การทำสวนยางพารา

การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพารา

การเตรียมพื้นที่ปลูกยาพารา นั้นนับเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพราะหากเตรียมการไว้ดี การปรับปรุง และการบำรุงรักษาในอนาคตก็จะทำให้ง่ายไปด้วย เกษตรกรสวนยาง ต้องเตรียมพื้นที่ให้พร้อมโดยมีวิธีการคือ

หากมีต้นไม้ยืนต้น และ สวนยางเก่า ต้องทำการโค่นต้นไม้เหล่านั้นให้หมดเสียก่อน ส่วนวิธีการกำจัดนั้น มี 2 วิธี คือ

1. ก่อนอื่นให้ตัดต้นไม้โดยให้เหลือตอไว้ สูง 50-60 ซม. เพื่อจะได้ใช้สาเคมีในการทำลายให้ผุสลายทีหลัง สารที่ใช้ในการกำจัดตอไม้คือ ไทรโคลเปอร์ หรือ การ์ลอน 4 (ชื่อการค้า) โดยใช้ สารเคมี 5 ซีซี ผสมกับน้ำ 95 ซีซี ต่อหนึ่งตอ โดยจะทาก่อนหรือหลังจากตัดต้นไม้ 1-7 วัน ก็ได้แล้วแต่ความสะดวก

2. มีอีกวิธีหนึ่งคือ ใช้รถแทรกเตอร์ ไถต้นไม้ ตอไม้ ออกจากพื้นที่สวน

ภายหลังจากกำจัดต้นไม้ หรือ ต้นยางเกา เสร็จแล้ว ก็จัดการนำออกไปกองรวมไว้ที่แนวกันไป อาจจะเรียงกันไว้ หรือ กองไว้ก็แล้วแต่ รอให้ไม้เหล่านี้แห้ง ก็ทำแนวกันไฟไว้เสร็จแล้วก็เผา เพื่อกำจัดให้หมด หากการเผาครั้งแรกยังไม่หมด ก็เก็บส่วนที่เหล่ามารวมกันแล้วเผาใหม่อีกครั้ง จนหมดจากสวน

การเตรียมหลุมปลูกยางพารา

โดยทั่วไปแล้ว ทางกรมวิชาการเกษตร จะแนะนำให้ เตรียมหลุมปลูกยางพารา โดยให้มีขนาดกว้าง x ยาว x ลึก เท่ากันทุกด้าน คือ 50 x 50 x 50 ซม. ในตอนที่ขุดหลุมปลูกยางนั้น ให้แยกดินที่ขุดออกเป็นสองส่วนคือ ดินส่วนบนกับดินส่วนล่าง แยกกันไว้คนละส่วน ตากดินทิ้งไว้ให้แดดเผาสัก 10-15 วัน แล้วหลังจากนั้นให้นำดินส่วนบนมาทำการย่อยให้ร่วน แล้วผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุม เพื่อจะได้นำมารองพื้นและกลบหลุม

การปลูกซ่อมยางพารา

ภายหลังจากได้ปลูกกล้ายางพาราเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาจจะมีมีบางส่วนตายไปบ้าง ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง เช่น ความแห้งแล้ง สัตว์เลี้ยงมาเคี้ยวหรือหัก ถูกแมลงและโรคทำเลย หรือด้วยเหตุใดก็แล้วแต่ จำเป็นต้องปลูกซ่อม เพื่อจะได้ใช้พื้นที่อย่างเต็มพื้นที่

กล้ายางพาราที่จะใช้ ปลูกซ่อม แนะนำให้ใช้ต้นกล้าที่เป็น ยางชำถุง เพราะจะทำให้ต้นยางในสวน มีขนาดที่ไล่เลี่ยกัน โดยทั่วไปแล้ว จะต้องซื้อเผื่อ คือ ซื้อมาไว้พร้อมกับกล้าที่จะใช้ปลูก ให้ซื้อเกินไว้ก่อน เมื่อถึงเวลาปลูกซ่อม ก็จะได้ความสูงและอายุที่เท่ากันดังกล่าวไปแล้ว

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ควรหมั่นดูแล และปลูกซ่อมยางแทนส่วนที่ตายไป ก็ควรเร่งทำให้เสร็จภายในช่วงฤดูฝน หากสามารถทำเช่นนี้แล้ว ไม่ต้องห่วงว่า ต้นยางพารา ของท่านจะมีปัญหาเรื่องการเจริญเติบโต

ข้อควรระวัง คือไม่ควร ปลูกซ่อมยาง เมื่อมีอายุเกิน 1 ปีไปแล้ว เพราะอาจจะโตไม่ทันต้นอื่น ผลก็คือ เมื่อโดนต้นที่โตกว่ามาบังแดด จะทำให้การเจริญเติบโตไม่ทันต้นอื่นๆ นี่เป็นสิ่งที่ชาวสวนยาง ควรต้องคำนึงถึง

โดยสรุป แนะนำดังนี้

1. กำจัดต้นไม้ ตอไม้ ในขั้นตอน เตรียมพื้นที่ปลูกสวนยาง

2. กว้าง x ยาว x ลึก เท่ากันทุกด้าน คือ 50 x 50 x 50 ซม.

3. ตากดินทิ้งไว้ให้แดดเผาสัก 10-15 วัน

4. นำดินส่วนบนมาทำการย่อยให้ร่วน แล้วผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุม

5. ปลูกต้นกล้ายางซ่อม เมื่อมีบางต้นตายไป ในเวลาที่เหมาะสม

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง

ยางพาราจะสามารถปลูกได้และให้ผลดีถ้ามีสภาพแวดล้อมบางประการ ที่เหมาะสมดังนี้

1. พื้นที่ปลูกยาง - ไม่ควรอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเกิน 200 เมตร และไม่ควรมีความลาดเทเกิน 45 องศา หากจะปลูกยางในพื้นที่ที่มีความลาดเทเกิน 15 องศาขึ้นไป ควรปลูกแบบ ขั้นบันได

2. ดิน - ควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร โดยไม่มีชั้นของหินแข็งหรือดินดาน ซึ่งจะขัดขวางการเจริญเติบโตของราก เนื้อดินควรเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีการระบายน้ำและอากาศดี น้ำไม่ท่วมขัง ระดับน้ำใต้ดินลึกกว่า 1 เมตร ไม่เป็นดินเค็ม และมีความเป็นกรดเป็นด่าง 4.0-5.5

3. น้ำฝน - มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,350 มิลลิเมตรต่อปี และมีฝนตกไม่น้อยกว่า 120 วันต่อปี

