นิทรรศการเมืองเด็กแดนวิทยาศาสตร์

สำหรับกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุระหว่าง 3 – 8 ปี

โดยจัดแสดงได้กำหนดองค์ความรู้ออกเป็น 5โซน

  • โซนที่1 เปิดประตูเวลา

เป็นโซนที่อยู่ทางหน้าของนิทรรศการซึ่งกล่าวถึง ซากดึกดำบรรพ์ และชั้นหินต่างๆ อธิบายถึง วิธีการคำนวณอายุของชั้นหิน และความเป็นมาของสิ่งต่างๆบนโลก

  • โซนที่2 มหายุคแห่งชีวิตที่ซ่อนเร้นPrecambrian :ก่อนถึงยุคแคมเบเรียน

โซนนี้จะกล่าวถึงการกำเนิดของโลกการเย็นตัวของอุณหภูมิโลกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสภาพภูมิประเทศในยุคดึกดำบรรพ์ โซนมหายุคแห่งชีวิตดึกดำบรรพ์ Paleozoic : ชีวิตดึกดำบรรพ์ โซนนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการแยกตัวของเปลือกโลกจนแบ่งออกเป็นทวีป ๆ มีบอร์ดนิทรรศการแสดงภาพสัตว์ดึกดำบรรพ์ นอกจากนี้ยังมี DIORAMAซึ่งเป็นแบบจำลองแสดงวิวัฒนาการของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหรือสัตว์เลื้อยคลาน

  • โซนที่ 3 มหายุคแห่งชีวิตตอนกลาง Mesozoic : ชีวิตตอนกลาง

โซนนี้เป็นเรื่องของการปรับตัวและวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือสัตว์ตระกูลไดโนเสาร์กับสัตว์เลื้อยคลานยุคแรก ที่ค้นพบซากฟอสซิลในประเทศไทยที่แสดงให้เป็นลักษณะ รูปร่างและอธิบายถึงอุปนิสัยการดำรงชีวิตการหาอาหารและลักษณะสำคัญๆ เอาไว้ รวมทั้งยังแสดงให้เห็นทฤษฎีการพันธุ์ของไดโนเสาร์ในยุคนั้น

  • โซนที่ 4 มหายุคแห่งชีวิตปัจจุบันCenozoic : ชีวิตเมื่อเร็ว ๆ นี้โซนนี้เป็นเรื่องของสิ่งมีชีวิตในยุคปัจจุบัน และย้อน

ไปจนถึงยุคสมัยที่มีสัตว์ที่เป็นต้นตระกูลของมนุษย์ และช้างแมมมอธ ถือกำเนิดขึ้น อธิบายถึงวิวัฒนาการของสัตว์ตระกลูลิงที่วิวัฒนาการมาจนกลายเป็นมนุษย์ในปัจจุบันและการใช้ชีวิตกับการปรับตัวของช้างแมมมอธ และสาเหตุการสูญพันธุ์ของช้างแมมมอธ ในระหว่างทางเดินสู่โซนถัดไป จะมีหุ่นจำลองของไดโนเสาร์พันธุ์ที่พบ

  • โซนที่5 สิ้นสุดการเดินทาง

เป็นโซนสรุปเนื้อหาสาระทั้งหมดของนิทรรศการโลกล้านปี โดยใช้เกมคอมพิวเตอร์เป็นสื่อทบทวนความรู้ ความจำที่ได้เดินกันมาจนสิ้นสุดการเดินทาง เกมที่ให้ผู้เดินทางได้ทบทวนความจำได้แก่ เกมจับคู่ไดโนเสาร์ เกมต่อภาพจิ๊กซอว์ เกมเปิดภาพไดโนเสาร์ เกมวิวัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งแต่ละเกมล้วนเป็นเกมที่ให้ความรู้ ความสนุกสนานและปลูกผังการเป็นคนช่างสังเกต และการจดจำ นอกจากนี้ ยังมีบทสรุปทางจอโทรทัศน์ที่ให้ผู้อยู่ร่วมโลกใบนี้ทุกคนร่วมมือช่วยกัน ดูแลรักษาธรรมชาติ เพื่อมวลมนุษยชาติของเราให้คงอยู่ตลอดไป

ที่มา : www.rscience.go.th เขียนโดย : ว่าที่ ร.ต.อัศวิน อินตา