สระแก้ว ตั้งอยู่ใน ต.โคกปีบ อยู่นอกคูเมืองทางทิศใต้ ห่างออกมาประมาณ 100 เมตร ลักษณะของสระแก้วเป็นสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่ขุดลงไปในชั้นศิลาแลงธรรมชาติ ขนาด 18*18 เมตร ทางลงสระอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ที่ขอบสระของสระแก้วทางด้านทิศเหนือมีการตัดศิลาแลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยื่นเข้ามาในสระ มีบันไดทางลงด้านข้างทั้งสองข้าง และมีร่องรอยของหลุมเสา ซึ่งทำให้สันนิษฐานได้ว่าบริเวณนี้เดิมอาจมีพลับพลาที่สร้างด้วยไม้อยู่ ที่ผนังขอบสระแก้วมีภาพแกะสลักนูนต่ำเป็นสัญลักษณ์ และรูปสัตว์อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมได้แก่ ภาพช้าง สิงห์ มกร และงู จำนวน 29 กรอบภาพ มีรูปสัตว์จำนวน 45 ตัว ได้แก่ รูปช้าง 24 รูปสิงห์ 11 รูปมกร 8 รูปหมู 1 และรูปกินรี 1 นอกจากนี้ยังมีรูปงูพันหม้อน้ำระหว่างช้าง 2 ช้าง รูปมกรและหงส์เดินเรียงกันเป็นแถวเหนือกรอบรูป

อำเภอศรีมโหสถ เดิมคือกิ่ง อ.โคกปีบ ของ อ.ศรีมหาโพธิ หลังจากนั้นกิ่ง อ.โคกปีบ ได้รับการยกฐานะเป็น อ.โคกปีบ และเปลี่ยนชื่อจาก อ.โคกปีบเป็น อ.ศรีมโหสถในปี พ.ศ. 2536 โบราณสถานของอำเภอจึงเรียกชื่อ ตามชื่ออำเภอคือ “เมืองโบราณศรีมโหสถ” โดยเมืองโบราณศรีมโหสถนี้อยู่ห่างจากตัวอำเภอศรีมโหสถประมาณ 20 กม.


จากการขุดค้นเมืองโบราณศรีมโหสถนี้ พบว่าลักษณะของเมืองโบราณนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมขอบข้างทั้งสี่มน มีคันดินและคูน้ำล้อมรอบ พื้นที่ภายในเมืองโบราณศรีมโหสถมีขนาดใหญ่และกว้างขวาง ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถานต่าง ๆ เช่น หมู่เทวาลัย เจดีย์รูปกลมเหมือนโถคว่ำสมัยทวารวดี เทวาลัยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งมีอายุอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 6-11 และสันนิษฐานว่าเมือง

โบราณศรีมโหสถนั้นเป็นเมืองในยุคสมัยทวารวดี เนื่องจากมีการขุดค้นพบเทวรูป ศิวลึงค์ และเทวาลัย

"สระแก้ว" ตั้งอยู่ใน ต.โคกปีบ อยู่นอกคูเมืองทางทิศใต้ ห่างออกมาประมาณ 100 เมตร ลักษณะของสระแก้วเป็นสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่ขุดลงไปในชั้นศิลาแลงธรรมชาติ ขนาด 18*18 เมตร ทางลงสระอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ที่ขอบสระของสระแก้วทางด้านทิศเหนือมีการตัดศิลาแลงเป็นรูปเหลี่ยมผืนผ้า ยื่นเข้ามาในสระ มีบันไดทางลงด้านข้างทั้งสองข้าง และมีร่องรอยของหลุมเสา ซึ่งทำให้สันนิษฐานได้ว่าบริเวณนี้เดิมอาจมีพลับพลาที่สร้างด้วยไม้อยู่ ที่ผนังขอบสระแก้วมีภาพแกะสลักนูนต่ำเป็นสัญลักษณ์ และรูปสัตว์อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมได้แก่ ภาพช้าง สิงห์ มกร และงู จำนวน 29 กรอบภาพ มีรูปสัตว์จำนวน 45 ตัว ได้แก่ รูปช้าง 24 รูปสิงห์ 11 รูปมกร 8 รูปหมู 1 และรูปกินรี 1 นอกจากนี้ยังมีรูปงูพันหม้อน้ำระหว่างช้าง 2 ช้าง รูปมกรและหงส์เดินเรียงกันเป็นแถวเหนือกรอบรูป


รูป "ช้าง" นั้น บางครั้งเป็นรูปช้างช้างเดียวอยู่ในกรอบแสดงอิริยาบถต่าง ๆ เช่นยืน เดิน นั่งคุกเข่า หรือจะเป็นรูปช้างหลายช้างแสดงอาการชนกัน หรือเดินเรียงกันเป็นต้น

รูป"สิงห์" บนขอบสระแก้วนั้นมักจะเป็นรูปสิงห์เดี่ยวอยู่ในกรอบ จะแสดงอาการต่าง ๆ เช่นเผ่น หรือกระโจน

รูป "มกร" นั้นจะมีลักษณะแตกต่างกัน เช่นมกรมีงวงสั้น งวงยาว ตัวมกรมีเกล็ดคล้ายจระเข้ บางมกรมีลำตัวยาวคล้ายงู บางมกรมีเขา มีหางคล้ายปลา หรือมีหน้าคล้ายสิงห์ก็มีสำหรับรูป "หมู" ที่สระแก้วนั้นมีเพียงรูปเดียว ลักษณะคล้ายหมูป่า ยืนย่อขาหลัง แหงนหน้าขึ้น หางม้วน

ส่วนรูป "งู" นั้น เหมือนงูธรรมชาติแผ่พังพานหันหน้าไปทางสระ

สันนิษฐานว่า "โบราณสถานสระแก้ว" มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 เชื่อว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรืออาจเป็นพิธีกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากภาพสัตว์และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนขอบสระ รูปช้าง สิงห์ มกร คชลักษมี หรือปูรณกุมภะ ล้วนแต่เป็นสิ่งมงคลในสังคมเกษตรกรรมทั้งสิ้น กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนโบราณสถานสระแก้วไว้เมื่อ 8 มีนาคม 2478


ลักษณะเด่น

สำหรับ "สระขวัญ" เป็นสระน้ำขนาดกลางที่ขุดลงไปบนพื้นศิลาแลงธรรมชาติ

- สระขวัญ สระขนาดกลางที่ถูกขุดลึกลงไปบนพื้นศิลาแลงธรรมชาติ

- สระแก้วเป็นสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่ขุดลงไปในชั้นศิลาแลงธรรมชาติ ขนาด 18*18 เมตร ทางลงสระอยู่ทางด้านทิศตะวันตก
ที่ขอบสระของสระแก้วทางด้านทิศเหนือมีการตัดศิลาแลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายื่นเข้ามาในสระ มีบันไดทางลงด้านข้างทั้งสองข้าง และมีร่องรอยของหลุมเสา


วันหยุดยาวมาเที่ยวชมเมืองศรีมโหสถด้วยกันนะคะ