วัดพระธาตุอุปมุง
แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
1. ประเภท แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
1. ประเภท แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
2. ประวัติความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยว
2. ประวัติความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยว
วัดป่าวัดธาตุอุปมุงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านสร้างบุ ตำบลโพธิ์ศรีสว่าง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยวัดป่าวัดธาตุอุปมุงห่างจากหมู่บ้านสร้างบุประมาณ 500 เมตร เป็นวัดที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีอายุร่วม 2000 ปี (ประมาณ พ.ศ. 11) แรกเริ่มเดิมทีพระธาตุแห่งนี้จะนำไปบรรจุไว้ที่พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม แต่เนื่องจากการเดินทางในสมัยนั้นกว่าจะถึงที่หมายต้องใช้การเดินทางเป็นเวลานาน เมื่อมาถึงสถานที่แห่งนี้(บ้านสร้างบุ) ก็ได้ทราบข่าวจากทางนครพนมว่าสร้างพระธาตุพนมเสร็จแล้วจึงได้ซ่อนพระธาตุไว้ในป่าแห่งนี้ ซึ่งเป็นป่ารกทึบ คำว่า“อุปมุง” มีที่มาว่า เมื่อก่อนเพระธาตุเป็นแค่ “อูป” (มีลักษณะคล้ายเตาถ่าน) ในสมัยนั้นสถานที่แห่งนี้เป็นป่าดงดิบไม่ค่อยมีคนหรือสัตว์เลี้ยงเข้าไป เพราะมันน่ากลัวมากคนแก่คนเฒ่าเล่าว่า ถ้าหากว่ามีสัตว์เลี้ยงไม่ว่าจะเป็นช้างม้าวัวควายเข้าไปในเขตสถานที่นี้ แล้วจะชักตายโดยไม่ทราบสาเหตุเล่ากันว่าในดงแห่งนี้มี “เม่ง” (เม่งเป็นสัตว์คล้ายงูจงอางแต่ตัวใหญ่มาก) ในคืนวันพระพระจันทร์เต็มดวงจะมีเสียงกังวานมากภายในป่าแห่งนี้และมีเสียงร้องดังเหมือนเสียงของงูจงอางหรือแมงง่วง (จักจั่นใหญ่) ถ้าหากในวันพระวันใดได้ยินเสียงร้องของตัวเม่งจะมีคนนอนตายโดยไม่ทราบสาเหตุในคืนนั้น ทำให้ไม่มีใครเข้าไปในป่าแห่งนั้น ต่อมามีผู้พบเห็นพระธาตุอุปมุงเป็นคนแรกคือ หลวงปู่สิงห์ทอง เล่าว่า หลวงปู่ท่านเป็นพระธรรมยุติ เดินธุดงค์ มาปักกลดที่ป่าแห่งนี้ ท่านได้นั่งสมาธิในระหว่างนั้นมีผีสางนางไม้มารบกวนท่านอยู่มิได้ขาด ท่านได้เทศนาบอกกล่าว แล้วจิตวิญญาณเหล่านั้นก็หายไป คงเหลือแต่เม่งที่ไม่ยอมฟังท่านเลย มีการต่อสู้กันทางใน (สมาธิจิต) เป็นเวลานาน ในที่สุดตัวเม่งเป็นฝ่ายที่ยอมแพ้และยอมที่จะไม่รังแกสัตว์และมนุษย์อีก ต่อมาท่านก็ปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ ท่านก็รู้ทางสมาธิจิตว่าที่นี่มีพระธาตุและสารีริกธาตุอยู่ในที่แห่งนี้ ท่านจึงอยู่ประจำและสร้างวัดขึ้นในที่แห่งนี้ และตั้งชื่อวัดว่า วัดป่าพระธาตุอุปมุง ท่านได้พาชาวบ้านสร้างที่สถิตพระธาตุขึ้นใหม่จากแต่ก่อนเป็นอูปเหมือนเต่าถ่านและได้ต่อเติมให้สูงขึ้น โดยนำดินเหนียวจากหนองผำ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด โดยนำดินเหนียวมาปั้นบนพิมพ์สี่เหลี่ยม แกะพิมออกแล้วตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปเผาไฟอีกทีหนึ่ง เสร็จแล้วนำไปก่อเป็นสถูปเจดีย์ โดยใช้ยางโบ่ง (เป็นยางไม้ชนิดหนึ่งที่มีความเหนียวมาก) เพราะว่าในสมัยนั้นไม่มีปูนซีเมนต์ จึงเอายางไม้มาใช้แทน ท่านได้สร้างพระธาตุเพียงครึ่งองค์เท่านั้น ท่านก็มรณะเสียก่อน
วัดป่าวัดธาตุอุปมุงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านสร้างบุ ตำบลโพธิ์ศรีสว่าง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยวัดป่าวัดธาตุอุปมุงห่างจากหมู่บ้านสร้างบุประมาณ 500 เมตร เป็นวัดที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีอายุร่วม 2000 ปี (ประมาณ พ.ศ. 11) แรกเริ่มเดิมทีพระธาตุแห่งนี้จะนำไปบรรจุไว้ที่พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม แต่เนื่องจากการเดินทางในสมัยนั้นกว่าจะถึงที่หมายต้องใช้การเดินทางเป็นเวลานาน เมื่อมาถึงสถานที่แห่งนี้(บ้านสร้างบุ) ก็ได้ทราบข่าวจากทางนครพนมว่าสร้างพระธาตุพนมเสร็จแล้วจึงได้ซ่อนพระธาตุไว้ในป่าแห่งนี้ ซึ่งเป็นป่ารกทึบ คำว่า“อุปมุง” มีที่มาว่า เมื่อก่อนเพระธาตุเป็นแค่ “อูป” (มีลักษณะคล้ายเตาถ่าน) ในสมัยนั้นสถานที่แห่งนี้เป็นป่าดงดิบไม่ค่อยมีคนหรือสัตว์เลี้ยงเข้าไป เพราะมันน่ากลัวมากคนแก่คนเฒ่าเล่าว่า ถ้าหากว่ามีสัตว์เลี้ยงไม่ว่าจะเป็นช้างม้าวัวควายเข้าไปในเขตสถานที่นี้ แล้วจะชักตายโดยไม่ทราบสาเหตุเล่ากันว่าในดงแห่งนี้มี “เม่ง” (เม่งเป็นสัตว์คล้ายงูจงอางแต่ตัวใหญ่มาก) ในคืนวันพระพระจันทร์เต็มดวงจะมีเสียงกังวานมากภายในป่าแห่งนี้และมีเสียงร้องดังเหมือนเสียงของงูจงอางหรือแมงง่วง (จักจั่นใหญ่) ถ้าหากในวันพระวันใดได้ยินเสียงร้องของตัวเม่งจะมีคนนอนตายโดยไม่ทราบสาเหตุในคืนนั้น ทำให้ไม่มีใครเข้าไปในป่าแห่งนั้น ต่อมามีผู้พบเห็นพระธาตุอุปมุงเป็นคนแรกคือ หลวงปู่สิงห์ทอง เล่าว่า หลวงปู่ท่านเป็นพระธรรมยุติ เดินธุดงค์ มาปักกลดที่ป่าแห่งนี้ ท่านได้นั่งสมาธิในระหว่างนั้นมีผีสางนางไม้มารบกวนท่านอยู่มิได้ขาด ท่านได้เทศนาบอกกล่าว แล้วจิตวิญญาณเหล่านั้นก็หายไป คงเหลือแต่เม่งที่ไม่ยอมฟังท่านเลย มีการต่อสู้กันทางใน (สมาธิจิต) เป็นเวลานาน ในที่สุดตัวเม่งเป็นฝ่ายที่ยอมแพ้และยอมที่จะไม่รังแกสัตว์และมนุษย์อีก ต่อมาท่านก็ปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ ท่านก็รู้ทางสมาธิจิตว่าที่นี่มีพระธาตุและสารีริกธาตุอยู่ในที่แห่งนี้ ท่านจึงอยู่ประจำและสร้างวัดขึ้นในที่แห่งนี้ และตั้งชื่อวัดว่า วัดป่าพระธาตุอุปมุง ท่านได้พาชาวบ้านสร้างที่สถิตพระธาตุขึ้นใหม่จากแต่ก่อนเป็นอูปเหมือนเต่าถ่านและได้ต่อเติมให้สูงขึ้น โดยนำดินเหนียวจากหนองผำ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด โดยนำดินเหนียวมาปั้นบนพิมพ์สี่เหลี่ยม แกะพิมออกแล้วตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปเผาไฟอีกทีหนึ่ง เสร็จแล้วนำไปก่อเป็นสถูปเจดีย์ โดยใช้ยางโบ่ง (เป็นยางไม้ชนิดหนึ่งที่มีความเหนียวมาก) เพราะว่าในสมัยนั้นไม่มีปูนซีเมนต์ จึงเอายางไม้มาใช้แทน ท่านได้สร้างพระธาตุเพียงครึ่งองค์เท่านั้น ท่านก็มรณะเสียก่อน
ในปี พ.ศ. 2398 โดยมีการบูรณปฏิสังขรณ์
ในปี พ.ศ. 2398 โดยมีการบูรณปฏิสังขรณ์
องค์พระธาตุโดยหลวงปู่ทองมา ถาวโร ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่สิงห์ทอง หลวงปู่ทองมาก็ได้จำพรรษาที่นี่ หลวงปู่ทองมาพร้อมทั้งชาวบ้านและญาติโยมได้สร้างสถูปครอบองค์พระธาตุจนสำเร็จ ว่ากันว่าสมัยตอนสร้างเสร็จใหม่ๆ ข้างในจะเป็นโพรงสามารถเข้าไปกราบไหว้พระข้างในองค์พระธาตุได้ และในนั้นจะมีพระพุทธรูปซึ่งแกะสลักจากไม้ประมาณสิบกว่าองค์ รวมทั้งพระพุทธรูปทองเหลืองและหอกดาบสมัยเก่า (ปัจจุบันนี้ก็ยังอยู่ในพระธาตุที่ปรักหักพังลงมาและทับโพรงนี้ไว้)
องค์พระธาตุโดยหลวงปู่ทองมา ถาวโร ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่สิงห์ทอง หลวงปู่ทองมาก็ได้จำพรรษาที่นี่ หลวงปู่ทองมาพร้อมทั้งชาวบ้านและญาติโยมได้สร้างสถูปครอบองค์พระธาตุจนสำเร็จ ว่ากันว่าสมัยตอนสร้างเสร็จใหม่ๆ ข้างในจะเป็นโพรงสามารถเข้าไปกราบไหว้พระข้างในองค์พระธาตุได้ และในนั้นจะมีพระพุทธรูปซึ่งแกะสลักจากไม้ประมาณสิบกว่าองค์ รวมทั้งพระพุทธรูปทองเหลืองและหอกดาบสมัยเก่า (ปัจจุบันนี้ก็ยังอยู่ในพระธาตุที่ปรักหักพังลงมาและทับโพรงนี้ไว้)
ในปี พ.ศ. 2450 เมื่อหลวงปู่ ทองมา ถาวโร ย้ายไปอยู่บ้านเกิดที่วัดบ้านท่าสี ตำบลเกาะแก้ว อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด (ในสมัยนั้นปัจจุบันคือ อำเภอเสลภูมิ) เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 พระธาตุอุปมุงได้พังลงมาพร้อมกับพระธาตุพนม แต่พระธาตุพนมพังตอนกลางคืน ส่วนพระธาตุอุปมุงพังตอนกลางวันเล่ากันว่าในคืนวันพระชาวบ้านจะเห็นแสงลอยออกจากพระธาตุไปทางทิศใต้ของวัดแสงนั้นมีลักษณะเป็นแสงสีขาวใสคล้อยแสงดาวหาง เวลากลางคืนช่วงที่เห็นมักจะเป็น20.00 – 21.00 น. แสงที่ว่านี้จะลอยสูงจากพื้นดินประมาณ 200 – 300 เมตร ลอยไปอย่างช้าๆ พื้นดินจะสว่างในระยะห่าง 150 เมตรจะมองเห็นลายมือได้อย่างสบาย
ในปี พ.ศ. 2450 เมื่อหลวงปู่ ทองมา ถาวโร ย้ายไปอยู่บ้านเกิดที่วัดบ้านท่าสี ตำบลเกาะแก้ว อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด (ในสมัยนั้นปัจจุบันคือ อำเภอเสลภูมิ) เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 พระธาตุอุปมุงได้พังลงมาพร้อมกับพระธาตุพนม แต่พระธาตุพนมพังตอนกลางคืน ส่วนพระธาตุอุปมุงพังตอนกลางวันเล่ากันว่าในคืนวันพระชาวบ้านจะเห็นแสงลอยออกจากพระธาตุไปทางทิศใต้ของวัดแสงนั้นมีลักษณะเป็นแสงสีขาวใสคล้อยแสงดาวหาง เวลากลางคืนช่วงที่เห็นมักจะเป็น20.00 – 21.00 น. แสงที่ว่านี้จะลอยสูงจากพื้นดินประมาณ 200 – 300 เมตร ลอยไปอย่างช้าๆ พื้นดินจะสว่างในระยะห่าง 150 เมตรจะมองเห็นลายมือได้อย่างสบาย
นี่เป็นส่วนหนึ่งของคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ เท็จจริงอย่างไรควรใช้วิจารณญานในการรับชม-รับฟัง และยังมีเรื่องลี้ลับปาฏิหาริย์เกิดขึ้นอีกมากมาย ถ้ามีโอกาสจะเล่าสู่กันฟังคราวหน้าครั้งต่อไป
นี่เป็นส่วนหนึ่งของคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ เท็จจริงอย่างไรควรใช้วิจารณญานในการรับชม-รับฟัง และยังมีเรื่องลี้ลับปาฏิหาริย์เกิดขึ้นอีกมากมาย ถ้ามีโอกาสจะเล่าสู่กันฟังคราวหน้าครั้งต่อไป
3. สถานที่ ที่ตั้ง (พิกัด) ของแหล่งท่องเที่ยว
3. สถานที่ ที่ตั้ง (พิกัด) ของแหล่งท่องเที่ยว
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านสร้างบุ ตำบลโพธิ์ศรีสว่าง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านสร้างบุ ตำบลโพธิ์ศรีสว่าง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
4. สื่อประกอบ ภาพประกอบด้านบน
4. สื่อประกอบ ภาพประกอบด้านบน
5. ผู้บันทึกข้อมูล นางสาวธัญชนก หลักคำ
5. ผู้บันทึกข้อมูล นางสาวธัญชนก หลักคำ
6. ข้อมูลอื่นๆ
6. ข้อมูลอื่นๆ