ภูมิปัญญาท้องถิ่น


นายสมบรูณ์ คงชู

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลปากแคว เกิดขึ้นจากนโยบายที่ปรารถนาจะพัฒนาพื้นที่ให้มีความน่าอยู่อย่างยั่งยืน จะเน้นการพัฒนาที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาโดยอาศัยและพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกื้อกูลต่อกันและทำให้เกิดความสมดุล ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่ตำบลตำบลปากแคว ได้ยึดถือเน้นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่มาโดยตลอด

สถานการณ์ในปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลประทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม ทั้งในแง่มุมของเศรษฐกิจ มีการอพยพแรงงานของการเกษตรเข้าสู่แรงงานด้านอุตสาหกรรม มีการผลิตสินค้าบริการมีการพึ่งพาวัตถุภายนอกเพิ่มมากขึ้น มีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เปลี่ยนจากที่เคยพึ่งพาธรรมชาติจากการเกษตรพออยู่พอกินแบบผสมผสาน เป็นเกษตรเชิงเดี่ยวผลิตเพื่อจำหน่าย อาศัยปัจจัยภายนอกเป็นปัจจัยการผลิตมีการใช้ปุ๋ย และสารเคมีเพิ่มมากขึ้นขาดการพึ่งพาตนเองเหมือนในอดีตจนทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี ๒๕๔๐ และในปีปัจจุบัน ดังนั้น แนวคิดพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานไว้เป็นที่พึ่งที่ปฏิบัติสำหรับพสกนิกร จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานภาครัฐจะต้องส่งเสริม ให้เกิดการเรียนรู้และปฏิบัติให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม

หมู่ที่ 9 ตำบลปากแคว มีพื้นที่สวนเกษตรอยู่เดิม ได้พัฒนาปรับปรุงเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้ได้ริเริ่มโครงการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้มีการเปิดตัวโครงการจัดงานวันเกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียง

จุดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น

แหล่งเรียนรู้ในชุมชนไม่ไกลเกินกว่าที่จะไป ของดีในชุมชน ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจชุมชน บ้านห้วยลาภ หมู่ที่ ๙ ตำบลปากแคว อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย (ไปทางบ้านเอื้ออาทรตำบลปากแคว เลี้ยวขวาไปทางโรงเเรม VIP) การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เลี้ยงหมูไม่เหม็น เพราะใช้จุลินทรีย์จากหน่อกล้วย เลี้ยงปลานิลปลาตะเพียน พร้อมพันธุ์ไม้ต่าง ๆเซ่นมะพร้าวน้ำหอม ต้นไข่เน่า ฯลฯติดต่อเยี่ยมชมได้ที่ ผู้ใหญ่ (นายเชาวรัตน์ พุ่มพันธ์) ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านห้วยลาภ ตำบลปากแคว

ที่มา https://www.pak-khware.go.th/otop_detail.php?id=178