เลี้ยงไก่พื้นบ้าน

อาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

ไก่พื้นเมืองหรือไก่พื้นบ้าน ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป

1. ข้อดีของไก่พื้นบ้าน

1.1 หาอาหารเก่ง สามารถเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติได้ ทำให้ประหยัด ค่าอาหารได้มาก

1.2 ทนต่อสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี

1.3 ทนต่อโรคพยาธิได้ดีกว่าไก่พันธุ์อื่น ๆ

1.4 มีความสามารถในการเลี้ยงลูกได้เก่ง

1.5 เนื้อของไก่พื้นบ้านมีรสชาติถูกปากคนไทยมากกว่าเนื้อของไก่ที่ผลิต เป็นอาหารโดยเฉพาะ

2. ข้อเสียของไก่พื้นบ้าน

2.1 โตช้า ใช้เวลาเลี้ยงนานกว่าไก่ทางการค้ามาก

2.2 ให้ไข่น้อยปีหนึ่ง ๆ ให้ไข่เฉลี่ยประมาณ 40-50 ฟองต่อปี โดยจะให้ ไข่เป็น ชุด ๆ ละ 7 - 15 ฟอง

2 3 เมื่อไข่ครบชุดแล้วไก่พื้นบ้านมีนิสัยชอบฟักไข่ โดยจะฟักไข่ประมาณ 21 วัน ไข่จะออกเป็นลูกเจี๊ยบ และจะเลี้ยงลูกเจี๊ยบต่อไปอีกประมาณ 2 เดือน จึงจะเริ่มกลับมาให้ไข่ใหม่อีก

ไก่พื้นบ้านที่เลี้ยงกันอยูในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันออกไปในเรื่องของพันธุ์ และสายพันธุ์ตามสภาพท้องที่ต่าง า แต่อย่างไรก็ดีมักจะมีวัตถุประสงค์การเลี้ยงที่ เหมือน ๆ กันคือ เลี้ยงเพื่อเอาไข่และเนื้อ โดยปล่อยให้ไก่เหล่านั้นหาอาหารกินเอง ตามธรรมชาติ มีการเสริมอาหารให้บ้างเล็กน้อยไก่พื้นบ้านเหล่านี้มีสีต่างๆ กัน แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากและตลาดต้องการคือ ไก่ที่มีผิวหนังสีเหลืองและสีขนดำ

เรือนโรงไก่สามารถทำเป็นเเบบง่าย ๆ ได้ โดยอาศัยวัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่หรือไม้รวกเป็นต้น ขนาดของโรงเรือนก็ขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ที่จะ เลี้ยง และขี้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ใต้ถุนบ้านหรือ บริเวณลานบ้าน เกษตรกรบางราย สร้างเรือนโรงดังกล่าวไว้ส่าหรับเลี้ยงไก่ แต่ก็มีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ยังเลี้ยงโดย การปล่อยให้ไก่เกาะคอนนอนตามใต้ถุนบ้าน หรือตามต้นไม้ ซึ่งการเลี้ยงเช่นนี้ทำให้ การดูแลรักษาทำได้ลำบาก ก่อให้เกิดความสูญเสียมากพอสมควร

การสร้างเรือนโรงไก่จะมีจุดประสงค์หลัก ๆ ดังนี้คือ

1.ใช้เป็นที่กกลูกไก่แทนแม่ไก่

2.ให้ใก่หลบพักผ่อนในช่วงกลางคืน

3.เป็นที่ให้อาหารและน้ำในช่วงภาวะอากาศแปรปราน เช่น ฝนตกหนัก

4.ใช้เป็นที่ขังไก่เพื่อทำวัคซีน

5.ใช้เป็นที่ขังไก่เพื่อให้ยาหรือยาปฎิชีวนะป้องกันรักษาโรค

การให้อาหารไก่พื้นบ้านมีดังต่อไปนี้

1. หัวอาหารเพื่อเอามาผสมกับอาหารที่ผู้เลี้ยงมีอยู่เช่น ผสมกับปลายข้าว หรือรำเป็นต้น อาหารผสมนี้ใช้เลี้ยงไก่โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่เล็ก จะทำให้ไก่ที่เลี้ยงโตเร็วและแข็งแรง

2. การใช้เศษอาหารมาเลี้ยงไก่

3. เสริมเปลือกหอยป่นในอาหารที่ให้ไก่กินจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเปลือกไข่บางและปัญหาการจิกกินไข่ของแม่ไก่

4. เศษใบพืชต่าง ๆ เช่น ใบปอ ใบมัน เป็นต้น นำมาสับให้ไก่กินจะทำให้ไก่ได้รับไวตามินและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น

5. การใช้แสงไฟล่อแมลงในตอนกลางคืน นำแมลงนั้นมาเป็นอาหารไก่จะทำให้ไก่ได้อาหารโปรตีนอีกทางหนึ่งนอกจากนี้ยังเป็นการช่วยทำลายแมลงศัตรูพืชอีกด้วย

6. ภาชนะสำหรับใส่อาหารและน้ำโดยเฉพาะ โดยทำจากวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ เช่นยางรถยนต์ หรือไม้ไผ่

7. สำหรับอาหารลูกไก่ ควรเป็นอาหารที่ละเอียด ย่อยง่าย และให้ทีละน้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบการย่อยอาหารของลูกไก่ต้องทำงานหนักเกินไป

8. ในช่วงการให้ไข่และฟักไข่ของแม่ไก่ ควรมีอาหารเสริมเป็นพิเศษสำหรับแม่ไก่ซึ่งจะช่วยให้แม่ไก่แข็งแรงไม่ทรุดโทรมเร็ว และไม่ต้องไปหากินไกล ๆ

9. ในระยะการกกลูกไก่ในคอกนั้น จำเป็นต้องซื้ออาหารสูตรผสม (อาหารไก่เล็ก) ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมาให้ลูกไก่กิน ดังนั้นจึงควรหาซื้ออาหารสูตรผสมที่มีโปรตีนเมื่อพ้นระยะการกกแล้วในช่วงเวลากลางวันก็สามารถปล่อยให้ไก่ออกหาอาหารตามธรรมชาติบ้าง ในช่วงก่อนค่ำก็ไล่ไก่เข้าคอกและควรให้อาหารสูตรสำเร็จเสริมให้ไก่ หรือจะให้เศษอาหารที่เหลือ หรือพวกปลายข้าว รำข้าว ก็ได้

10. ในกรณีที่เลี้ยงไก่จำนวนมาก สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือแหล่งอาหารตามธรรมชาติว่ามีเพียงพอต่อจำนวนไก่หรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอก็ควรซื้ออาหารสูตรผสมให้กินเสริมด้วย

แหล่งข้อมูล

ข้อมูลจาก Wonder Man

นางเกตุศิริ บุญม่วง 102 หมู่ 11 ตำบลทัพเสด็จ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว