หลวงพ่อทองคำ
หลวงพ่อทองคำ วัดโพธิ์ศรีทุ่ง บ้านทุ่งฝน ตำบลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี
หลวงพ่อทองคำ วัดโพธิ์ศรีทุ่ง บ้านทุ่งฝน ตำบลทุ่งฝน
อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี
ประวัติหลวงพ่อทองคำ
หลวงพ่อทองคำ เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสีสุกผสมทองสัมฤทธิ์ มีรูปลักษณ์งามมากขนาดหน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้วส่วนสูงจากพระชงฆ์เบื้องล่างถึงยอดพระเกศ 4 คืบ 1 นิ้ว (คืบและศอกของช่างหล่อ) ปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ภายในพระสถูปวัดโพธิ์ศรีทุ่ง บ้าทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี เป็นพระพุทธรูปที่ชาวอำเภอทุ่งฝน นับถือศักดิ์สิทธิ์มากและเป็นที่เคารพสัการะอย่างยิ่ง
ประวัติการสร้างซึ่งเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ลงความเห็นไว้ในหนังสือตำนานพุทธเจดีย์สยามว่าพระพุทธรูปล้านช้างที่งามยิ่งกว่าองค์อื่นๆคือพระสุก พระเสริม และพระใส โดยมีพระราชธิดากษัตริย์ล้านช้างเป็นเจ้าของศรัทธา ครั้งเมื่อต้นปีฉลูเดือน 4 แรม 10 ค่ำ วันอังคารยุคสมัยเวีบงจันทน์ศรีสัตนยุคต้น ซึ่งพระครูอริยานุวัตร เ้จ้าคณะจังหวัดมหาสารคามได้แปลไว้และได้เทียบ พ.ศ. ดูแล้วว่าหลวงพ่อทองคำ สร้างเมื่อ พ.ศ.1199 ซึ่งรวมเวลาสร้างถึงปัจจุบัน 1350 กว่าปี สร้างเสร็จเจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ได้อัญเชิญเพื่อที่จะนำไปบรรจุที่วัดพระธาตุพนม พอเดินทางมาถึงบ้านทุ่งฝนก็ได้ทราบข่าวว่าพระธาตุพนม ได้สร้างเสร็จและยังทราบว่าพระธาตุพนมนั้นเป็นเจดีย์บรรจุ "พระอุรังคธาตุ" คือได้เอากระดูกส่วนหน้าอกขององค์สมเด็จพระพุทธเจ้ามาบรรจุไว้แล้ว ดังนันผู้ที่นำหลวงพ่อทองคำมาจึงได้สร้างเจดีย์คล้ายพระธาตุพนมและกู่ (สถูป) บรรจุหลวงพ่อทองคำและพระพุทธรูปปางต่างๆเอาไว้ติดกับเจดีย์ใหญ่ทางด้าน ทิศตะวันตกใกล้กับต้นศรีมหาโพธิ์นั้นเอง
การประดิษฐาน หลวงพ่อทองคำนั้นตามคำบอกเล่าของพระธรรมราชานุวัตรอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม เล่าว่าบ้านทุ่งฝน ปรากฎอยู่ในตำนานการสร้างพระธาตุพนม ชาวเวียงจันทน์ได้สร้างพระพุทธรูปขัดสมาธิปางมารวิชัยหลายองค์หล่อด้วยทองสีสุก เช่น หลวงพ่อพระสุก หลวงพ่อพระเสริม หลวงพ่อพระใส และหลวงพ่อทองคำ ต่อมาในรัชการที่ 3 เจ้าอนุวงศ์เจ้างเมืองเวียงจันทน์เป็นกบฎสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส ลงมาด้วยและได้อันเชิญมาจากภูเขาควาย ขึ้นประดิษฐานไม้ไผ่ซึ่งผูกติดกันอย่างมั่นคง ล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงตรงบ้านเวินแท่นในขณนั้นเกิดอัศจรรย์แ่ท่นของพระสุกได้เกิดแหกแพจมลงไปในน้ำและได้เดินทางต่อไปจนถงบ้านหนองกุ้ง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ได้เกิดพายุใหญ่เสียงฟ้าคำรามคะนองร้องลั่นในที่สุดพระสุกได้แหกแพรจมลงอยู่ในน้ำตรงนั้นมาจนถึงทุกวันนี้ แต่ก็ยังเหลือ พระเสริม พระใสอยู่ ก็ได้นำขึ้นมาถึงเืมืองหนองคาย พระเสริมนั้นได้อันเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสนั้นได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดหอก่อง(ปัจจุบัน)คือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