สานแห

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การสานแหจากเส้นเอนตำบลทัพเสด็จ

การสานแห เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เริ่มมาจากสมัยก่อนนั้น ครอบครัวไทยเป็นครอบครัวเกษตรกรรม มีการทำมาหากินตามธรรมชาติ จับปลาโดยใช้เป็ด ยกยอ และใช้แหเป็นเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำ เพื่อนำมาประกอบเป็นอาหารการกิน เลี้ยงดูครอบครัว ซึ่ง นายสำเภา พิมพ์สุวรรณ์ ได้สืบทอดภูมิปัญญาการสานแห หรือที่เรียกว่าถักแห ก็ได้ มาจากบิดาและตา โดยเริ่มมีความสนใจการสานแหมาตั้งแต่วัยเด็ก และได้ลองผิดลองถูกเรื่อยมา รวมทั้งได้ศึกษาหาความรู้และเทคนิคใหม่ๆ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมามีความแข็งแรง และทนทานอีกด้วย

การสานแห มีความสัมพันธ์กับชุมชน คือ เนื่องจากนายสำเภา พิมพ์สุวรรณ์ ผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญานี้ เป็นผู้เชี่ยวชาญและมีการถ่ายทอดให้กับคนในชุมชน ซึ่งก็คือ คนในชุมชนเป็นผู้ผลิต เป็นผู้ขาย และคนในชุมชนก็มาเรียนรู้เทคนิค วิธีการสานแห โดยนายสำเภา พิมพ์สุวรรณ์ สอนให้กับผู้ที่สนใจที่เข้ามาเรียนโดยไม่ได้คิดค่าเล่าเรียนแต่อย่างใด

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1) ด้าย

2) ไม้ปา (ทำจากไม้ไผ่)

3) คัดชุน (ทำจากไม้ไผ่/พลาสติก)

4) ไฟแชค/ธูป

5) โซ่ (ลูกแห)

ขั้นตอนการผลิต

1) ขึ้นจอมแห โดยใช้เชือกด้ายเบอร์ 4 เบอร์ 6 หรือเบอร์ 9 ก็ได้

2) ถักแหขนาด 16 เสา (หรืออาจจะเรียกว่า 16 ขา) โดยในขั้นตอนนี้การถักจะใช้วิธีถักไปเรื่อยๆ โดยเวียนให้ครบ 2 รอบแล้วจึงขยายเพิ่มเสาละ 1 ช่อง หรือที่เรียกว่า 1 ตา ทำไปเรื่อยๆจนครบ 16 ขา โดยการถักแหนี้ มีหลายขนาด ถ้าต้องการแหขนาด 8 ศอก จะต้องหยุดขยายตาเมื่อถักไปจนถุง 8 ศอก ถ้าต้องการแหขนาด 9 ศอก จะต้องหยุดขยายตาเมื่อถักไปจนถุง 7 ศอก

3) เทคนิคการเย็บจะขึ้นอยู่การดึงและการพันด้าย

4) เมื่อได้ขนาดที่ต้องการแล้ว ให้ตัดลูกแห (โซ่ เบอร์ 13 ) ทั้งนี้การใส่ลูกแหจะขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าต้องการความหนัก เบา เท่าใด โดยลูกค้าสามารถกำหนดน้ำหนักเองได้

แหล่งข้อมูล

ข้อมูลจาก เว็ปไซต์ : Natthiraporn Thong-aoun

นายสำเภา พิมพ์สุวรรณ์ บ้านร่มไทร ตำบลทัพเสด็จ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว