วัฒนธรรม

ประเพณีลอยโคม

ประเพณีหนึ่งที่ชาวล้านนาถือปฏิบัติคู่ไปกับประเพณียี่เป็งก็คือการลอยโคมการลอยโคมของชาวล้านนาเป็นการปล่อยโคมขึนไปสู่ท้องฟ้าแทนการลอยกระทงในลำน้ำอย่างประเพณีของคนภาคกลาง ชาวล้านนาเชื่อว่าการจุดโคมลอย แล้วปล่อยขึ้นฟ้า เป็นการบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ และยังเป็นการปล่อยทุกข์ปล่อยโศก และเรื่องร้าย ให้ออกไปจากตัว

ชาวล้านนาเชื่อกันว่า ในวันประเพณียี่เป็ง ชาวล้านนาที่เกิดปีจอต้องนมัสการพระธาตุแก้วจุฬามณีซึ่งเป็นสถานที่บรรจุมวยผมของเจ้าชายสิทธัตถะที่ปลงออกก่อนจะบวช แต่เนื่องจากเจดีย์นี้เชื่อกันว่าอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชาวล้านนาที่เกิดปีจอจึงต้องอาศัยโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าแทนเครื่องบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี

ตัวโคมทำจากกระดาษสาสีสันสวยงาม ติดบนโครงไม้ไผ่ ตรงกลางโคมจะมีตะเกียงติดชนวนสำหรับจุดไฟ เมื่อจุดไฟที่ตะเกียง ความร้อนจะดันพาโคมลอยให้ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า

ที่มาของข้อมูล :

http://xn--k3cpjt9d6a4e.net/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD/

ออเจาเอย Ost.บพเพสนนวาส พท พล Official MV.mp3

ประเพณี วัฒนธรรม

เดือน/กิจกรรม

มกราคม

-ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ทำบุญตักบาตร

-ประเพณีทานข้าวจี่ข้าวหลาม (เสร็จฤดูการทำนาเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว ก็มีการทำบุญ)

กุมภาพันธ์

-ประเพณีทำบุญวันมาฆะบูชา

มีนาคม

-ประเพณีการเลี้ยงผี การฟ้อนผี

เมษายน

-ประเพณีแห่งครัวตานขึ้นวัดดอยน้อย(สรงน้ำพระธาตุดอยน้อย)

-ประเพณีสงกรานต์

-ประเพณีรดน้ำดำหัว

-ประเพณีแห่ไม้ค้ำศรี

-ประเพณีเลี้ยงผีปู่-ย่า

พฤษภาคม

-ประเพณีวันวิสาขะบูชา

-ประเพณีไหว้พระธาตุ สรงน้ำพระธาตุ

มิถุนายน

-ประเพณีการไหว้พระธาตุ

กรกฎาคม

-ประเพณีวันเข้าพรรษา

สิงหาคม

-ปลูกนา /ดำนา/ทานข้าว คนเฒ่าจำศีล

กันยายน

-ประเพณีทานข้าวสลากหรือ ก๋วยสลาก

ตุลาคม

-ประเพณีทำบุญวันออกพรรษา ทานกฐิน

พฤศจิกายน

-ประเพณีล่องสะเปา-ลอยกระทง

-ประเพณีทอดกฐิน ทอดผ้าป่า

ธันวาคม

-ช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร

-วันสิ้นปี