ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

แหล่งเรียนรู้อุบลราชธานี

ชื่อแหล่งเรียนรู้ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านโพนแอวขัน

ตำบล โสกแสง อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี

ด้านกองทุนธุรกิจชุมชน สาขา กลุ่มออมทรัพย์วิสาหกิจชุมชน

ผู้รับผิดชอบ/ผู้ถ่ายทอดแหล่งเรียนรู้

ชื่อ-สกุล นายฉัตรพล มงคลกาล ตำแหน่ง กำนัน อายุ 51 ปี

อยู่ปัจจุบันเลขที่ 69 หมู่ 2 บ้านโพนแอวขันตำบลโสกแสง

อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34280

โทรศัพท์ 0899177058 facebook- ฉัตรพล มงคลกาล


องค์ความรู้และเชี่ยวชาญ

บ้านโพนแอวขัน ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลโสกแสง อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ หมู่บ้านและชุมชนสามารถบริหารจัดการตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นหมู่บ้าน “อยู่เย็นเป็นสุข” ตามยุทธศาสตร์ของกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งยึดหลักตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 และเมื่อหมู่บ้านดำเนินการตามแนวทางนี้แล้วก็จะเป็นหมู่บ้าน/ชุมชนมีคุณลักษณะ 3 ไม่ 2 มี กล่าวคือ 1) ไม่มียาเสพติด 2) ไม่มีคนยากจน 3) ไม่มีหนี้นอกระบบ ส่วน 2 มี คือ 1) มีสวัสดิการชุมชน และ 2) มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น มีการจัดระเบียบชุมชน (ป้ายหมู่บ้าน/ป้ายคุ้ม/ป้ายสถานที่ กลุ่ม/องค์กร/ป้ายครัวเรือนพัฒนา/ปรับภูมิทัศน์หมู่บ้าน ครัวเรือนให้น่าอยู่ ฯลฯ) มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีกองทุนวิสาหกิจชุมชน (กลุ่มออมทรัพย์)

กระบวนการ/ขั้นตอน/วิธีดำเนินงาน

ดำเนินการพัฒนาตามกระบวนการพัฒนาชุมชน ยึดการบูรณาการจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดย หมู่บ้านและชุมชนเป็นศูนย์กลางในการดำเนินงาน ไม่ได้เลือกทำบางเรื่อง หรือเฉพาะกิจกรรมโดยมีความเป็นมาและขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้

1.การก่อเกิดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบปี 2555เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ด้วย - ด้านการลดรายจ่าย (ทำสวนครัว ลด ละ เลิกอบายมุข)

- ด้านการเพิ่มรายได้ (มีอาชีพสุจริต ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม)

- ด้านการประหยัด (มีการออม มีกลุ่มออมทรัพย์ฯ)

- ด้านการเรียนรู้ (สืบทอดภูมิปัญญามีการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง)

- ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ใช้วัตถุดิบในชุมชนประกอบอาชีพปลูกต้นไม้)

- ด้านการเอื้ออารีต่อกัน(ช่วยเหลือคนจนคนด้อยโอกาส รู้รักสามัคคี)

2.การเติบโตหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ขยายผลการทำงานสู่ความยั่งยืน โดย พัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็น หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ มีศักยภาพ 4 ด้าน คือ

- ด้านจิตใจและสังคม มี 7 ตัวชี้วัด คือ สามัคคี มีข้อตกลงข้อมูลหมู่บ้าน มีกองทุน ยึดหลักประชาธิปไตย มีคุณธรรม/จริยธรรมชุมชนปลอดอบายมุข เชื่อมั่นในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง - ด้านเศรษฐกิจ มี 5 ตัวชี้วัด คือ จัดทำบัญชีครัวเรือนลดรายจ่าย สร้างรายได้ รวมกลุ่มพัฒนาอาชีพ มีการออม มีกลุ่มในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน

- ด้านการเรียนรู้ มี ๗ ตัวชี้วัด คือ มีข้อมูลชุมชน มีและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและแผนชุมชน ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างคุณค่า มีศูนย์เรียนรู้ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สร้างเครือข่ายการพัฒนา ปฏิบัติตามหลักการพึ่งตนเอง

- ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มี ๔ ตัวชี้วัด คือมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีกลุ่มองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม มีการใช้พลังงานทดแทน มีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3. การจัดระดับศักยภาพการพัฒนาหมู่บ้านการจัดระดับศักยภาพการพัฒนาหมู่บ้าน เป็น ๓ ระดับ คือ

- ระดับ “พออยู่ พอกิน” เป็นต้นแบบในการใช้ชีวิตพึ่งตนเอง เน้นการปฏิบัติทำกิน ทำใช้ในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้และมีการออม

- ระดับ “อยู่ดี กินดี” เป็นต้นแบบในการบริหารจัดการพัฒนาในรูปกลุ่ม การพัฒนารายได้ด้วยระบบกลุ่มเพื่อเพิ่มรายได้และขยายโอกาสคนในชุมชน

- ระดับ “มั่งมี ศรีสุข” เป็นต้นแบบการบริหารการพัฒนาในรูปแบบองค์กรเครือข่ายเพื่อใช้ศักยภาพในการดำเนินการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เพื่อขยายโอกาสในการประกอบอาชีพและส่งเสริมการจัดสวัสดิการให้กับคนในหมู่บ้านชุมชนการแยกประเภทหมู่บ้านเป็น 3 ระดับ เพื่อใช้เป็นต้นแบบการเรียนรู้ ให้กับหมู่บ้านที่มีพื้นฐาน หรือสถานการณ์ของหมู่บ้านใกล้เคียงกันสามารถเรียนรู้ ใช้เป็นแบบอย่างได้ โดยไม่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญที่แตกต่างกันมากนัก

4. การสร้างระบบการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงการสร้างระบบการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาใช้กลไก/เครื่องมือ ในการสร้างระบบการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้แกนนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนหมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วย ผู้นำหมู่บ้าน/ชุมชน ผู้นำ อช./อช./ผู้นำกลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย เช่น กพสม/กพสต./ศอช.ต ครอบครัวพัฒนา กลุ่มอาชีพ/กลุ่ม OTOP กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้าน/กองทุนอื่นๆเครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่

- แผนชุมชน

- ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

- มาตรฐานงานพัฒนาชุมชน (มชช.)

- ตัวชี้วัดการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

ของกระทรวงมหาดไทย (4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด) ดัชนีชี้วัดความ “อยู่เย็น เป็นสุข” หรือ ความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน (Gross Village Happiness: GVH) มี6 องค์ประกอบ 22 ตัวชี้วัด

วิธีการถ่ายทอดองค์ความรู้แหล่งเรียนรู้เพื่อนำสู่การปฏิบัติ

กระบวนการเรียนรู้

กำหนดการเรียนรู้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00- 12.00 น. ที่ศาลาประชาคมบ้านโพนแอวขัน หากสัปดาห์ใดที่ผู้ประสานงานติดราชการหรือสมาชิกส่วนใหญ่ติดภารกิจเช่นงานบุญประเพณี ให้แจ้งล่วงหน้าเพื่อเลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้เป็นครั้งๆ ไป

การจัดการกองทุน

ระดมทุนจากสมาชิกศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโพนแอวขัน จำนวน 30 คน โดยให้สมาชิกออมเงินเดือนละ 50 บาท เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2554เป็นต้นไป และมอบหมายให้ นางพิสมัย พิมพสุทธิ์ นายกฤษฎากร ดอกแก้ว และนางลำไพ จำใบ เป็นผู้ดำเนินการเปิดบัญชีออมทรัพย์กองทุนพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 2 บ้านโพนแอวขัน กับธนาคารออมสินสาขานาจะหลวย โดยให้มีอำนาจในการเบิกจ่าย 2ใน 3 โดยเงินกองทุนพระราชทาน และเงินออมของกลุ่มจะนำไปส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มให้พึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และช่วยเหลือสมาชิกกลุ่มซึ่งประสบภัยหรือตกทุกข์ได้ยาก

จุดเด่น

1.เป็นหมู่บ้านที่ได้รับรางวัลโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับจังหวัดอุบลราชธานี ?อยู่เย็น เป็นสุข? ประจำปี ๒๕๕๖ ซึ่งมีความโดดเด่นด้านความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชน เป็นชุมชนต้นแบบในการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาอันดีงามของท้องถิ่น และเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงของอำเภอนาจะหลวย

