การทำขันหมากเบ็ง

ขันหมากเบ็ง - เบญจ์

ขันหมากเบ็ง หรือ ขันหมากเบญจ์ คือพานพุ่มดอกไม้ที่ใช้เป็นพานพุ่มบูชาในพิธีกรรม และบูชาพระรัตนตรัยในวันอุโบสถ หรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งการนำไปบูชาวิญญาณ บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยนำไปวางไว้ตามเสารั้ววัด หรือหลักเส (ธาตุ ทำด้วยไม้แก่น แกะสลักสวยงามเจาะให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมขนาดสี่นิ้วฟุต สำหรับบรรจุอัฐิ) ซึ่งนิยมในวันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา ขันหมากเบ็ง นิยมทำหลายรูปแบบ เช่น ขันหมากเบ็งแบบเป็นกาบ โดยใช้สามเหลี่ยมคล้ายเจดีย์ เป็นขันหมากเบ็งแบบดั้งเดิม หรือ แบบโบราณ ขันหมากเบ็งแบบนิ้ว โดยใช้นิ้วบายศรีทำเป็นแม่สี่มุม เป็นขันหมากเบ็งที่ผสมผสานและพัฒนามาจากรูปแบบของขันหมากเบ็งแบบดั้งเดิม ขันหมากเบ็งประเภทนี้ส่วนใหญ่เรียกว่า ขันหมากเบ็งประยุกต์ จะมีการประดับตกแต่งด้วยลวดลายของศิลปะงานใบตองที่วิจิตรมากขึ้นสำหรับเครื่องบูชา ๕ อย่าง ได้แก่ หมาก พลู ธูป เทียน ข้าวตอก ดอกไม้ อย่างละ ๕ คู่ นิยมใช้เป็นเครื่องประกอบในการสักการบูชา หรือเครื่องพลีกรรม
ดอกไม้ ซึ่งเป็นที่นิยม เช่น ดอกดาวเรือง (จะทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง) ดอกสามปีบ่เหี่ยว(ดอกบายไม่รู้โรย) เชื่อว่าจะทำให้อายุมั่น ขวัญยืน ดอกรัก (ทำให้เกิดความรัก) ดอกบัว (พระรัตนตรัย)

วิดิทัศน์ขั้นตอนการทำขันหมากเบ็ง

วิดิทัศน์จาก https://www.youtube.com/watch?v=ygiNgoP-RCU