ศูนย์เรียนรู้การเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร

ศูนย์เรียนรู้การเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร

ชื่อ : ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ลำไยนอกฤดู)

สถานทีตั้ง : บ้านทุ่งยาว หมู่ 7 ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

พิกัด : X 507315 Y 2045676 พื้นที่ปลูก ลำไยนอกฤดู 6 ไร่

แผนที่ไปศูนย์เรียนรู้

ชื่อเกษตรกรต้นแบบ : ร.ต.อ.วิสูตร กันไชยสัก

บ้านเลขที่ 34/1 หมู่ 7 บ้านทุ่งยาว ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

เบอร์โทรศัพท์: 081- 9801100 เลขที่บัตรประชาชน 3-5101-00153-42-9

สถานการณ์ของพื้นที่ : การประกอบอาชีพของราษฎรในตำบลศรีบัวบาน ส่วน

ใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรโดยมีการเพาะปลูกข้าว และลำไย เป็นหลัก ซึ่งตำบลศรีบัวบานนั้น เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการเพาะปลูกลำไยเป็นจำนวนมาก โดยมีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 6,478 ไร่ เกษตรกรผู้ปลูกลำไย 752 ราย ปัญหาการผลิตลำไยในพื้นที่ คือผลผลิตกระจุกตัวในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม เกษตรกรขาดการปฏิบัติดูแลสวนที่ดี

แนวทางพัฒนา

1. การปรับโครงสร้างระบบการผลิตลำไยในพื้นที่ให้ได้คุณภาพ ตรงตามความต้องการของตลาดและกระจายผลผลิต ทำให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาสูง มีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน

2. การพัฒนาคุณภาพผลผลิตลำไย ลดต้นทุนการผลิต และส่งเสริมเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตลำไย

จุดเด่นของศูนย์เรียนรู้ : เทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดู เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและลดความเสี่ยงด้านการตลาด

หลักสูตรเรียนรู้

1. หลักสูตร การผลิตลำไยนอกฤดูให้มีคุณภาพและปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงด้านการตลาด

2. หลักสูตร เทคนิคการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีที่ถูกต้องเพื่อลดต้นทุนการผลิต

ฐานการเรียนรู้

ฐานที่ 1 การตัดแต่งกิ่งและดูแลหลังจากการเก็บผล หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย ต้องทำการตัดแต่ง

กิ่งให้โปร่ง ใส่ปุ๋ยคอก ต้นละ 10-30 กก พร้อมกับการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเร่งให้ต้นลำไยแตกใบอ่อน พร้อมที่จะราดสารทำลำไยนอกฤดูรอบใหม่ โดยการจะต้องให้ต้นลำไยแตกใบอ่อน อย่างน้อย 2-3 ครั้ง เพื่อให้ต้นลำไยสมบูรณ์ถึงจะทำการราดสาร

ฐานที่ 2 การให้สารโปรแตสเซียมคลอเรตทางดิน ใช้สารโปรแตสเซียมคลอเลต จำนวน 12 กก. ต่อน้ำ

200 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณใต้ทรงพุ่มห่างจากลำต้น1-1.5 เมตร หลังจากราดสาร ประมาณ 21 วันก็จะเริ่มเห็นช่อดอก หลังจากพ่นสาร ประมาณ 15 วัน เมื่อเห็นดอกชัดเจนแล้ว ฉีดพ่นบำรุงช่อดอกโดยใช้สาหร่าย 200 ซีซี อะมิโน 200 ซีซี โบรอนแคลเซียม 200 ซีซี ยาฆ่าแมลง 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น ห่างกัน 7 วันครั้ง เพื่อให้ดอกมีความสมบูรณ์ยาวขึ้น ก่อนที่ดอกบานจะบานควรฉีดพ่นอีกสักครั้ง โดยเพิ่มเชื้อกันรา 200 ซีซี ฉีดพ่นเพื่อป้องกันโรคเชื้อราและแมลงเพื่อให้ลำไยติดผลดี

ฐานที่ 3 เทคนิคการผลิตลำไยให้มีคุณภาพและปลอดภัย หลังจากลำไยติดลูกเล็กเท่ากับหัวไม้ ทางดิน

ใส่ด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 หรือใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ผสมกับปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 ในอัตรา 1:1 อัตรา 0.5 กก ต่อทรงพุ่มต้น 5 เมตร ทุก 15-20 วัน พร้อมกับการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ การบำรุงผลก่อนเก็บเกี่ยว ทางดิน ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 หรือ ปุ๋ยสูตร 13-13-21อัตรา 1-2 กก ต่อต้น ทรงพุ่ม 3-5 เมตร ถ้าใส่ปุ๋ย สูตร 13-13-21 ลำไยจะแก่และสุกเพื่อให้ได้เก็บเร็วขึ้นแต่อาจจะทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับมาทันที

ฐานที่ 4 การให้น้ำลำไย ระยะแทงช่อดอก เมื่อเห็นเป็นช่อดอกแล้วควรมีการให้น้ำเล็กน้อยและเพิ่ม

ปริมาณน้ำจะทำให้ผลแคระแกร็น และร่วงมาก ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรงดการให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ระยะหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต การตัดแต่งกิ่ง หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรตัดกิ่ง เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งขึ้น