กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านประทัดบุ

กลุ่มสตรีทอผ้าไหมตำบลประทัดบุ รวมกลุ่มโดยประชาชนในหมู่บ้าน โดยมี นางสุเพียร ลายสนธิ์ เป็นผู้มีความรู้ด้านหัตถกรรมการทอผ้าไหม และมีการคัดเลือกคณะกรรมการบริหารจัดการและดูแลด้านการตลาด มีตัวแทนนำสินค้าไปจำหน่ายทั่วไป

จังหวัดสุรินทร์ เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมมานานและได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมานานจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่น่าสนใจยิ่งหากศึกษาอย่างลึกซึ่งแล้วจะค้นพบเหตุผลหลายประการที่สนับสนุนว่าจังหวัดสุรินทร์มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองในเรื่องผ้าไหม ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการทอ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายของผ้าไหม การผลิตเส้นไหมน้อย และกรรมวิธีการทอ

จังหวัดสุรินทร์นิยมนำเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย (ภาษาเขมร เรียก “โซกซัก”) มาใช้ในการทอผ้า ไหมน้อยจะมีลักษณะเป็นผ้าไหมเส้นเล็ก เรียบ นิ่ม เวลาสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบาย นอกจากนี้การทอผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์ ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน และเป็นกรรมวิธีที่ยาก ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชำนาญจริง เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า มีการทอที่เดียวใบประเทศไทย จนเป็นที่สนพระทัยและเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงรับสั่งว่า ใส่แล้วเย็นสบาย อีกทั้งยังใช้ฝีมือในการทออีกด้วย

ลักษณะเด่นของผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์

1. มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชา และลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล

2. นิยมใช้ไหมน้อยในการทอ ซึ่งไหมน้อยคือไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหม มีลักษณะนุ่ม เรียบ เงางาม

3. นิยมใช้สีธรรมชาติในการทอ ทำให้มีสีไม่ฉูดฉาด มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะ คือ สีจะออกโทนสีขรึม เช่นน้ำตาล แดง เขียว ดำ เหลือง อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมจากเปลือกไม้

4. ฝีมือการทอ จะทอแน่นมีความละเอียดอ่อนในการทอและประณีต รู้จักผสมผสานลวดลายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แสดงถึงศิลปที่สวยงามกว่าปกติ

5. แต่เดิมนั้นการทอผ้าไหมของชาวบ้านทำเพื่อไว้ใช้เอง และสวมใส่ในงานทำบุญและงานพิธีต่างๆ

ผ้าไหมลายโฮล

ผ้าไหมลายอัมปรม

ภาพถ่าย โดย นางสาวนฤมล ละอองทอง

เนื้อหา จาก https://sites.google.com/site/kwanclaf/rayngan-sinkha-kestr/pha-him-surinthr