“สวนไผ่หวานเงินแสน” เป็นแหล่งเรียนรู้ประจำตำบล ภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย ที่มีประสบการณ์และผลงานของการจัดองค์ความรู้ด้านการเกษตร ที่ได้รับเกียรติบัตร “เกษตรกร ดีเด่น การทำไร่นาสวนผสม” ที่มีการดำเนินการมาอย่างช้านาน และมีการสร้างองค์ความรู้ที่มีการเผยแพร่ให้กับประชาชน หน่วยงานต่างๆ ที่มีความสนใจในด้านการเกษตร ของการทำสวนไผ่ ที่ทำให้สร้างรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัว และมีการสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชนในการเป็นแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
ชื่อเจ้าของแหล่งเรียนรู้ : นายวิมล แก้วผาบ
รางวัลที่ได้รับ : เกียรติบัตร “เกษตรกรดีเด่น
การทำไร่นาสวนผสม”
โทรศัพท์ 062-196-0016
ไผ่บงหวาน (Bambusa burmanica)
เป็นไผ่ขนาดเล็กถึงกลาง กอเป็นพุ่มแน่น สูงประมาณ 5-8 เมตร เส้น ผ่านศูนย์กลางลำาประมาณ 3-5 ซม. ลำอ่อนมีสีเขียวใบไม้ ลำแก่จะมีสีเขียวเข้ม ลำามักคดงอ มีการแตกกิ่งจำนวน 2-5 กิ่งตลอดลำ บริเวณเหนือข้อเล็กน้อยจะ เห็นเป็นแถบวงแหวนสีขาวรอบลำชัดเจน และมักพบรากอากาศอยู่รอบๆ ข้อ ลักษณะที่สังเกตได้ง่ายที่สุดคือ ครีบกาบหุ้มลำาจะมีขนาดและรูปร่างที่ไม่เท่ากัน ทั้งสองข้าง หน่อมีสีเขียว บางครั้งพบสีขาวสลับเขียวเป็นลายสวยงาม หน่อหนักประมาณ 200-300 กรัม พบขึ้นในป่าผสมผลัดใบ (เบญจพรรณ) ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การขยายพันธุ์ไผ่บงหวาน
โดยการเพาะเมล็ด
เมล็ดไผ่แท้จริงแล้วคือผล มีลักษณะคล้ายเมล็ดข้าว ไผ่แต่ละ ชนิดมีวงจรชีวิตถึงอายุที่ออกดอก-ผลแตกต่างกันไป บางชนิดมีอายุเพียง 30 ปี บางชนิดมีอายุยาวกว่า 100 ปี การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด จึงเหมาะสำาหรับ ชนิดพันธุ์ไผ่ที่สามารถเก็บเมล็ดได้ เช่น ไผ่ป่า ไผ่รวก ไผ่ซางนวล ไผ่ไร่ ไผ่บงใหญ่ ข้อดีของวิธีนี้คือ ผลิตกล้าไผ่ได้ปริมาณมากกว่าวิธีอื่น เสียค่าใช้จ่ายน้อย ปฏิบัติ ได้ง่าย และความเสี่ยงในการออกดอกแล้วตายขุยน้อยกว่าวิธีการอื่น แต่จุดด้อย ของวิธีการนี้คือ กล้าต้องใช้เวลาในการพัฒนาเหง้าเพื่อให้หน่อและลำช้ากว่าวิธีการอื่น
วิธีการเพาะเมล็ด เตรียมกระบะหรือแปลงเพาะชำาโดยใช้ทรายเป็นวัสดุเพาะ นำาเมล็ดไผ่มา หว่านให้กระจายทั่วแปลง (ภาพที่ 14) จากนั้นใช้ทรายหรือแกลบกลบทับเพื่อ ป้องกันเมล็ดไหลหรือกระเด็นในขณะรดน้า รดน้าเช้า-เย็นให้ชุ่ม ยกเว้นวันที่ฝน ตก คลุมกระบะเพาะด้วยตาข่ายเพื่อป้องกันแสงแดด และสัตว์ที่จะมากินเมล็ด โดยทั่วไปเมล็ดไผ่ที่เก็บมาใหม่ๆ ที่มีความสมบูรณ์สามารถงอกได้มากกว่า 90% ใช้เวลาการงอกประมาณ 7-10 วัน
การย้ายชำ เมื่อกล้าไม้สูงประมาณ 5-10 ซม. หรือประมาณ 2 สัปดาห์ การย้ายชำลงในถุงเพาะชำขนาด 3x6 นิ้ว ซึ่งใช้ดินร่วนปนทรายผสมขี้เถ้าแกลบ และขุยมะพร้าวเป็นวัสดุย้ายชำา ใช้กล้า 2-3 ต้น/ถุง เพื่อให้มีอัตราการรอดตายสูง ดูแลรักษาไว้ในเรือนเพาะชำาจนกล้าสูงประมาณ 30-50 ซม. ซึ่ง มีอายุประมาณ 6 เดือน นำไปปลูกได้
โดยการแยกเหง้า
การแยกเหง้าหรือการปักชำเหง้า เป็นวิธีที่ใช้ได้กับไผ่ทุกชนิด และให้ผลสำเร็จสูงและ กล้าไผ่ตั้งตัวได้เร็ว แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและได้ปริมาณกล้า น้อย ไผ่ 1 กอ สามารถแยกเหง้าได้เพียง 2-5 เหง้า นอกจากนี้ผู้แยกเหง้าต้องมี ความชำานาญ วิธีการนี้จึงมักใช้กับพันธุ์ไผ่ที่ขยายพันธุ์ ด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล
วิธีการแยกเหง้า การแยกเหง้าต้องใช้เหง้าไผ่ที่มีอายุไม่อ่อนหรือแก่เกินไป โดยปกติจะใช้ลำาอายุ 1-2 ปี เพราะมีตาที่แข็งแรงพร้อมที่จะเจริญเป็นหน่อได้ โดยตัดลำให้เหลือตอสูงประมาณ 50-80 ซม. แล้วใช้ชะแลงขุดเหง้าออกจากกอแม่ด้วย ความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ตาเหง้าเกิดความเสียหายและกระทบกระเทือน การเจริญเติบโตของต้นแม่ เหง้าที่แยกมาแล้วนำาไปปลูกในพื้นที่ได้ทันที ในกรณีที่พื้นที่ปลูกไม่ไกลจากต้นแม่ แต่ถ้าไปไกลในการขนย้ายอาจใส่กระสอบ หรือวางไว้ในรถแล้วต้องคลุมเหง้าด้วยหญ้าแห้งหรือฟางข้าว รดนำ้าให้ชุ่ม คลุมด้วย ตาข่ายพรางแสงเพื่อป้องกันไม่ให้ตาแห้งและเป็นการบ่มเหง้าไปในขณะเดียวกัน อีกวิธีหนึ่งคือ การชำาเหง้าในแปลงเพาะหรือถุงชำา โดยนำเหง้าไปวางในแปลงเพาะ ที่เตรียมไว้ กลบด้วยดินหรือวัสดุเพาะให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้ง หรือฟางข้าวเพื่อควบคุมความชื้นและป้องกันวัชพืช ในกรณีที่ชำาเหง้าในถุงเพาะชำ ใช้ถุงเพาะชำาขนาด 8x10 นิ้ว บรรจุวัสดุชำที่เป็นดินร่วนผสมขี้เถ้าแกลบหรือขุย มะพร้าว ในอัตราส่วน 1:1 ตากฆ่าเชื้ออย่างน้อย 7 วัน นำาเหง้าใส่ลงในถุงเพาะ กลบดินให้แน่น วางเหง้าชำาไว้ใต้ร่มไม้ หรือแปลงเพาะชำาที่คลุมด้วยตาข่ายพราง แสง รดน้ำวันเว้นวัน ยกเว้นวันที่ฝนตก ในกรณีที่ชำเหง้าจำานวนน้อยให้ใส่ถุงชำ 18 เหง้าในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันความชื้นไม่ให้ต่ำเกินไป ประมาณ 1 เดือนระบบรากจะเริ่มทำางาน ผลิใบใหม่ อนุบาลกล้าไผ่อีกประมาณ 2-3 เดือน ระบบรากจะแข็งแรงพร้อมกับการแตกหน่อและกิ่งก้านเหมาะสมกับ การนำาไปปลูก รวมระยะเวลาตั้งแต่เริ่มแยกเหง้าจนนำไปปลูกได้ประมาณ 4 เดือน
VDO แนะนำแหล่งเรียนรู้
สถานที่ตั้ง
บ้านเลขที่ 46 หมู่ 11 บ้านน้ำค้อน้อย ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
โทรศัพท์ 062-196-0016
ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวณัฐรดา แสวงผล
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ/วีดีโอ โดย นายก้องเกียรติ บงแก้ว