ศาลเจ้าแม่ทับทิม เกาะช้าง


ศาลเจ้าประทับ องค์เจ้าแม่ทับทิม เกาะช้าง จังหวัดตราด เจ้าแม่ทับทิม ได้ถูกก่อตั้งขึ้น โดยชาวจีนที่นั่งเรือโดยสารข้ามทะเลจากประเทศจีน อพยพมายังประเทศไทย เพื่อหนีความยากลำบากและหนีตาย จากการรุกรานของราชวงศ์ชิงที่ยึดอำนาจและขับไล่ ชาวราชวงศ์หมิง ชาวจีนที่นั่งเรืออพยพมา เคารพนับถือ และบูชา องค์เจ้าแม่ทับทิม โดยชาวจีนเชื่อว่า องค์เจ้าแม่ทับทิมเจ้าแห่งโพ้นทะเล หรือเจ้าแม่แห่งสายน้ำ ท่านคอยปกป้องชาวเรือ คุ้มครองภัยอันตรายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทะเลให้เดินทางโดยเรือโดยสวัสดิภาพ และทั้งท่านเจ้าแม่ทับทิมยังดูแลพื้นที่บริเวณเกาะที่อยู่อาศัยชายฝั่งทะเล ให้ลูกหลานปลอดภัย อีกด้วย จากวัตถุโบราณ ‘ป้าย บรรพชน อักษรจีน โบราณ’ และ ‘ชุดเครื่องไม้เก่าแก่ แกะสลักลายจีน’ ที่ประทับ ณ ศาลเจ้าแม่ทับทิม ได้รับการอนุรักษ์ไว้ จากบรรพบุรุษชาวจีน และชาวไทยเชื้อสายจีน ที่สืบทอดต่อกันมา ตั้งแต่ ครั้งสมัยราชวงศ์ชิงได้ขึ้นครองราชย์ ไม่นาน และขับไล่ราชวงศ์หมิง ออกจากประเทศจีน ประชาชนชาวจีนในราชวงศ์หมิงจำนวนมาก ได้อพยพและลี้ภัยไปประเทศต่าง ๆ และเกาะช้าง แห่งนี้ได้เป็นหนึ่งในสถานที่ ชาวจีน ได้มาตั้งรกราก อพยพมาอาศัยอยู่ตั้งแต่ต้นสมัย ราชวงศ์ชิง ซึ่งเมื่อเทียบได้ ก็ราวประมาณ 374 ปี มาแล้ว

ป้ายบรรพชน ณ ศาลเจ้าแม่ทับทิมเกาะช้าง แห่งนี้ คือ ป้ายไม้อักษรสลักจีน และไม้ลวดลายที่ถูกแกะสลักอย่างประณีต บ่งบอกถึง ตัวแทนสัญลักษณ์ บรรพบุรุษชาวจีน ในราชวงศ์หมิงที่ได้อพยพมายังเกาะช้าง ประเทศไทย แห่งนี้ ครั้นในยุคสมัยที่ ราชวงศ์ชิง ขึ้นพิชิตประเทศจีนสำเร็จ ราชวงศ์ หมิง พ.ศ.1991 – พ.ศ.2187 (ค.ศ.1368-1644) สู่ ราชวงศ์ ชิง พ.ศ.2187 - .ศ.2455 (ค.ศ.1644-1912)

“ป้ายบรรพชน” โดยทั่วไป ป้ายบรรพชนในประเทศจีน จะถูกสร้างขึ้น เพื่อไว้ ณ ศาลเจ้าบรรพชนที่คนในตระกูลแซ่เดียวกันใช้ประกอบพิธีกรรมร่วมกัน มักอยู่ในหมู่บ้านหรือตำบลเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นญาติกัน ทั้งใกล้ชิด และ สายห่าง แต่ก็ใช้แซ่เดียวกัน ดังนั้นไม่ว่าบุตรหลานจะไปอาศัยอยู่ท้องถิ่นใดในประเทศจีนหรือต่างประเทศ พวกเขาก็ยังระลึกถึงตำบลบ้านเกิดของตน พร้อมทั้งบอกกล่าวให้ลูกหลานได้ทราบว่า ตระกูลของตนอยู่ตำบลใด จังหวัดใด เมื่อถึงเทศกาลสำคัญ ต่างกลับไปเซ่นไหว้บรรพชนและเยี่ยมญาติ การที่มีป้ายบรรพชน และไม้แกะสลักประดับ คงถูกเก็บรักษาให้ถึงปัจจุบันนั้น เชื่อกันว่า ชาวจีนได้นำป้ายบรรพชนและไม้แกะสลักนี้ มาจากเมืองจีนด้วย เพื่อแสดงถึงแซ่ตระกูลและถิ่นฐานที่มาของตน

ผู้เขียน นางสาวพรกมล ขนรกุล

ภาพโดย นางสาวพรกมล ขนรกุล