โครงการศูนย์บริการเกษตรเคลื่อนที่ หนองหล่ม

โครงการศูนย์บริการเกษตรเคลื่อนที่ หนองหล่ม 

อ่างเก็บน้ำหนองหล่ม  หรือเรียกอีกชื่อว่า  สระเวฬุวัน ตั้งอยู่  ณ  บ้านกำเนิดเพชร  หมู่  11  ตำบลเมือง  อำเภอเมือง  จังหวัดเลย ก่อตั้งเมื่อปี 2519 ใกล้ๆกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ซึ่งเดิมทีเมื่อก่อนหนองหล่มแห่งนี้เป็นบ่อน้ำธรรมชาติ ที่ชาวบ้านใช้เพื่อการดำรงชีวิต ในการหาปลา ในการใช้น้ำเพื่อการเกษตร ตลอดจนใช้ในการอุปโภคต่างๆในชีวิตประจำวัน

ซึ่งต่อมาได้มีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาปรับปรุงบริเวรรอบๆหนองหล่ม เพื่อให้ประชาชนไกล้เคียงได้ใช้ประโยชน์ของหนองหล่มกันอย่างทั่วถึง

ซึ่งหน่วยงานนั้นคือ กรมชลประทานได้เข้ามาปรับปรุงด้วยการขุดขยายรอบบริเวรหนองหล่มให้มีขนาดใหญ่และกว้างขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากหนองหล่มนี้มากที่สุด

ซึ่งการขุดปรับปรุงหนองหล่มแห่งนี้ ได้มีการพัฒนาให้เป็นหนองน้ำที่ใช้ในการเกษตร โดยการนำพันธ์ปลาต่างๆมาขยายพันธ์และเพาะพันธ์ปลาให้มีมากยิ่งขึ้น เพื่อใช้ศึกษาพันธ์ปลาต่างๆที่เกิดขึ้นในหนองน้ำตามธรรมชาติ

และต่อมาได้มีการเปิดหนองหล่มแห่งนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และเปิดเป็นบ่อตกปลาให้ชาวบ้านมาพักผ่อนโดยการตกปลา รับประทานอาหาร ตามร้านค้าที่ชาวบ้านมาเปิดบริการกันทั่วบริเวรหนองน้ำหล่มแห่งนี้

ภายในบริเวณแห่งนี้ได้มีร้านอาหาร และเครื่องดื่มมาเปิดบริการเป็นที่พักผ่อนให้กับ ผู้คนได้ใช้บริการ ในการเดินทาง  เดินทางโดยรถยนต์ได้สะดวกเส้นทางการเดินทางนั้นเดินมาทาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เลยอ่างเก็บน้ำพราวมาเล็กน้อย ทางเข้าจะอยู่ซ้ายมือถ้าเดินทางจากตัวจังหวัดเลย อ่างเก็บน้ำหนองหล่ม สถานที่แห่งนี้ สามารถพักในตัวจังหวัดเลยได้เนื่องจากระยะทางในการเดินทางสะดวก  ไม่ไกลจากตัวเมือง และใกล้กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จะมีที่พักและร้านอาหารหลายแห่งด้วยกัน ภายในสถานที่แห่งนี้ มีป่าไม้และอากาศร่มรื่น ช่วงวันหยุดจะมีผู้คนเข้าไปพักผ่อนหย่อนใจอยู่เป็นประจำ

การเดินทางมายังหนองหล่มมาได้หลายเส้นทางจากตัวเมืองจังหวัดเลย ให้ตรงมาบนถนนเลย–เชียงคาน โดยเดินทางตรงมาเรื่อยๆก่อนจะถึงมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย ตรงเข้ามาเรื่อยๆจะมาถึงสามแยกโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย และจะถึงหนองหล่ม

อาณาเขต

ทิศเหนือติดกับ มหาลัยราชภัฏเลย

ทิศใต้ติดกับ วัดถ้ำพญานาค

ทิศตะวันตกติดกับ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย

ทิศตะวันออกติดกับ ป่าชุมชน



ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดยนายภูษิต พรหมรักษา

                                     ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดยนายภูษิต พรหมรักษา