แผ่นดินหวิด บ้านปงชัย หมู่ 5 ตำบลแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ความหมายของแผ่นดินหวิด คือ ภูมิประเทศที่ถูกทางน้ำหรือสายน้ำกัดเซาะเป็นร่องลึกหรือกัดเซาะจนเป็นหน้าผาชัน ทำให้แผ่นดินขาดออกจากกันจึงเรียกเป็นคำพื้นเมืองภาคเหนือว่า“แผ่นดินหวิด” การกัดเซาะของน้ำตามพื้นที่ซึ่งเป็นหินชนิดต่าง ๆ ไม่สม่ำเสมอเท่ากัน ทำให้เกิดแก่งหินรูปทรงแปลก ๆ เช่น เป็นแท่งคล้ายพระธาตุเจดีย์บ้าง คล้ายรูปสัตว์บ้าง จึงทำให้ขนานนามภูมิลักษณะพื้นที่ส่วนนั้นเป็น “สันหมูแม่ต้อง” คล้ายรูปสุกรผอมนอนอยู่ หากพิจารณาพื้นที่ที่คงสภาพไม่ถูกน้ำกัดเซาะจะพบว่า มีก้อนกรวดจำนวนมากยึดกันแน่นทำให้กระแสน้ำไม่เซาะ เช่นแผ่นดินที่แข็งระดับต่าง ๆ กัน จึงทำให้พื้นที่หลายแห่งที่ไม่ถูกกัดเซาะจนหมดกลายเป็นแก่งหินยุ่ยหรือหินปูน การเกิดกระบวนการกัดเซาะของน้ำ เมื่อกัดเซาะพื้นที่ลุ่มระดับต่าง ๆ กัน จึงทำให้พื้นที่หลายแห่งที่ไม่ถูกัดเซาะจนหมดกลายเป็นแท่งหินยอดแหลมเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งสามารถตกแต่งสภาพแวดล้อม พืชพรรณไม้ต่าง ๆ ให้เหมาะแก่การเดินเข้าชื่นชมกับธรรมชาติภูมิสภาพของแท่งหิน