4. ความชื้นสัมพันธ์ - เฉลี่ยตลอดปีไม่น้อยกว่า 65 เปอร์เซ็นต์

5. อุณหภูมิ - เฉลี่ยตลอดปีไม่แตกต่างกันมากนัก ควรมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 24-27 องศาเซลเซียส

6. ความเร็วลม - เฉลี่ยตลอดปีไม่เกิน 1 เมตรต่อวินาที

7. แหล่งความรู้ - ควรมีแหล่งความรู้เรื่องยางไว้ให้บริการแก่เกษตรกรในพื้นที่ด้วย

การเตรียมดิน

เมื่อเผาปรนเสร็จให้ เตรียมดิน โดยการไถ 2 ครั้ง พรวน 1 ครั้ง ในกรณีที่เป็น พื้นที่ลาดเทมาก เช่น เนินเขาชันเกิน 15 องศา จะต้องทำขั้นบันไดหรือชานดิน เพื่อป้องกันมิให้น้ำฝนชะล้างเอาหน้าดินไหลไปตามน้ำ อาจทำเฉพาะต้นหรือ ทำยาวเป็นแนวเดียวกัน ล้อมเป็นวงกลมรอบไปตามไหล่เขาหรือเนินก็ได้ โดยให้ระดับขนานไปกับพื้นดิน ขั้นบันไดควรกว้างน้อยที่สุด 1.50 เมตร แต่ละขั้น ให้ตัดดินลึกและเอียงเข้าไปในทางเนินดิน ตรงขอบด้านนอกทำเป็นคันดินสูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 60-70 เซนติเมตร ระยะระหว่างขั้นบันไดประมาณ 8-10 เมตร


ขอบคุณภาพจาก www.thaiarcheep.com

1. พื้นที่ราบ

ถ้าต้องการปลูกพืชแซมในระหว่างแถวของต้นยาง

- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 8 เมตร จะได้จำนวน 80 ต้นต่อไร่

- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่

ถ้าต้องการปลูกพืชคลุมดินในระหว่างแถวของต้นยาง

- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่

- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร จะได้จำนวน 88 ต้นต่อไร่

2. พื้นที่ลาดหรือพื้นที่เชิงเขา

ตั้งแต่ความชัน 15 องศาขึ้นไปต้องทำแนวขั้นบันไดโดยใช้ระยะระหว่างขั้นบันไดอย่างน้อย 8 เมตร ระยะระหว่างต้น 2.50 หรือ 3 เมตร เมื่อกำหนดระยะปลูกได้แล้วก็ทำการวางแนวและปักไม้ทำแนวเพื่อขุดหลุมปลูกต่อไป แนวปลูกควรวางตามทิศทางลม

วิธีปลูก

การปลูกยางพาราจะแตกต่างกันไปตามชนิดของต้นพันธุ์ยางซึ่งในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการปลูกด้วยต้น ตอตาและต้นยางชำถุงเท่านั้น เนื่องจากการปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลงมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษามาก จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมทำกันในปัจจุบัน

1. การปลูกด้วยต้นติดตา

การปลูกด้วยต้นติดตา นำดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อย แล้วใส่รองก้นหลุมแล้วกลบหลุมให้เต็มด้วยดินล่าง จากนั้นใช้เหล็กหรือไม้แหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาเล็กน้อย ปักนำเป็นรูตรงกลางหลุมให้ลึกเท่ากับ ความยาวของรากแก้ว แล้วนำต้นตอปักลงไป กดดินให้แน่น พูนดินบริเวณโคนต้นเล็กน้อยอย่าให้กลบแผ่นตา พยายามให้รอยต่อระหว่างรากกับลำต้นอยู่ระดับปากหลุมพอดี

2. การปลูกด้วยต้นยางชำถุง

2.1 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกและภาคใต้ นำดินที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟต เรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุม จากนั้นนำต้นยางชำถุงไปตัดดินที่ก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอแล้ววางลงไปในหลุม โดยให้ดินปากถุงหรือรอยต่อระหว่างลำต้นและรากอยู่ในระดับพื้นดินปากหลุมพอดี ถ้าต่ำเกินไปให้ใส่ดินรองก้นหลุมเพิ่ม หรือถ้าสูงเกินไปให้เอาดินในหลุมออก จัดต้นยางให้ตรงกับแนวต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินล่างที่เหลือลงไปจนเกือบเต็มหลุม อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆดึงถุงพลาสติกที่กรีดไว้แล้วออกอัดดินข้างถุงให้แน่น แล้วกลบดินเพิ่มจนเต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง พูนโคนเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขัง จากนั้นปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางไว้เพื่อป้องกันลมโยก

2.2 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ปลูกแบบลึก โดยใช้มีดคมๆ ตัดดินก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอจากนั้นวางยางชำถุงลงในหลุมปลูกให้ถุงแนบชิดกับดินเดิมก้นหลุมจัดให้ตรงแนวกับต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตแล้วลงในหลุมประมาณครึ่งหนึ่งของถุง อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆ ดังถุงพลาสติกที่กรีดไว้ออก อัดดินที่ถมข้างถุงให้แน่นแล้วกลบดินเพิ่มให้เต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง หลังจากปลูกต้นยางชำถุงเสร็จแล้ว ควรปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางเพื่อป้องกันลมโยกและหาเศษวัชพืชคลุมดินบริเวณโคนต้นไว้ด้วย

ชนิดของต้นพันธุ์ยาง

ชนิดของต้นพันธุ์ยาง เป็นการแบ่งลักษณะของต้นพันธุ์ที่เราจะนำไปปลูก ซึ่งแต่ละชนิดก็มีวิธีการทำและวิธีการปลูกที่แตกต่างกัน เมื่อเราได้รู้ตรงนี้ ก็จะรู้วิธีการในการเตรียมพื้นที่และรู้ว่าควรปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง

1. ต้นตอตา

ต้นตอตา คือ ต้นกล้ายางที่ได้รับการติดตาด้วยยางพันธุ์ดีหลังจากที่ติดตาเรียบร้อยแล้ว จึงถอนขึ้นมาตัดแต่งราก และตัดต้นเดิม เหนือแผ่นตาประมาณ 2 นิ้วทิ้ง แล้วนำต้นตอที่ได้ไปปลูกทันที ต้นตอตาจะเป็นต้นพันธุ์ที่ไม่มีดินห่อหุ้มรากหรือเรียกว่าต้นเปลือกราก

