ตุงใยแมงมุม
ประวัติข้อมูลส่วนตัวของผู้ประกอบภูมิปัญญาท้องถิ่น
นางบุญยัง มุลทากุล ที่อยู่บ้านเลขที่ 8 บ้านวังเป่ง หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำทูน
อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
ประวัติความเป็นมาของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชาวตำบลน้ำทูนมีภูมิปัญญาท้องถิ่นอันดีงามหลากหลายรูปแบบ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านยังคงทำกันอยู่จนถึงปัจจุบันคือ “ตุงใยแมงมุม”
ถ้าหากจะมองจากภายนอกตุงใยแมงมุมเป็นตุงที่มีสีสัน สะดุดตา สดใสสวยงามใช้แขวนตามอาคารสถานที่ต่างๆ หากมองในอีกแง่มุม ตุงใยแมงมุม เป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อเกี่ยวกับโชคลางของชาวอีสาน และประเทศอื่นๆ ในดินแดนอุษาคเนย์ ซึ่งมีความเชื่อพื้นฐานจากวัฒนธรรมของผี พราหมณ์และพุทธ ที่หลอมรวมเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของภูมิภาค
ตุงเป็นเครื่องประกอบพิธีกรรมสำคัญของชาวตำบลน้ำทูนอย่างยาวนาน เชื่อกันว่าสามารถใช้ป้องกันสิ่งเลวร้ายหรือสิ่งไม่ดีที่มองไม่เห็น ภูตผีวิญญาณต่างๆ ที่จะมารบกวนงานบุญ หากเห็นตุงแล้วจะถอยออกไป พร้อมกันนั้น ยังเป็นการบอกกล่าวบวงสรวงเทพยดาในพื้นที่ว่ามีการทำบุญ และมีพิธีการสำคัญให้มาช่วยปกป้องคุ้มครอง
ชาวตำบลน้ำทูนจึงทำตุงใยแมงมุม ซึ่งทำจากเส้นด้ายจากเส้นฝ้ายหรือเส้นไหม ผูกโยงกันคล้ายใยแมงมุม นิยมใช้แขวนตกแต่งไว้หน้าพระประธานตามวัดในตำบลน้ำทูน หรือโดยรอบในงานพิธีกรรมต่างๆเช่น งานประเพณีวันลอยกระทงหรืองานวันสำคัญต่างๆ จึงมีการสอนการทำตุงและเรียนรู้การทำตุงอยู่ในชุมชนเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่า
การส่งเสริม สนับสนุนและอนุรักษ์การทำตุงใยแมงมุม มีการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในชุมชนตำบลน้ำทูน โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในชุมชนตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของการทำตุงใยแมงมุม ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนในชุมชนนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน รวมทั้งสนับสนุนให้มี เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนด้วย
สถานที่ตั้ง (พิกัด) ของภูมิปัญญาท้องถิ่น
หมู่ที่ 5บ้านวังเป่ง ตำบลแขวง น้ำทูน
อำเภอ/เขต ท่าลี่ จังหวัด เลย
ผู้ให้ข้อมูลและผู้เรียบเรียง หรือ ผู้เขียน
ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดยนางสาวพรรณนิดา สายมัน
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดยนางสาวพรรณนิดา สายมัน