ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านจ่าก้อง

บ้านจ่าก้อง

พื้นที่ 34 ไร่ จ่าก้อง หรือ จ.ส.ท. สุทิน ทองเอ็ม สามารถจัดสรรเนื้อที่เหล่านั้นทำไร่นาแบบผสมผสานได้อย่างดีเยี่ยม จากจุดเริ่มต้นที่พ่อแม่ทำนาเพียงอย่างเดียวมาตลอด จนเมื่อจ่าก้องจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก็เริ่มเลี้ยงไก่สวยงามขาย ต่อมาเริ่มเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น เป็ดและไก่ ส่งให้กลุ่มปศุสัตว์ เริ่มทำสวนต่อจากปศุสัตว์หลังจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยเริ่มต้นจากการทำสวนไผ่ เพราะไม่ต้องดูแลมาก เดิมทีพ่อกับแม่มีที่นาเพียง 22 ไร่ ต่อยอดจนกลายมาเป็น 34 ไร่ ในปัจจุบัน

จ.ส.ท. สุทิน ทองเอ็ม หรือ จ่าก้อง อยู่บ้านเลขที่ 65 หมู่ที่ 3 ตำบลป่าแฝก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

ได้รับรางวัล ปี 2560 เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี 2561 ได้รางวัลภูมิปัญญาศึกษาด้านเกษตร และ ปี 2562 ได้รางวัลปราชญ์ดีเด่นของ กศน. (การศึกษานอกสถานที่) ระดับประเทศ

จ.ส.ท. สุทิน เริ่มทำกิจกรรมเต็มรูปแบบเมื่อปี 2545 ถูกปลูกฝังและโตมากับการเกษตร แต่มีความคิดต่างจากพ่อกับแม่ที่เดิมทีทำนาเพียงอย่างเดียว และมีความคิดว่าถ้าทำหลายๆ อย่าง จะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นยิ่งกว่านี้ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำไร่นาสวนผสมของจ่าก้อง เมื่อก่อนที่บ้านปลูกข้าว กข 43 ได้ผลไม่ค่อยดี เพราะระบบชลประทานไม่ดี ชาวบ้านต่างไม่ขุดบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ เพียงแต่รอน้ำฝน จ่าก้องจึงมีความคิดที่จะขุดบ่อน้ำขึ้นมาเพื่อเก็บน้ำ บ่อน้ำแบ่งออกเป็น 2 บ่อ โดยบ่อแรกเป็นพื้นที่สูงไว้เก็บน้ำ มีเนื้อที่ทั้งหมด 1 ไร่ บ่อที่สองไว้เลี้ยงปลา มีเนื้อที่ 1 ไร่ เช่นกัน น้ำที่ใส่แปลงนาเมื่อมีน้ำล้นจะมีบ่อดักน้ำอีก 1 บ่อ

ด้านการทำปศุสัตว์และไก่สวยงามเมื่อปีที่ผ่านมา ไก่สวยงามเริ่มมีคนนิยมลดน้อยลง จึงเลี้ยงไว้เฉพาะบางส่วน มีหลายสายพันธุ์ เช่น ไก่เหลืองหางขาว ไก่น้ำแดง แต่จะมีเฉพาะพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เท่านั้น แรกๆ รายได้หลักมาจากไก่สวยงามเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่หลังๆ มานี้คนเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมจากการซื้อไก่สวยงามมาเป็นซื้ออาหารเพื่อบริโภคและช่วงนั้นเป็นช่วงที่มีผลผลิตที่ได้จากไผ่ออกมาพอดี

ต้นไผ่ ปลูกเพียงแค่ 3 ไร่ เป็นไผ่กิมซุ่ง การขายไผ่ไม่ได้ขายเป็นหน่อ แต่เลือกที่จะตัดยอดมาทำเป็นยอดหน่อไม้ดองแทน หากจะไม่ขายหน่อไม้ดองและหน่อไม้สด แต่จะขายยอดหน่อไม้และกิ่งชำของไผ่ โดยจะปล่อยให้ไผ่สูง ประมาณ 7 เมตร จะใช้ไม้ขอชักยอดลงมา จุดที่แตกต่างจากหน่อไม้ธรรมดาก็คือ หน่อจะเล็กกว่าหน่อไม้ปกติ แต่จะมีความกรอบที่มากกว่า

ข้อมูลจากสัมภาษณ์ จ่าก้อง

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านจ่าก้อง มีแหล่งเรียนรู้ ดังนี้

1.ด้านบุคลากร

จ่าสิบโทสุทิน ทองเอ็ม ครูภูมิปัญญาด้านเกษตร รุ่นที่ 8 จากสภาการศึกษา ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม จากกระทรวงเกษตร

ทัศนคติในการก่อตั้ง เพื่อให้เกษตรกรไทยและคนไทยได้เห็นในการเดินตามรอยเท้าพ่อ ชีวิตก็จะมีความสุขแบบยั่งยืนและจะมีแต่สิ่งดีงามตามมา

ผู้ที่เกี่ยวข้อง/สนับสนุน ได้แก่ นายอำเภอกงไกรลาศ เกษตรอำเภอกงไกรลาศ พัฒนาชุมชนอำเภอกงไกรลาศ ประมงอำเภอกงไกรลาศ ปศุสัตว์อำเภอกงไกรลาศ นายก อบต.ป่าแฝก ผู้นำท้องถิ่นตำบลป่าแฝก และกศน.ตำบลป่าแฝก

2.งบประมาณ

ไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุน ใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แหล่งเงินทุน

- รายได้จากเงินเดือน/ค่าจ้าง - ขายไก่ไข่

- ขายไก่สวยงาม - ขายข้าว

- ขายกิ่งพันธุ์ไผ่ - ขายหน่อไม้

- ขายผัก - ขายปลา

- ขายไก่พื้นเมือง

3.สื่อ วัสดุ อุปกรณ์

ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

4.การบริหารจัดการ

กลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็น

-ผู้สูงอายุ -ผู้มีฝีมือเฉพาะ

-เยาวชน -ผู้ด้อยโอกาส

-ผู้พิการ

มีการจัดกลุ่มอาชีพ ดังนี้

-เลี้ยงกบในกระชัง สมาชิก 32 คน

-เลี้ยงไก่ไข่ สมาชิก 28 คน

-ผักกลางมุ้ง สมาชิก 23 คน

-แปรรูปไม้ไผ่ สมาชิก 20 คน

-เกษตรปลอดสาร สมาชิก 58 คน

-ไม้ผล สมาชิก 60 คน

-ปลูกหญ้าเนเปียเพื่อเลี้ยงโค สมาชิก 30 คน

-กลุ่มสมุนไพรเพื่อแปรรูป สมาชิก 25 คน

-เพาะชำกล้าไม้ สมาชิก 30 คน

-กลุ่มทำอาหาร สมาชิก 70 คน

-กลุ่มมัคคุเทศก์ชุมชน สมาชิก 13 คน

-กลุ่มรถไถนำเที่ยว สมาชิก 25 คน

-กลุ่มการแสดงพื้นบ้าน สมาชิก 10 คน

ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีรายได้ โดย

-จัดคิวกลุ่มทำอาหารรับคณะดูงาน

-จัดคิวมัคคุเทศก์ต้อนรับคณะดูงาน

-จัดคิวการแสดงต้อนรับคณะดูงาน

-เปิดตลาดที่โรงพยาบาลกงไกรลาศเพื่อขายของ

-เปิดตลาดออนไลน์ให้กลุ่ม

การแบ่งพื้นที่ทำการเกษตร

1. ที่อยู่อาศัย จำนวน 1 ไร่

2. ทำนา จำนวน 22 ไร่ บำรุงดินด้วยการใส่ปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ ปุ๋ยอินทรีย์

3. ปลูกพืชผักสวนครัว จำนวน 2 งาน ได้แก่ ชะอม มะเขือยาว มะเขือกรอบ พริก ข่า ตะไคร้

4. ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น 1 ไร่

- ไผ่ 1 ไร่ 2 งาน

- มะม่วง มะปราง มะพร้าว ขนุน 1 ไร่

- กล้วยหอมทอง 3 งาน

- กล้วยน้ำหว้า 2 งาน

5. ประมง (ขุดบ่อ 8 บ่อ บนพื้นที่ 2 ไร่)

- เลี้ยงปลา 3ไร่ขุดบ่อดินเพื่อแยกประเภทปลา ได้แก่

ปลาดุก 2,000 ตัว

ปลาสวาย 2,000 ตัว

ปลานิลและปลาทับทิม 5,000 ตัว

ปลาหมอชุมพร 3,000 ตัว

หอยชม 1 บ่อ

กบ 1 บ่อ

6. เลี้ยงสัตว์

ไก่พันธุ์ไข่ 20 ตัว

ไก่พื้นเมือง 5 แม่

ไก่สวยงาม 20 คู่

ไส้เดือนไว้ผลิตปุ๋ย 7 บ่อ

7. อื่นๆ 4 ไร่

สระบัวสาย 1 ไร่

นาบัวดอก 3 งาน

ผักบุ้ง 1 งาน

สระกักเก็บน้ำ 2 ไร่

รวมพื้นที่การเกษตรทั้งหมด 34 ไร่

แหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร

-ได้จากน้ำฝน แหล่งน้ำตามธรรมชาติและจากสระน้ำที่ขุดไว้จำนวน 2 ไร่

แหล่งเงินทุน

- รายได้จากเงินเดือน/ค่าจ้าง

- ขายไก่ไข่

- ขายไก่สวยงาม

- ขายข้าว

- ขายกิ่งพันธุ์ไผ่

- ขายหน่อไม้

- ขายผัก

- ขายปลา

- ขายไก่พื้นเมือง

การจัดกระบวนการเรียนรู้ ภายในศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนต้นแบบตำบลป่าแฝก

1.ฐานการน้อมนำหลักแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ

2. ฐานการปรับเปลี่ยน

3.ฐานการเรียนรู้นาข้าวและสวน

4.ฐานปศุสัตว์

5.ฐานการเรียนรู้การนำสิ่งที่เหลือใช้ มาใช้ให้เกิดประโยชน์/ผสมผสาน เกื้อกูลประโยชน์

6.ฐานการทำบัญชี

7.ฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เขียนโดย นางสาวภณิดา เฉยเมล์