2. ต้นติดตาชำในถุงพลาสติกหรือยางชำถุง

ต้นติดตาชำในถุงพลาสติกหรือยางชำถุง คือ ต้นตอตาที่น้ำมาชำในถุงพลาสติกขนาดกว้าง 4 นิ้วยาว 14 นิ้ว หรือขนาดใหญ่กว่านี้ที่บรรจุดินไว้เรียบร้อยแล้ว ดูแลบำรุงรักษา จนตาแตกออกมาเป็นใบได้ขนาด 1-2 ฉัตร อายุประมาณ 3-5 เดือน และมีใบในฉัตรยอดแก่เต็มที่

3. ต้นยาง

ต้นยาง ที่ปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลง คือการปลูกสร้างสวนยางโดยใช้เมล็ดปลูกในแปลงโดยตรง เมื่อเมล็ดเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่มีขนาดเหมาะสมจึงทำการติดตาในแปลงปลูก ต้นพันธุ์ยางทั้ง 3 ชนิดดังที่กล่าวมาแล้วเหมาะสมที่จะปลูกในภาคตะวันออก และภาคใต้ แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแนะนำให้ปลูกด้วยต้นยางชำถุง เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

พันธุ์ยางพารา ที่แนะนำให้ปลูก

การปลูกยางพารา นั้นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ พันธุ์ยางพารา เนื่องจาก หากมีการคัดเลือกพันธุ์ที่ดีแหละเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี และคุ้มค่าต่อการลงทุนของ เกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่ง สถานบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้ให้รายละเอียดไว้ ดังนี้

1. การเลือกพันธุ์ยางพารา ควรเป็นพันธุ์ที่ มีคุณสมบัติเหล่านี้ประกอบด้วยคือ

- ให้ผลผลิตสูง

- การเจริญเติบโตดี

- มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่

- ต้านทานโรคในพื้นที่ที่มีปัญหารุนแรงดี

2. พันธุ์ยางพาราที่แนะนำให้ปลูก ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2546 ได้จัดไว้เป็นกลุ่ม มี 3 กลุ่ม ขอแนะนำพันธุ์ยางชั้น 1 ในแต่ละกลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางสูงได้แก่พันธุ์ สถาบันวิจัยยาง 251, สถาบันวิจัยยาง 226, BPM 24, RRIM 600

พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 (RRIT 251)

- ผลผลิตเนื้อยางแห้งเฉลี่ย 10 ปี 457 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ส่วนยางใหม่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 317 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

- การเจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง ดีทั้งในระยะก่อนเปิดกรีดและระหว่างกรีด การผลัดใบค่อนข้างช้าและผลัดใบพร้อมกัน สีของน้ำยางและยาแผ่นดิบมีสีขาว

- ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นวัน

- ต้านทานโรคเส้นดำดีต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอบโทรา โรคราแป้ง โรคใบจุดนูน และโรคราสีชมพูปานกลาง มีต้นเปลือกแห้งจำนวนน้อย ตานทานลมปานกลาง

- ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง

พันธุ์ BPM 24

- ผลผลิตเฉลี่ย 312 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อใช้สารเคมีเร่งน้ำยา

- การเจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิมหนามาก เปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง

- ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นวัน หากใช้ระบบกรีดถี่ จะทำให้ต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งมากขึ้น

- ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราดีมาก ต้านทานโรคเส้นดำดี ต้านทานโรคราแป้ง โรคใบจุดนูน และโรคราสีชมพูปานกลาง มีต้นเปลือกแห้งจำนวนปานกลางต้านทานลมปานกลาง

- ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น พื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง และพื้นที่ที่มีความชื้นสูง

ข้อสังเกต : ในระยะยางอ่อนแตกกิ่งเล็ก ๆ จำนวนมาก ลำต้นและกิ่งมีรอยแผลน้ำยางไหล ซึ่งจะหายไปในระยะต่อมา

พันธุ์ สถาบันวิจัยยาง 226 (RRIT 226)

- ผลผลิต 8 ปี กรีดเฉลี่ย 346 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

- การเจริญเติบโตระยะก่อนเปิดกรีดและระยะระหว่างกรีดปานกลาง ความสม่ำเสมอของขนาดลำต้นทั้งแปลงปานกลาง

- ควรใช้ระรบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน

- ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและโรคเส้นดำดี ต้านทานโรคใบจุดนูนและโรคราสีชมพูปานกลาง และอ่อนแอต่อโรคราแป้ง

- ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชันและพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าที่ดินตื้นและมีระดับน้ำใต้ดินสูง

พันธุ์ RRIM 600

- ผลผลิตเฉลี่ย 289 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลผลิตเพิ่มขึ้นปานกลางเมื่อใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ผลผลิตลดลงมากในช่วงผลัดใบในพื้นที่แห้งแล้ง

- การเจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิมบาง และเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง

- ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นวัน

- ต้านทานโรคราแป้งและโรคใบจุดนูนปานกลางอ่อนแอต่อโรคราสีชมพู อ่อนแอมากต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื่อไฟทอปโทราและโรคเส้นดำ มีต้นเปลือกแห้งจำนวนน้อย ต้านทานลมปานกลาง

- ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชันไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง

- ข้อสังเกต : ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีโรคใบร่วงไฟทอปโทราและโรคเส้นดำระบาดอย่างรุนแรง

กลุ่มที่ 2 พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูงได้แก่ พันธุ์ PB 235, PB 255, PB 260, RRIC 110

พันธุ์ PB 235

- ระยะก่อนเปิดกรีดเจริญเติบโตดีมาก เปิดกรีดได้เร็ว ความสม่ำเสมอของขนาดลำต้นทั้งแปลงดี ทำให้มีจำนวนต้นเปิดกรีดมาก ระยะระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง

- ระยะยางอ่อนแตกกิ่งเร็ว กิ่งมีขาดเล็กจำนวนมาก และทยอยทิ้งกิ่งด้านล่าง เมื่ออายุเพิ่มขึ้นเหลือกิ่งขนาดกลาง 4 – 5 กิ่งในระดับสูง มีพุ่มใบค่อนข้างบาง ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปกลม

- เริ่มผลัดใบช้าและทยอยผลัดใบ

- เปลือกเดิมหนาปานกลาง เปลือกงอกใหม่บาง

- ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นวัน

- ผลผลิตน้ำยาง 10 ปี กรีดเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 60 ที่ปลูกในแปลงทดลองเดียวกันร้อยละ 37 ผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อใช้สารมีเร่งน้ำยาง ในช่วงผลัดใบผลผลิตลดลงปานกลาง

- ผลผลิตเนื้อไม้ในช่วงอายุ 6, 15 และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม่ส่วนลำต้น 0.10, 0.30 และ 0.41 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 6.75, 22.34 และ 28.09 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตามลำดับ

- ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราปานกลาง อ่อนแอมากต่อโรคราแป้งและโรคใบจุดนูน

- ต้านทานโรคเส้นดำปานกลาง และต้านทานดีต่อโรคราสีชมพู

- มีจำนวนต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งค่อนข้างมาก

- ต้านทานลมปานกลาง

- ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง

ข้อสังเกต : ยางพันธุ์นี้มีการเจริญเติบโตดีมาก เปิดกรีดได้เร็วเนื่องจากทรงพุ่มขนาดใหญ่ไม่ควรปลูกระหว่างต้นน้อยกว่า 3 เมตร

ข้อจำกัด : ไม่แนะนำการกรีดถี่ที่มีวันกรีดติดต่อกันเพราะต้นยางจะเกิดอาการเปลือกแห้งมาก

พันธุ์ PB 255

- ระยะก่อนเปิดกรีดเจริญเติบโตดี ความสม่ำเสมอของขนาดลำต้นทั้งแปลงปานกลาง ระยะระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง

- แตกกิ่งขนาดเล็กจำนวนมากพุ่มใบทึบ ทรงพุ่มมีขนาดปานกลางเป็นรูปกลม

- เริ่มผลัดใบค่อนข้างช้า

- เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่หนา

- ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน

- ผลผลิตน้ำยาง 10 ปีกรีดเฉลี่ย 318 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ที่ปลูกในแปลงทดลองเดียวกันร้อยละ 46 ผลผลิต เพิ่มขึ้นปานกลางเมื่อใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ในช่วงผลัดใบผลผลิตลดลงปานกลาง

- ผลผลิตเนื้อไม้ในช่วงอายุ 6, 15 และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.10, 0.28 และ 0.39 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 6.26 , 21.57 และ 27.24 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตามลำดับ

- อ่อนแอต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา โรคใบจุดนูนและโรคราสีชมพู ต้านทานปานกลางต่อโรคราแป้งและโรคเส้นดำ

- มีจำนวนต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งปานกลาง

- ต้านทานลมดี

- ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นและพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง

- ข้อจำกัด : ไม่แนะนำการกรีดถี่ที่มีวันกรีดติดต่อกัน เพราะต้นยางจะเกิดอาการเปลือกแห้งมาก

พันธุ์ PB 260

- ระยะก่อนเปิดกรีดเจริญเติบโตดี ความสม่ำเสมอของขนาดลำต้นทั้งแปลงดี ทำให้มีจำนวนต้นเปิดกรีดมาก ระยะหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง

- แตกกิ่งน้อยกิ่งมีขนาดปานกลางและแต่ละกิ่งจะแตกกิ่งเล็กๆ จำนวนมากเป็นชั้นๆ พุ่มใบทึบในช่วงอายุน้อยทรงพุ่มมีขนาดปานกลางเป็นรูปกลม

- เริ่มผลัดใบช้า

- เปลือกเดิมหนาปานกลาง เปลือกงอกใหม่บาง

- ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นวัน

- ผลผลิตน้ำยาง 10 ปีกรีดเฉลี่ย 322 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ที่ปลูกในแปลงทดลองเดียวกันร้อยละ 32 ผลผลิตเพิ่มขึ้นปานกลาง เมื่อใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ในช่วงผลผัดใบผลผลิตลดลงเล็กน้อย

- ผลผลติเนื้อไม้ ในช่วงอายุ 6, 15 และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม่ส่วนลำต้น 0.10, 0.26 และ 0.36 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิเป็น 6.85, 19.90 และ 25.53 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตามลำดับ

- ต้านทานปานกลางต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา โรคราแป้งโรคใบจุดนูนและโรคเส้นดำ ต้านทานดีต่อโรคราสีชมพู

- มีจำนวนต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งค่อนข้างมาก

- ต้านทานลมดี

- ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง RRIC 110

- ระยะก่อนเปิดกรีดเจริญเติบโตดีมาก เปิดกรีดได้เร็ว และความสม่ำเสมอของขนาดลำต้นทั้งแปลงดี ทำให้มีจำนวนต้นเปิดกรีดมาก ระยะระหว่าง กรีดเจริญเติบโตปานกลาง

- กิ่งมีขนาดใหญ่แตกกิ่งในระดับสูงเนื่องจากการทิ้งกิ่งด้านล่างเมื่อยางมีอายุมากขึ้นทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปพัด

- เริ่มผลัดใบช้า

- เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่บาง

- ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นวัน

- ผลผลิตน้ำยาง 10 ปี กรีดเฉลี่ย 324 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ที่ปลูกในแปลงทดลองเดียวกันร้อยละ 27 ผลผลิตเพิ่มขึ้นปานกลาง เมื่อใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ในช่วงผลัดใบผลผลิตลดลงเล็กน้อย

- ผลผลิตเนื้อไม้ ในช่วงอายุ 6,15 และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.10, 0.29 และ 0.40 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 6.44, 21.86 และ 27.55 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตามลำดับ

- ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราดี และต้านทานโรคราแป้ง โรคใบจุดนูน โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพูปานกลาง

- มีจำนวนต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งปานกลาง

- ต้านทานลมปานกลาง

- ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ลาดชันพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง

- ข้อสังเกต : น้ำยางเมื่อนำไปทำเป็นยางแผ่นดิบ จะมีสีค่อนข้างคล้ำ

กลุ่มที่ 3 : พันธุ์ยางผลผลิตเนื้อไม้สูง ได้แก่พันธุ์ ฉะเชิงเทรา 50, AVPOS 2037, BPM 1

พันธุ์ ฉะเชิงเทรา 50 (RRIT 402)

- การเจริญเติบโตของลำต้น เจริญเติบโตดีมาก ต้นยางอายุ 6 ปี มีขนาดเส้น รอบวงลำต้น 51.6 เซนติเมตร

- การแตกกิ่งและทรงพุ่ม ทรงพุ่มค่อนข้างใหญ่ ลักษณะการแตกกิ่งสมดุล การแตกกิ่งอยู่ในระดับสูง และรูปทรงลำต้นตรง

- การผลัดใบ เริ่มผลัดใบเร็ว

- ผลผลิตเนื้อไม้ ต้นยางอายุ 6 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม่ส่วนลำต้นตรง

- การผลัดใบ เริ่มผลัดใบเร็ว

- ผลผลิตเนื้อไม้ ต้นยางอายุ 6 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.11 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 7.76 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่

- ต้านทานโรคใบเร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราปานกลางต้านทานโรคราแป้งปานกลางและต้านทานดีต่อโรคใบจุดนูน

- การเจริญเติบโตดีมาก ต้นยางอายุ 6, 15 และ 20 ปี มีขนาดเส้นรอบวงลำต้น 50.3, 78.5 และ 87.3 เซนติเมตร ตามลำดับ

- การแตกกิ่งและทรงพุ่มในช่วงยางอายุน้อยมีกิ่งขนาดเล็กจำนวนมากแตกกิ่งสมดุล พุ่มใบทึบ ทิ้งกิ่งเล็กค่อนข้างเร็วเมื่ออายุมากเหลือกิ่งขนาดใหญ่ 1-2 กิ่งในระดับสูงทำให้ทรงพุ่มโปร่งรูปทรงลำต้นตรง ลักษณะกลม

- การผลัดใบ เริ่มผลัดใบเร็ว

- ผลผลิตเนื้อไม้ ต้นยางอายุ 6,15 และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 03.10, 0.31 และ 0.43 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 7.22, 23.07 และ 28.90 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตามลำดับ

- อ่อนแอต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราต้านทานปานกลางต่อโรคราแป้งและต้านทานดีต่อโรคใบจุดนูนและโรคราสีชมพู

- ต้านทานลมดี

- ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นและพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง BPM 1

- การเจริญโตดีมาก ต้นยางอายุ 6, 15 และ 20 ปี มีขนาดเส้นรอบวงลำต้น 50.1,78.1 และ 86.9 เซนติเมตรตามลำดับ

- ในช่วงอายุน้อยแตกกิ่งต่ำมีกิ่งขนาดเล็กจำนวนมากการแตกกิ่งสมดุลทรงพุ่มรูปกรวย มีขนาดปานกลาง ทรงพุ่มโปร่งอยู่ในระดับสูง

- การผลัดใบ เริ่มผลัดใบเร็ว

- ผลผลิตเนื้อไม้ ต้นยางอายุ 6, 15 และ 20 ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.10, 0.31 และ 0.43 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 7.12, 22.91 และ 28.73 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตามลำดับ

- ต้านทานดีต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา และต้านทานปานกลางต่อโรคราแป้ง โรคใบจุดนูนและโรคราสีชมพู

- ต้านทานลมดี

- ปลูกได้พื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นและพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง

การใส่ปุ๋ยยางพารา

การใส่ปุ๋ยยางพารา มีวิธีการใส่ที่แตกต่างกันระหว่างต้นที่ปลูกใหม่กับต้นยางที่ปลูกนาน ดังนั้น ควรใส่ใจในเรื่องนี้สักเล็กน้อย ทั้งนี้ก็เพื่อให้การปุ๋ยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์แก่ต้นยางพาราให้มากที่สุด ซึ่งต้องเข้าใจระบบการหากินของรากยางด้วย จึงจะเป็นการดี

การใส่ปุ๋ยที่ถูกวิธี

เขตสีเหลืองคือเขตหว่านปุ๋ย (กรณีที่ใช้วิธีหว่าน)

-ต้นยางปลูกใหม่ ลักษณะของรากจะแผ่ขยายออกเป็นวงกลมรอบลำต้นยาง และไปยังไม่ไกล ดังนั้นเพื่อให้การใส่ปุ๋ยนั้นได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง จึงควรใส่ปุ๋ยแก่ต้นยาง เป็นวงกลมรอบลำต้น แต่อย่าให้ปุ๋ยถูกต้นยางโดยตรง

-ต้นยางที่มีอายุ 17 เดือนขึ้นไป ถึง 4 ปีกว่า รากยางพารา จะขยายออกไปถึงกึ่งกลางระหว่าแถวยาง การใส่ปุ๋ยให้หว่านปุ๋ย กระจายสม่ำเสมอเป็นแถบยาว โดยให้ห่างจากคนต้นยาง ข้างละ 1 เมตร

-ต้นยางที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป ส่วนที่เป็นรากจะยิ่งแผ่ขยายเพิ่มมากขึ้นและหนาแน่นมากยิ่งขึ้น โดยมากจะห่างจากโคนต้นยางประมาณ 1 ฟุตไปจนถึง 3 เมตร ดังนั้น การใส่ปุ๋ยต้นยาง ที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป จึงสามารถหว่านเป็นแถบกว้างๆ ได้เลย และต้องให้ห่างจากโคนต้น อย่างน้อย 50 ซม.และแผ่กว้างออกไปอีก 3 เมตร

-ต้นยางพาราที่เปิดกรีดแล้ว เกษตรกรชาวสวนยางสามารถหว่านปุ๋ยทั่วสวนได้เลย แต่ต้องห่างจากโคนต้นยางพารา ข้างละ 1 เมตร

อย่าลืมเรื่องการใส่ปุ๋ยอีกอย่างคือ ระยะก่อนฝน และ หลังฝน เพื่อต้นยางจะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกเวลา และใส่เพียงปีละ 2 ครั้ง หากผู้ใดต้องการใส่หลายครั้ง ก็ลดปริมาณปุ๋ยลงก็ได้ แล้วใส่ห่างกันครั้งละ 2 – 3 เดือน (อันนี้วิชาการนอกตำรา)


การกรีดยาง

การกรีดยาง ใช่ว่าเป็นเพียงการนำมีดกรีดยางมากรีดแล้วได้ผลเหมือนกันหมด แต่ต้องคิดเสมอว่า ทุกมีดที่เราลงมือกรีดนั้น ต้องให้ได้ น้ำยางมากที่สุด โดยทำให้เปลือกยางเสียหายน้อยที่สุด เพื่อจะได้ยืดระยะเวลาในการกรีดให้ได้ถึง 25-30 ปี ซึ่งจะให้ผลคุ้มค่ามากกว่า อีกประการหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุดด้วย

ขนาดของต้นยางที่เปิดกรีดได้

1. ต้นยางที่เมื่อเราวัดขนาด ณ ความสูงจากพื้นดิน 150 ซม. มีรอบต้นใหญ่ตั้งแต่ 50 ซม. เป็นต้นไป เพราะจะให้น้ำยางได้ดีกว่าต้นที่มีขนาดเล็ก และยังเป็นการทำให้ต้นยางพารา ต้านทานโรคได้ดีกว่าด้วย

2. เปิดกรีดครั้งแรกเมื่อมีจำนวนต้นยางที่พร้อมเปิดกรีดในสวนเกินกว่าครึ่งหนึ่ง ของต้นยาง ทั้งหมดในสวน เช่นในสวนเรามีต้นยางทั้งหมด 2,000 ต้น ก็ต้องมีต้นยางพาราที่มีขนาดเส้นรอบวง ตั้งแต่ 50 ซม.ขึ้นไป อย่างน้อย 1,000 ต้น

3. ต้นยางติดตา สามารถเปิดกรีดครั้งแรกได้ที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 50, 75, 100, 125, หรือ 150 เซนติเมตรระดับใดระดับหนึ่งก็ได้ แต่ถ้าเปิดกรีดต่ำ จะได้รับผลผลิตมากกว่า

วิธีติดรางและถ้วยรับน้ำยาง

เวลาที่เหมาะสมในการกรีดยาง

คำแนะนำจาก กรมวิชาการการเกษตร แนะนำไว้ว่า ควรจะเริ่มกรีดยางในช่วงเช้า คือ เวลาประมาณ 06.00-08.00 น. เพราะจะทำให้ปฏิบัติงานได้สะดวก เนื่องจากมองเห็นชัดเจนกว่ากลางคืนและผลผลิตที่ได้ใกล้เคียงกับการกรีดในตอนกลางคืน

แรงงานที่ใช้ในการกรีดยาง

แรงงานที่ใช้ในการกรีดยาง จากการคำนวณจำนวนแรงงานในการกรีดยางแบบสบายๆ นั้นคนกรีดยาง 1 คน จะสามารถกรีดยางในสวนยางที่ปลูกในพื้นที่ราบ ตามระบบครึ่งลำต้นวันเว้นวัน ได้ประมาณ 400-450 ต้นต่อวัน

ส่วนการกรีดยาง ตามระบบแบ่งสามส่วนหรือสี่ส่วนของลำต้น สองวันเว้นวัน จะสามารถกรีดได้ 700-750 ต้นต่อวัน

วิธีการกรีดยาง

ควรกรีดยางโดยใช้วิธีกระตุกข้อมือหรือการซอย พร้อมกับย่อตัวและสลับเท้าไปตามรอยกรีด ของต้นยาง อย่ากรีดโดยวิธีใช้ท่อนแขนลากหรือกระชากเป็นอันขาด การกรีดโดยวิธีกระตุกข้อมือจะทำให้กรีดได้เร็ว ควบคุมการกรีดง่าย กรีดเปลือกได้บาง แม้จะกรีดบาดเนื้อไม้ก็จะบาดเป็นแผลเล็กๆเท่านั้น

ระบบการกรีดยาง

เนื่องจากในระยะ 2-3 ปีแรกของการกรีด ต้นยางยังอยู่ในระยะการเจริญเติบโตค่อนข้างสูง การกรีดยาง มากเกินไปจะทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นจึงควรกรีดยางในระบบครึ่งต้นวันเว้นวัน โดยหยุดกรีดในช่วงผลัดใบและไม่มีการกรีดชดเชยเพื่อ ทดแทน วันที่ฝนตกจนกระทั่งปีที่ 4 ของการกรีดเป็นต้นไป จึงสามารถกรีดชดเชยได้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวันนี้ใช้ได้กับยาง เกือบทุกพันธุ์ ยกเว้นบางพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่ายเท่านั้นที่ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นสองวัน

ข้อควรปฏิบัติในการกรีดยาง

1. ควรกรีดยางตอนเช้าหลังจากที่มีแสงสว่างแล้ว

2. กรีดยางเฉพาะต้นที่ได้ขนาดแล้ว

3. รอยกรีดจะต้องเริ่มจากซ้ายบนมาขวาล่าง เอียงประมาณ 30 องศากับแนวระดับ

4. อย่ากรีดเปลือกหนา เพราะจะทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหาย

5. อย่ากรีดเปลือกหนา ภายใน 1 เดือน ไม่ควรกรีดให้เปลืองเปลือกเกิน 2.5 เซนติเมตร หรือภายใน 1 ปี ไม่ควรกรีดให้เปลืองเปลือกเกิน 25 เซนติเมตร

6. หยุดกรีดเมื่อยางผลัดใบหรือเป็นโรคหน้ายาง

7. มีดกรีดยางต้องคมอยู่เสมอ

8. การเปิดกรีดยางหน้าที่สองและหน้าต่อไปให้เปิดกรีดที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร

การกรีดยางหน้าสูง

การกรีดยางหน้าสูง หมายถึง การกรีดยางหน้าบนเหนือหน้ากรีด ปกติซึ่งเป็นส่วน ที่ไม่เคยกรีดยางมาก่อน ต้นยางที่เหมาะสมที่จะทำการกรีดยางหน้าสูงคือ ต้นยางก่อนโค่นซึ่งมีอายุมาก หรือหน้ากรีดปกติเสียหาย

โดยทั่วไปการกรีดยางหน้าสูงจะต้องใช้สารเคมีเร่งน้ำยาควบคู่กันไปด้วย เพื่อต้องการให้ได้รับยาง มากที่สุดก่อนที่จะโค่นยางเก่าเพื่อปลูกแทน 2-4 ปี โดยใช้สารเคมีเร่งน้ำยางอีเทรล 2.5 เปอร์เซ็นต์ เป็นตัวเร่ง

การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับรอยกรีดหน้าล่าง

การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับรอยกรีดหน้าล่าง นี้เหมาะสำหรับต้นยางที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยใช้สารเคมีเร่งน้ำยางเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ ทาเหนือรอยกรีดหน้าล่างทุก 3 สัปดาห์โดยไม่ต้องขูดเปลือกและลอกขี้ยาง แต่ต้องกรีดครึ่งต้น วันเว้นสองวันโดยเคร่งครัดเพื่อป้องกันการเกิดอาการ โรคเปลือกแห้ง ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมี เร่งน้ำยายางกับยางที่เพิ่งเปิดกรีดใหม่ ยกเว้นยางบางพันธุ์ที่มักจะให้น้ำยางน้อย ในช่วงแรก ของการเปิดกรีด เช่น พันธุ์จีที (GT) 1 อาจใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 2.5 เปอร์เซ็นต์ทาในรอยกรีด โดยลอกขี้ยางออกก่อนจากที่เปิดกรีดไปแล้ว 1 เดือนก็ได้และทาสารเคมีเร่งน้ำยางทุก 3-4 เดือน หรือปีละ 3-4 ครั้ง ใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นสองวัน แต่ในปีถัดไปถ้าผลผลิตสูงขึ้น แล้วควรหยุดใช้ สารเคมีเร่งน้ำยาง

โรคและแมลงศัตรูยางพารา

1. โรครากขาว

โรครากขาว เป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่งที่เกิดจากเชื้อรา เกิดขึ้นได้กับยางทั่วไปทั้งยางอ่อนและยางแก่

ลักษณะอาการ จะสังเกตเห็นพุ่มใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้ม ใบร่วงหมดทั้งต้น ขอบใบม้วนเข้าด้านใน ถ้าตรวจดูที่รากจะเห็นเส้นใยของเชื้อราแตกสาขา เป็นร่างแหจับติดแน่นและแผ่คลุมผิวรากที่เป็นโรค ลักษณะของเส้นใย มีสีขาวปลายแบน เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะนูนกลม และกลายเป็นสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลแห้งซีด ในช่วงที่มีฝนตกจะมีดอกเห็ด เกิดขึ้นตรงบริเวณโคนต้นหรือส่วนรากที่โผล่พ้นดิน ลักษณะดอกเห็ดจะซ้อนกันหลายชั้น ผิวบนสีเหลืองแกมส้ม ขอบสีขาว ส่วนผิวล่างมีสีส้มแดงหรือน้ำตาล ถ้าตัดดอกเห็นตามขวางจะเห็นชั้นบนเป็นสีขาว และชั้นล่างเป็นสีน้ำตาลแดงชัดเจน

การป้องกันและรักษา

1. การเตรียมพื้นที่ปลูกยางจะต้องทำการถอนรากและเผาทำลายตอไม้ ท่อนไม้ให้หมด เพื่อทำลายเชื้อราอันอาจทำให้เกิดโรครากขาวได้

2. หลังจากปลูกยางไปแล้วประมาณ 1 ปี หมั่นตรวจดูต้นที่เป็นโรค หากไม่พบต้นที่เป็นโรคให้ป้องกันด้วยการทาสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% เคลือบไว้ที่โคนต้นตรงคอดิน รากแก้ว และฐานของรากแขนงแขนง

3. หากพบต้นที่เป็นโรคบริเวณโคนต้น โคนรากและรากแขนงให้ตัดหรือเฉือนทิ้ง แล้วทาด้วยสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% ผสมน้ำและควรทำการตรวจซ้ำในปีต่อไป

4. ถ้าพบโรครากขาวในต้นยางอายุน้อยให้ทำการขดรากที่เป็นโรคขึ้นมาเผาทำลาย


2. โรคเส้นดำ

โรคเส้นดำ เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า เป็นโรคที่ทำอันตรายต่อหน้ากรีดยางมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่มีความชื้นสูง ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุนแรงจนกรีดซ้ำหน้าเดิมไม่ได้ ต้นยางจึงให้ผลผลิตสั้นลงโดยอาจกรีดได้เพียง 8-16 ปีเท่านั้น

ลักษณะอาการ จะปรากฏอาการเหนือรอยกรีด โดยในระยะแรกเปลือกจะซ้ำมีสีผิดปกติ ต่อมารอยช้ำจะเปลี่ยนเป็นรอยบุ๋มสีดำ ขยายตัวในแนวตั้ง ถ้าเฉือนเปลือกออกดูจะพบลายเส้นดำบนเนื้อไม้ อาการในขั้นรุนแรงจะทำให้เปลือกบริเวณนั้นปริและมีน้ำยางไหลตลอดเวลา เปลือกจะเน่าหลุดไปในที่สุด เปลือกงอกใหม่จะมีลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่า ทำให้กรีดยางต่อไปไม่ได้

การป้องกัน

1. อย่าเปิดหน้ายางหรือขึ้นหน้ายางใหม่ในระหว่างฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีฝนตก และอย่ากรีดลึกจนถึงเนื้อไม้เพราะจะทำให้หน้ายางเสียหาย โอกาสที่เชื้อจะเข้าทำลายมีมากขึ้น

2. ตัดแต่งกิ่งยางและปราบวัชพืชให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก จะช่วยให้หน้ายางแห้งเร็วขึ้น และเป็นการลดความรุนแรงของโรคได้

3. การกรีดยางในฤดูฝนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่มีโรคใบร่วงระบาด ควรทาหน้ายางด้วยสารเคมีชนิดเดียวกับที่ใช้รักษา

การรักษา เมื่อพบหน้ากรีดยางเริ่มแสดงอาการให้ใช้สารเมตาแลคซิลอัตรา 7-14 กรัม (1/2 - 1ช้อนแกง) ต่อน้ำ 1 ลิตร ผสมสารแผ่กระจายและจับติด จำนวน 2 ซี.ซี. ( ฝ ช้อนชา) ใช้สารอย่างใดอย่างหนึ่งทาหน้ากรีดยางทุก 7 วัน ประมาณ 3-4 ครั้ง จะสามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้ แต่ถ้าหากฝนตกชุกติดต่อกัน ควรทาสารเคมีต่อไปอีกจนกว่าโรคนี้จะหาย


3. โรคเปลือกเน่า

โรคเปลือกเน่า เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ระบาดรุนแรงมากในฤดูฝน ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุ่นแรงจนกรีดซ้ำไม่ได้

ลักษณะอาการ ระยะแรกจะเป็นรอยบุ๋มสีจางบนเปลือกงอกใหม่เหนือรอยกรีดต่อมาแผลนั้นจะมีเส้นใยของเชื้อราสีเทา ขึ้นปกคลุม และขยายลุกลามเป็นแถบขนานไปกับรอยกรีด ทำให้เปลือกบริเวณดังกล่าวนี้เน่าหลุดเป็นแว่น เหลือแต่เนื้อไม้สีดำ การป้องกัน

1. เนื่องจากโรคนี้มักเกิดในแหล่งปลูกยางที่มีความชื้นสูงมาก ๆ ดังนั้นจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชในสวนยางเป็นประจำเพื่อให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ความชื้นในแปลงยางจะได้ลดลง

2. ถ้าพบว่าต้นยางเป็นโรคเปลือกเน่า ควรหยุดกรีดยางประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันมิให้เชื้อแพร่ไปติดต้นอื่น


4. โรคเปลือกแห้ง

โรคเปลือกแห้ง สาเหตุสำคัญเกิดจากสวนยางขาดการบำรุงรักษา และการกรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป จึงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้น มีอาหารไม่พอเลี้ยงเปลือกยางบริเวณนั้น จึงแห้งตาย นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการผิดปกติภายในทอน้ำยางเองด้วย

ลักษณะอาการ หลังจากกรีดยางแล้ว น้ำยางจะแห้งเป็นจุดๆ ค้างอยู่บนรอยกรีดเปลือกยางมีสีน้ำตาลอ่อน ถ้ายังกรีดต่อไปอีก เปลือกยางจะแห้งสนิทไม่มีน้ำยางไหล เปลือกใต้รอยกรีดจะแตกขยายบริเวณมากขึ้นจนถึงพื้นดินและ หลุดออก เนื่องจากเปลือกงอกใหม่ภายในดันออกมา

การป้องกันและรักษา โรคนี้มักจะเกิดบนรอยกรีด ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการดูแลรักษาจะลุกลามทำให้หน้ากรีดเสียหายหมด ดังนั้นวิธีการลดและควบคุมโรคกับต้นยางที่เปิดยางแล้ว จึงใช้วิธีทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกันและเมื่อตรวจพบยางต้นใดที่เป็นโรคนี้เพียงบางส่วน จะต้องทำร่องโดยการใช้สิ่วเซาะร่องให้ลึกถึงเนื้อไม ้โดยรอบบริเวณที่เป็นโรค โดยให้ร่องที่ทำนี้ห่างจากบริเวณที่เป็นโรคประมาณ 2 เซนติเมตร หลังจากนั้นก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ แต่ในการกรีดต้องเปิดกรีดต่ำ ลงมาจากบริเวณที่เป็นโรค เปลี่ยนระบบกรีดใหม่ให้ถูกต้องและหยุดกรีดในช่วงผลัดใบ

การเอาใจใส่บำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูกใส่ปุ๋ยถูกต้องตามจำนวน และระยะเวลาที่ทางวิชาการแนะนำ ใช้ระบบกรีดให้ถูกต้อง จะช่วยป้องกันมิให้ยาวเป็นโรคเปลือก แห้งได้มาก


5. โรคใบร่วงและผลเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า

ลักษณะอาการ ผลที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ส่วนอาการที่ใบจะพบว่าใบร่วงทั้ง ๆ ที่ยังมีสีเขียวมีรอยช้ำสีดำอยู่ที่ก้านใบและตรงกลางรอยช้ำมีหยดน้ำยางเกาะติดอยู่ด้วย ถ้านำใบยางที่ร่วงมาสลัดเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที โรคนี้จะสัมพันธุ์กับโรคเส้นดำด้วย เนื่องจากเกิดจากเชื้อชนิดเดียวกัน เมื่อเกิดโรคนี้จะทำให้ใบร่วงโกร๋นทั้งสวน ผลผลิตยางจะลดลงแต่ก็ไม่ทำให้ต้นยางตาย

การป้องกันและรักษา ควรเลือกปลูกพันธุ์ยางที่ต้านทานโรคนี้ ถ้าเป็นยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 ซึ่งอ่อนแอต่อโรคใบร่วงควรติดตาเปลี่ยนยอดด้วยพันธุ์ทีจี 1 และในสวนยางที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ใช้แคปตาโฟล 80% ในอัตรา 2 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร ฉีดพุ่มใบทุกสัปดาห์ในระหว่างที่โรคกำลังระบาด ส่วนในสวนยางที่มีต้นยางขนาดใหญ ่การใช้สารเคมีป้องกันจะไม่คุ้มค่าใช้จ่าย จึงไม่แนะนำให้ทำแต่จะแนะนำให้ใช้วิธีป้องกันรักษาโรคเส้นดำที่บริเวณหน้ากรีดแทน และหยุดกรีด ระหว่างที่เกิดโรคระบาดเท่านั้น


6. ปลวก

ปลวก จะทำลายต้นยางโดยการกัดกินส่วนรากและภายในลำต้นจนเป็นโพรง ทำให้ต้นยางยืนต้นตายโดยไม่สามารถสังเกตเห็นจากภายนอกได้จนกว่าจะขุดรากดู การป้องกันและรักษา ใช้สารเคมีกำจังแมลง ได้แก่ ออลดริน ดีลดริน เฮพตาคลอ หรือ คลอเดนในรูปของเหลว ราดที่โคนต้นให้ทั่วบริเวณรากของต้นที่ถูกทำลายและต้นข้างเคียง


7. หนอนทราย

หนอนทราย เป็นหนอนของด้วงชนิดหนึ่งลักษณะลำตัวสั้นป้อม ใหญ่ขนาดนิ้วชี้ สีขาวนวล มีจุดเป็นแถวข้างลำตัว เมื่อนำมาวางบนพื้นดินตัวหนอน จะงอคล้ายเบ็ดตกปลา หนอนทรายจะเริ่มทำลายรากต้นยางขนาดเล็ก มีพุ่มใบ 1-2 ฉัตร ทำให้พุ่มใบมีสีเหลือง เพราะระบบรากถูกทำลาย เมื่อขุดต้นยางต้นนั้นมาดูจะพบตัวหนอนทราย


8. โคนต้นไหม้

โคนต้นไหม้ เป็นอาการผิดปกติที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งจัดและถูกแสงแดดเผา ทำให้โคนต้นยางตรงรอยติดตาทางทิศตะวันตกมีอาการไหม้ เปลือกไหม้ เปลือกแห้ง อาการจะลุกลามไปทางส่วนบนและขยายบริเวณไปรอบๆ ต้น จนแห้งตาย

การป้องกันและรักษา ควรปลูกยางเป็นแถวในแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกก่อนเข้าฤดูแล้งให้ใช้ปูนขาวทารอบโคนต้น จากระดับ พื้นดินสูงขึ้นไปจนถึงระดับ 1 เมตร แล้วใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นและใช้สีน้ำมันทารอยแผล


9. อาการตายจากยอด

อาการตายจากยอด มักเกิดกับยางอายุระหว่าง 1-6 ปี หลังจากประสบกับปัญหาสภาพอากาศแห้งแล้งจัดเป็นเวลานานติดต่อกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความร้อนระอุของพื้นดิน ตลอดจนพิษตกค้างของสารเคมีในดิน เช่น สารเคมีปราบวัชพืช สารกำจัดตอ หรือใส่ปุ๋ยมากเกินไป ฯลฯ ในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น มีชั้นของหินแข็งหรือดินดานอยู่ใต้ดินอาการตายจากยอดจะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนหลังจากปลูกยางไปแล้ว 3 ปี

ลักษณะอาการ กิ่ง ก้าน ยอด จะแห้งตายจากปลายกิ่ง ปลายยอด แล้วลุกลามลงมาทีละน้อย ๆ จนถึงโคนต้น และยืนต้นตายในที่สุด แต่ถ้าผ่านสภาวะแห้งแล้งไปแล้วต้นยังไม่ตาย ลำต้นหรือส่วนที่ยังไม่ตายจะแตกกิ่งแขนงออกมาใหม่ สำหรับส่วนที่แห้งตายไปแล้ว เปลือกจะล่อนออก ถ้าแกะดูจะปรากฏเชื้อราเกิดขึ้นซ้ำทั่วบริเวณเปลือกด้านใน

การป้องกันและรักษา ถ้าสภาพดินเลวและแห้งแล้งจัดอาจให้น้ำช่วยตามความจำเป็น หรือใช้วัสดุคลุมโคนต้น จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นและลดความรุนแรงของอาการตายจากยอดได้ ควรให้ปุ๋ยตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด