แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 

การทำไผ่เลี้ยง ขยายพันธุ์จำหน่าย 

ประเภทกลุ่มข้อมูล  (แหล่งเรียนรู้ชุมชน)


นายปัตติพงศ์ แก้วอุดร ได้ศึกษาการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนได้มาศึกษาในเรื่องการทำไผ่เลี้ยง ตั้งแต่การเพาะเลี้ยงไปจนถึงการเก็บผลผลิต  ได้เคล็ดลับในการเพาะไม้ไผ่ คือ การขุดเหง้า เป็นวิธีที่ดีที่สุด ไผ่ตั้งกอได้ไวที่สุด และก็เหนื่อยที่สุด วิธีนี้ควรทำในช่วงฤดูแล้ง เหตุผลก็คือในฤดูฝนจะไม่มีหน่ออ่อนๆ ขึ้นมามากมาย หากว่าเราไปขุดเหง้าในช่วงฤดูฝนนั้น จะทำความเสียหายให้กับหน่อเล็กๆ ที่จะเติบโตขึ้นเป็นลำไผ่ต่อไป

ในส่วนการเลือกเหง้าที่จะขุดไปขยายพันธุ์ต่อนั้นให้พิจารณาเหง้าที่มีอายุหน่ออยู่ในช่วงระหว่าง 6 เดือน – 1 ปี เพราะตาหน่อยังมีความสมบูรณ์ พร้อมที่จะเจริญเป็นหน่อใหม่ได้ทันที เมื่อได้รับความชื้นที่เหมาะสม ข้อควรระวังคือระหว่างที่ขุดห้ามให้คมเสียมไปโดนตาหน่อโดยเด็ดขาด

วิธีขุดเหง้าและการปลูก

1.เลือกเหง้าที่มีอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 1 ปี

2.ใช้มีดหรือเลื่อยตัดลำช่วงบนออก โดยให้เหลือข้อไผ่นับจากด้านล่างสุดไว้อย่างน้อย 2-3 ช้อ

3.ใช้เสียมสับลงรอบๆ เหง้า ถึงช่วงนี้ให้ใช้ความรู้สึกสักเกตส่วนแข็งๆ เมื่อเสียมไปกระทบเข้ากับส่วนนั้น หมายความว่าตรงนั้นคือรอยต่อระหว่างลำแม่ ซึ่งเราจะต้องสับให้ขาด ตรงนี้ก็สำคัญ เพราะถ้าเราสับไม่ขาดจริงๆ เราอาจจะไปโยกหรือพยายามโหนเพื่อให้เหง้าหลุดออกมา อันจะเป็นเหตุให้ส่วนโคนฉีกหรือแตก เมื่อนำไปชำหรือไปปลูกไผ่เหง้านั้นจะค่อยๆ แห้งตายไปในที่สุด

4.เมื่อได้เหง้าไผ่ตามต้องการแล้วก็สามารถนำไปปลูกลงดินได้เลยหรือถ้ายังไม่พร้อมปลูกก็ต้องทำการรักษาความชื้น โดยการห่อหุ้มไม่ให้เหง้าไม้ไผ่โดนลมและแสงแดด เช่นจุ่มน้ำแล้วใส่ในพลาสติกมัดปากหรือหมกขุยมะพร้าวไว้ สามารถอยู่ได้ 4-5 วันหรือมากกว่านั้นนิดหน่อย

5.การปลูกไผ่เราจะขุดหลุมไผ่ประมาณ 50 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปลูกต้นไผ่เอียง 45 องศา แล้วกลบดินแค่ให้เสมอตาหน่อตาบนสุดเท่านั้นพอ

 เครื่องมือที่ใช้ในการขุดเหง้าไผ่

1.เสียมที่ตีมาจากเหล็กแหนบรถสิบล้อ ใบเสียมกว้าง 2.5-3 นิ้ว ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว ด้ามเสียมทำมาจากเหล็กเพลาตันขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ความยาวด้ามขึ้นอยู่กับความสูงของผู้ใช้งาน โดยเมื่อตั้งเสียมขึ้นแล้วส่วนปลายควรอยู่ระดับไหล่ของผู้ใช้งาน

2.เลื่อยมือเดียว เพื่อที่จะได้ไม่เกะกะเวลาเลื่อยในที่แคบ

3.มีดพร้าหรือมีดที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก เอาไว้ตัดลำในกรณีที่ไม่มีเลื่อยและเอาไว้แต่งเหง้าตัดรากส่วนเกินออก

4.กรรไกรตัดกิ่ง ไม่มีไม่เป็นไร แต่ถ้ามีก็จะดีเพราะสะดวกกว่ามีดเวลาที่เราจะตัดกิ่งแขนงเล็กๆ ที่เกะกะกีดขวางการทำงาน

ไม้ไผ่ เป็นที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ให้ประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม ไม้ไผ่มีประโยชน์มากกับคนเราคนเราสามารถนำไม้ไผ่มาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย  และทำเครื่องจักสานอื่นๆอีกมากมาย สำหรับไม้ไผ่นั้นใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ หน่อ ลำต้น ใบ ราก เยื่อไผ่ ขุยไผ่ มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน 

4. สถานที่ตั้ง (พิกัด) ของผู้ประกอบอาชีพหรือของชุมชน

สถานที่ตั้ง .......... 192 หมู่ที่ 4.................. ตำบลแขวง.................ภูกระดึง...................................... อำเภอ/เขต................ภูกระดึง............................จังหวัด..................เลย...........................................

โทรศัพท์......... 089-2796-650........................... โทรสาร.................................................................

ทรศัพท์มือถือ............................................. E-mail.................................................................

พิกัด https://goo.gl/maps/MtEr5oW6AhXYXdH39

 

ความสัมพันธ์ของชุมชนกับการส่งเสริมความยั่งยืนของแหล่งเรียนรู้

ไผ่เลี้ยงเป็นไผ่อีกหนึ่งชนิดที่เริ่มได้รับความนิยมในการปลูกเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นพืชที่มีความคงทนเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังปลูกได้ง่าย และดูแลรักษาง่าย โตไว และให้ผลผลิตที่ดี จึงได้รับความนิยมในการปลูก อีกทั้งไผ่เลี้ยงยังมีประโยชน์และสามารถบริโภคได้ จึง ได้รับความนิยม ถือว่าเป็นพืชอีกหนึ่งชนิดที่กำลังเป็นที่สนใจให้กับเกษตรกร

- มาตรฐาน/รางวัลที่ได้รับ  นายปัตติพงศ์ แก้วอุดร ได้รับรางวัลเกษตรกรตัวอย่าง อำเภอภูกระดึง

- เนื้อหาสาระ  เศรษฐกิจพอเพียง

ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับไผ่ชนิดต่างๆ การแปรรูปต้นไผ่ในท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตลอดจนการเก็บเกี่ยวผลผลิตต้นไผ่ และการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ซึ่งสามารถรู้จักการตลาดในการจำหน่ายต้นไผ่โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้กลุ่มทำงานกับการวางแผนการแก้ปัญหาการจัดการ เพื่อให้แก้ปัญหา ทำให้การเกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน และอยู่อย่างพอเพียงใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม


ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็น และเหมาะสมกับฐานะของตนเอง

สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้องไม่

เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่

เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบรู้และรอบคอบ

ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบและการ

เปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อให้

สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที

เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้การตัดสินใจ และการกระทำเป็นไปพอเพียง จะต้องอาศัยทั้ง

คุณธรรมและความรู้ ดังนี้

เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องสร้างเสริมให้เป็นพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ประกอบด้วย ด้าน

จิตใจ คือการตระหนักในคุณธรรม รู้ผิดชอบชั่วดี ซื่อสัตย์สุจริต ใช้สติปัญญาอย่างถูกต้องและ

เหมาะสมในการดำเนินชีวิต และด้านการกระทำ คือมีความขยันหมั่นเพียร อดทน ไม่โลภ ไม่ตระหนี้

รู้จักแบ่งปัน และรับผิดชอบในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม

เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยการฝึกตนให้มีความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

อย่างรอบด้าน มีความรอบคอบ และความระมัดระวังที่จะนำความรู้ต่าง ๆ เหล่านั้นมาพิจารณาให้

เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ

ผู้ให้ข้อมูลและผู้เรียบเรียง หรือ ผู้เขียน

กรณีเนื้อหาเขียนด้วยตนเอง  ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นายปัตติพงศ์ แก้วอุดร

                                        ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวนันทนา อ่อนมิ่ง

กรณีเนื้อหาเป็นการสัมภาษณ์  ข้อมูลเนื้อหา โดย (ชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์)

                                     เรียบเรียงเนื้อหา โดย (ชื่อหรือคณะทีมงาน)

                                        ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย (ชื่อหรือคณะทีมงาน) 

*** หากบทความถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะชนไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือสื่อดิจิทัลใด ๆ นำมาซึ่งการทักท้วงการละเมิดสิทธิ์ หรือเกิดความเสียหายต่อหน่วยงาน ผู้ที่ส่งผลงานหรือเขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบตามกฎหมายในทุก ๆ กรณี)

                         


พิกัดสถานที่