อาชีพตำบลท่าโสม

เลี้ยงหอยนางรม

ทำสวนยางพารา

ชุมชนท่าโสม (อาชีพ)

ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้วที่มาของชื่อชุมชนตามคำบอกเล่ามี 2 แบบ คือบางคนก็มีความคิดว่าบ้านท่าโสมนี้อาจจะแปลว่าพระจันทร์แต่บางคนมีความคิดว่าบ้านท่าโสมน่าจะเป็นที่มาของหวายโสมมากกว่าเพราะมีเป็นจำนวนมากสาเหตุที่มาตั้งชุมชนทีนี้เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร คืออยูติดับแม่น้ำ มีการค้าขาย โดยใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทางจากหลักฐานทีพออ้างอิงได้และคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในชุมชน พอสรุปได้วา ต้นตระกูลของชาวตำบลท่าโสมส่วนหนึ่งเป็นคนจีนมาจากเมืองจีนมาติดต่อค้าขายกับคนในชุมชนและอีกส่วนหนึ่งเป็นคนพืนเมืองทีอาศัยอยู่ก่อน ปัจจุบันมีการมีการอพยพของคน นอกพื้นทีทางภาคอีสานและคนในหมู่บ้านอื่นเข้ามาทำมาหากินในหมู่บ้าน เช่นการทำสวนยางพารา การทำไร่สับปะรด การทำสวนผลไม้เป็นต้น ความเป็น อยู่ของคนในชุมชนเป็นลักษณะของเครือข่ายชุมชนในอดีตมีลักษณะเป็นแบบเครือญาติมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำงานลักษณะเป็นการเอาแรงกันทำงานให้แล้วเสร็จเมื่อช่วยเสร็จแล้วก็ต้องมีการใช้แรงกันเป็นการตอบแทน การลง แขกทำนา การทำสวน การช่วยเหลืองานบุญต่าง ๆ มีการแบ่งปันสิงของซึ่งกันและกัน ปัจจุบันมีการสร้างเครือข่ายในรูปแบบคณะกรรมการ องค์กรและกลุ่มต่างเกิดขึ้นในชุมชนมากมายหลายกลุ่ม แต่ระบบเครือญาติก็ยังคงอยู่คู่กับชาวชุมชนตำบลท่าโสม (ศิลา สรวมชีพ. สัมภาษณ์. 2557)

ในอดีตชุมชนตำบลท่าโสมสามารถพึงพาตนเองได้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ระบบเครือญาติควบคู่กบทรัพยากรทีอุดมสมบูรณ์ของชุมชนคนในชุมชนอยู่กันแบบพึงพาอาศัยกันกินแบ่งกันใช้แลกเปลี่ยนทรัพยากรซึ่งกันและกันการผลิตเป็นการผลิตเพื่อบริโภคเสียเป็นส่วนใหญ่ และในส่วนทีเหลือจากการบริโภคก็นำไปแจกจ่ายให้กบญาติพี่น้อง ดังนั้น เห็นได้ว่าระบบเครือญาติ มีผลต่อการพึ่งตนเองของคนในตำบลวัดในอดีตเป็นแหล่งสนับสนุนและเรียนรู้ของคนในชุมชนเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนชุมชนให้มีความรักใคร่กลมเกลียวกนมีความสามัคคีมีอัธยาศัยทีดี เอื้อเฟื้อเผื่อแพร่ซึ่งกันและกัน เป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางศาสนา ด้านอาชีพ ศิลปะและวัฒนธรรม ด้านแหล่ง เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ด้านลานวัฒนธรรม ศูนย์ความรู้และห้องสมุด ชุมชน (ศิลา สรวมชีพ. สัมภาษณ์. 2557)

ถนนที่ตัดผ่านเข้ามาในตำบลท่าโสมระหวางปี พ.ศ. 2504 - 2507 เป็นถนนดินลูกรังและ ต่อมาได้พัฒนาเป็นถนนลาดยางซึ่งเป็นเส้นทางในการคมนาคมของคนในตำบลเพื่อติดต่อกับหมู่บ้าน หรือตำบลใกล้เคียงและขนส่งสินค้าทางการเกษตร ไฟฟ้าเริมเข้ามาในปี พ.ศ. 2516 ส่งผลให้ชุมชน ได้รับความสะดวกสบายมีสิงอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ตู้เย็น พัดลม ทีวี 41 เป็นต้น มีการใช้ระบบไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตร หน่วยงานราชการทีเข้ามาในตำบลท่าโสม เมือปีพ.ศ. 2505คือสถานีอนามัย ซึ่งเป็นสถานีอนามัยหลังแรกทีก่อสร้างโดยพระครูคุณสารพิสุทธิ (สะอาด มนัสสนิท) ร่วมกับชาวบ้านท่าโสม และต่อมาในปี 2540จึงได้จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้น (พระครูวิมลโสมนันท์. สัมภาษณ์. 2557)

ในอดีตตำบลท่าโสมมีการค้าขายกันทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ โดยเรือสำเภา ประมาณปี พ.ศ.2495 โดยผ่านแม่น้ำเวฬุ ไปยังอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เมือมีเรือสินค้า เข้ามาขายคนในชุมชนจะรู้ได้โดยการเป่าหวูดของพ่อค้าเพื่อแสดงว่าสินค้ามาแล้ว (หวูดในทีนี้หมายถึง เครืองเป่าที่ทำจากเขาควาย) และต่อมาในปี 2514 ก็มีสินค้าฟุ่มเฟือยเข้ามายังชุมชนได้แก่บริษัทซิงเกอร์ เข้ามาขายจักรเย็บผ้า ทีวี ตู้เย็น ซึงขายเป็นเงินผ่อน เข้ามาเป็นเจ้าแรก มาเพื่อการลงทุน ส่งเสริม อาชีพหรือขยายกิจการ โดยมีแหล่งเงินทุนจากธนาคาร กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ กองทุนเงินล้าน สหกรณ์เครดิตยูเนียน เป็นต้น

(ศิลา สรวมชีพ. สัมภาษณ์. 2557)

ผู้ให้ข้อมูล ศิลา สรวมชีพ

ผู้เรียบเรียง นางสาวประภาพร มะลิย้อย