2.บุคคลเด่นที่น่าสนใจในกลุ่ม

1) นายประพันธ์ วรรณสุข ด้าน บ้านตัวอย่างด้านเศรษฐกิจพอเพียง

2) นางเพลินจิตร โสภาพงษ์ ด้าน การทอผ้าด้ายมัดหมี่ลายพื้นเมือง

3) นายสา พิตะพันธ์ ด้าน หมอยาสมุนไพร

4) นายสุพัฒน์ วงศ์วาน ด้าน การผลิตปุ๋ยน้ำหมัก

5) นางเจริญ บุญสะอาด ด้าน บ้านตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง

6) นายกฤษฎากร ดอกแก้ว ด้าน การทำกระถางยางรถยนต์

ผลผลิต/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ

4.1 ผลการเปลี่ยนแปลงต่อบุคคล/ การพึ่งพาตัวเองระดับบุคคล สมาชิกทุกคนปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อบริโภคในครัวเรือนเพื่อลดรายจ่าย จัดทำบัญชีครัวเรือนเป็นปัจจุบันเพื่อให้รู้จักตนเอง และมีการส่งเสริมการออม

4.2 ผลการเปลี่ยนแปลงต่อกลุ่ม/ การพึ่งพาตัวเองระดับกลุ่ม เข้าร่วมกิจกรรม รวมกลุ่มทำปุ๋ยหมักโดยจัดหาวัสดุมาทำปุ๋ยหมักร่วมกัน และมีการรวมกลุ่มเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้ให้กับชุมชน

4.3 ผลการเปลี่ยนแปลงต่อชุมชน/ การพึ่งพาตัวเองระดับชุมชน เป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงของอำเภอ มีการผลิตการแปรรูปและการทำการตลาดของกลุ่ม และเป็นชุมชนต้นแบบในการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น เป็นชุมชนที่มีความสามัคคี

ลักษณะเครือข่ายและการสร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานีและสำนักงานเกษตรอำเภอนาจะหลวย สนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ ด้านการเกษตร พัฒนาที่ดินสนับสนุนองค์ความรู้และวัสดุสำหรับการผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมัก

พัฒนาชุมชนอำเภอ ร่วมจัดทำแผนพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการบริหารงานกลุ่ม

กศน.อำเภอนาจะหลวยให้ความรู้ด้านการทำบัญชีครัวเรือน

องค์การบริหารส่วนตำบลสนับสนุนกิจกรรมด้านการจัดเตรียมสถานที่ในการเป็นจุดศึกษาดูงาน

สำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน

แผนงานในอนาคตและการนำไปขยายผล(Applicable)

การขยายผลการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบโดยทุนชุมชนเป็นเป้าหมายสำคัญในการทำงานของชุมชน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตตามวิถีพอเพียง สร้างชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงโดยการส่งเสริมให้ชุมชน มีระบบการบริหารจัดการที่เหมาะสม โดยอาศัยกลไกของชุมชน เช่น กพสม./กพสต., ศอช.ต.ผู้นำอช. อช. ผู้นำชุมชน แกนนำหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่ โดยใช้ทุนชุมชนที่มีอยู่ ทั้งทุนที่ไม่ใช่เงิน และทุนที่เป็นเงิน เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้าน กองทุนกลุ่มอาชีพ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ฯลฯ น ามาสนับสนุนกิจกรรมชุมชนให้เกิดอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งนำเครื่องมือต่างๆสนับสนุนการเรียนรู้ เช่น การมีและใช้ระบบข้อมูลทุนชุมชน จัดทำและปรับแผนชุมชนให้มีมาตรฐาน ส่งเสริมให้มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน การวัดความสุขมวลรวมชุมชน ตลอดจนให้มีการจัดการความรู้ชุมชน

รางวัลหรือเกียรติคุณแหล่งเรียนรู้ที่ได้รับ

- รางวัลโล่พระราชทาน หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ระดับจังหวัดอุบลราชธานี

“ อยู่เย็น เป็นสุข ” ประจำปี 2556