ปีพาทย์ ไทย มอญ

วงปี่พาทย์ เป็นวงที่ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภทตี เป่า และเครื่องประกอบจังหวะ ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธี และพิธีต่างๆ แบ่งได้ 3 ขนาด คือ

- วงปี่พาทย์เครื่องสิบ ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ปี่ใน ฉิ่ง ตะโพน กลองทัด วงปี่พาทย์เครืองห้า แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่

- ปีพาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก จะใช้สำหรับการบรรเลงใน การแสดงมหรสพ หรืองานในพิธีต่างๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ ดังนี้คือ ฆ้องวงใหญ่ ปี่ใน กลองทัด ตะโพน และฉิ่ง

- ปีพาทย์เครื่องห้าอย่างเบา ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ ดังนี้คือ กลองชาตรี ฆ้องคู่ ฉิ่ง ปี่ และทับหรือโทน

- วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เหมือนวงปี่พาทย์เครื่องห้า เพียงแต่เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กเข้าไป

- วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เหมือนวงปี่พาทย์เครื่องคู่ เพียงแต่เพิ่มระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กเข้าไป

นอกจากนี้วงปี่พาทย์ยังมีอีก 3 ประเภทใหญ่ๆคือ วงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์มอญ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

วงปี่พาทย์นางหงส์ คือวงปี่พาทย์ชนิดหนึ่งที่นำเอาวงปี่พาทย์ไม้แข็งมาประสมกับวงบัวลอย โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบดังนี้

ใช้กลองมลายูมาตีแทนตะโพนและกลองทัด(บางที่ก็ใช้กลองทัดแทนกลองมลายู) ใช้ปี่ชวามาเป่าแทนปี่ในเอาฆ้องเหม่งออก เพราะมีฉิ่งเป็นตัวควบคุมจังหวะแล้วเหตุที่ใช้ชื่อวงปี่พาทย์นี้ว่าวงปี่พาทย์นางหงส์ก็เนื่องจากเรียกตามชื่อเพลงที่เล่นคือเพลงเรื่องนางหงส์ โดยจะใช้เล่นเฉพาะงานอวมงคลเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะได้หันมานิยมวงปี่พาทย์มอญแทน

วงปี่พาทย์นางหงส์ เดิมเป็นวงที่ใช้บรรเลงในงานศพของสามัญชน ต่อมาได้นำมาบรรเลงในงานสวดพระอภิธรรมศพเจ้านาย และใช้ในตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพ เมื่อครั้งงานพระบรมศพของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระประสงค์ให้นำวงปี่พาทย์นางหงส์ ของกรมศิลปากรมาประโคมย่ำยาม ต่อจากวงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง จึงนับเป็นครั้งแรกที่ได้นำวงปี่พาทย์นางหงส์มาใช้ในงานพระบรมศพด้วย

วงปี่พาทย์มอญ เป็นวงดนตรีที่มาพร้องกับชาวมอญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ได้รับอิทธิพลมาจากมอญได้แก่ ปี่มอญ ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และฆ้องราว

รูปแบบของวง

วงปี่พาทย์มอญมี 3 ขนาดเช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งของไทย ดังนี้

- วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วยระนาดเอก ปี่มอญ ฆ้องมอญวงใหญ่ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และเครื่องกำกับจังหวะคือฉิ่งและ

- วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ มีลักษณะเดียวกันกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า เพียงแต่วงนี้ได้เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องมอญวงเล็กเข้ามา

- วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ มีลักษณะเดียวกันกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ แต่ได้เพิ่มระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กเข้ามา

วงปี่พาทย์มอญมีการจัดรูปแบบวงที่แตกต่างจากวงปีพาทย์ของไทยตรงที่ตั้งฆ้องมอญไว้ด้านหน้าสุด ซึ่งการจัดรูปแบบวงนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าใครกำหนดและทำเพื่ออะไร บ้างก็ว่าเพื่อความสวยงามเมื่อมองจากด้านหน้า บ้างก็ว่าเป็นการให้เกียรตวัฒนธรรมมอญ บ้างก็ว่าเป็นเพราะฆ้องมอญทำหน้าขึ้นวรรคเพลงเช่นเดียวกับระนาดเอก

วิวัฒนาการในปัจจุบัน

ในปัจจุบันวงปี่พาทย์มอญเจริญเติบโตอย่างมาก โดยการขยายวงให้ใหญ่ขึ้นเป็นวงปี่พาทย์มอญวงพิเศษ บางอาจจะมีฆ้องมอญถึง 10 โค้งหรือมากกว่านั้น ทำให้วงปี่พาทย์มอญนอกจากจะใช้เป็นเครื่องประโคมศพแล้ว ยังแสดงถึงเกียรติยศของผู้ตายอีกด้วย

นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยการเพิ่มฆ้องมอญให้มากขึ้นแล้ว ยังได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเครื่องดนตรีเพื่อให้เหมาะสมกับวง คือเปลี่ยนลักษณะของรางระนาดเอกและระนาดทุ้มให้เหมือนกับฆ้องมอญ เพียงแต่ย่อสัดส่วนให้ต่ำลง

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้รับอิทธิพลจากละครโอเปร่าของยุโรป ซึ่งเจ้าพระยาเทเวศร์วงวิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ร่วมกันปรับปรุงขึ้น เหตุที่มีชื่อว่าดึกดำบรรพ์นั้นมาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์ฯ ก็เลยเรียกเรียกวงดนตรีนี้ตามชื่อของโรงละคร

สำหรับวงปี่พาทย์ที่เล่นในงานของพ่อเป็นวงปี่พาทย์มอญ แถวบ้านผมที่ บ้านระกาศ บางบ่อ อาจเป็นไปได้ที่ได้รับอิทธิพลมาจากมอญ ส่วนเครื่องดนตรีใน

นางเพลินใจ แก้วสมนึก ปี่พาทย์ ไทย มอญ หมู่ที่ 4 ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

ข้อมูลจาก google.com

ผู้ให้ข้อมูล : นางสาวสุพิศ ประชาราษฎร์ ตำแหน่ง ครูกศน.ตำบลบางปลา