เลี้ยงกบกระชัง
อาชีพชุมชน
การเลี้ยงกบในกระชังบก
กบนา เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ใช้เวลาน้อย ดูแลรักษาค่อนข้างง่าย และจำหน่ายได้ราคากบนาจึงเป็นผลผลิตที่เกษตรกรของไทยควรพิจารณาเลี้ยงเพื่อจ้าหน่ายให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันกบนาในธรรมชาติมีปริมาณลดน้อยลงอย่างมาก เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยถูกเปลี่ยนแปลงจากมนุษย์กบนาถ้าเลี้ยงอย่างถูกต้องตามวิธีการจะใช้เวลา เลี้ยงเพียง 4 – 5 เดือน จะได้กบขนาด 4 – 5 ตัว/กิโลกรัม กบนาที่มีความเจริญเติบโตเร็ว โดยมีอัตราการ แลกเปลี่ยนอาหาร 3 : 4 กิโลกรัม ได้เนื้อกบประมาณ 1 กิโลกรัม กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย และส่วนที่เห็นได้ชัดคือกบตัวผู้เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นมีกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถว ๆ มุมปากล่างทั้งสองข้าง ในช่วงฤดูผสมพันธุ์กบตัวผู้จะเป็นผู้ส่ง เสียงร้อง และในขณะที่ร้องนั้นส่วนของกล่องเสียงจะพองโตและใส ส่วนตัวเมียนั้นจะมองไม่เห็นส่วนของกล่องเสียง กบตัวเมียจะร้องเช่นกัน
แต่เสียงออกเบาถ้าอยู่ในช่วงผสมพันธุ์กบตัวเมียที่ท้องแก่จะสังเกตเห็นส่วนของท้องบวมและใหญ่กว่าปกติขณะเดียวกันกบตัวผู้จะส่งเสียงร้องบ่อยครั้ง แต่ถึงอย่างไรก็ตามสีของกบจะเปลี่ยนแปลงไปตาม สภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
วัตถุประสงค์ในการเลี้ยงปลากบในกระชังบก
1. เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย
2. ลงทุนน้อย ดูแลรักษาง่าย
3. ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงไม่นาน
ข้อดีของการเลี้ยงปลากบในกระชังบก
1. ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย และสามารถเลี้ยงได้ทุกพื้นที่
2. การก่อสร้างบ่อเลี้ยงง่าย สะดวกและรวดเร็ว
3. ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น แต่ละรุ่นใช้เวลาเลี้ยงเพียง 90 – 120 วัน
4. สามารถเลี้ยงและดูแลรักษาได้สะดวก นอกจากจับมาบริโภคในครัวเรือนแล้วส่วนที่เหลือก็นำไปขาย เป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว
การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
1. ควรอยู่ใกล้บ้าน สะดวกต่อการดูแลรักษา และป้องกันศัตรูได้
2. เป็นที่สูง ที่ดอน เพื่อป้องกันน้ำท่วม
3. พื้นที่ราบเสมอ สะดวกต่อการวางกระชัง และขึงมุมทั้งสี่มุมของกระซังให้ตึง
4. ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกในการถ่ายเทน้ำ
5. ห่างจากถนน เพื่อป้องกันเสียงรบกวน กบจะได้พักผ่อนได้เต็มที่และโตเร็ว
วิธีการเลี้ยง
1. เมื่อได้รับกระซังเลี้ยงกบแล้วควรน้้าไปล้างด้วยน้ำประมาณ 1 - 2 รอบ เพื่อเป็นการทำความ สะอาด และลดกลิ่นพลาสติก
2. การวางกระชังต้องวางบนพื้นราบ และขึงมุมทั้งสี่มุมของกระชังให้ตึง
3. ควรเติมน้ำสะอาด หากเป็นน้ำประป าควรเป็นน้ำประปาที่พักน้ำทำก่อนแล้ว เพื่อลดฤทธิ์ของ คลอรีน ให้มีระดับความสูงของ น้ำประมาณ 5 เซนติเมตร หรือระดับคอของกบ และควรใส่วัสดุที่ลอยน้ำได้เซ่น เพิ่มพืชน้ำจำพวก ผักตบชวา เพื่อให้เป็นที่ ยึดเกาะและที่หลบซ่อนตัวของกบได้
4. การปล่อยกบลงเลี้ยงในกระซังควรปล่อยในช่วงเช้้าตรู่ หรือช่วงเย็น เนื่องจากอากาศไม่ร้อน เกินไป
การให้อาหาร
1. ควรให้อ้าห้ารกบสำเร็จรูปวันละ 2 ครั้ง เช้้า เย็น ในปริมาณที่กบกินอิ่ม สังเกตโดยกบกินหมดภายใน เวลา 20 นาทีโดยวันแรกที่ปล่อยกบไม่ต้อง ให้อาหาร
2. ควรปรับเพิ่มปริมาณอาหารทุก ๆ สัปดาห์เพื่อให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของกบ ทั้งนี้หาก อาหารที่ไต้รับหมด สามารถหาซื้ออาหารกบ เพิ่มเติมไต้ตามท้องตลาด
3. การเปลี่ยนถ่ายน้ำควรเปลี่ยนถ่ายน้ำเมื่อสังเกตว่าน้ำในกระซังมีความขุ่น มีกลิ่นเหม็น หรือเน่าเสีย หรืออาจเปลี่ยนน้ำทุก ๆ 10 วันก็ได้
4. หมั่นสังเกตสภาพของกบหากกบเป็นแผล ท้องบวม เบื่ออาหาร หรือ มีอาการผิดปกติให้ติดต่อ เจ้าหน้้าที่ของกรมประมง ทันทีเพื่อให้คำแนะนำ เกี่ยวกับการป้องกันรักษาโรค ผลผลิตและการเจริญเติบโต ปล่อยลูกกบอายุ 45 วัน จำนวน 700 ตัว ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 2 - 3 เดือน จะมีขนาด 5 - 6 ตัว/ กิโลกรัม อัตรารอดร้อยละ 70 คิดเป็นกบประมาณ 490 ตัว จะได้ ผลผลิตประมาณ 80 กิโลกรัม
แหล่งข้อมูล
ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสุรินทร์ สำนักงานประมงจังหวัดสุรินทร์
นายนิกร จุลชาติ 130 หมู่ 7 ตำบลทัพเสด็จ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว