระครูภาวนาปัจจันตเขต(เสรี) เจ้าอาวาสวัดธรรมาภิมุข

ผู้เรียบเรียง นางสาวณฐมน หกยอด